อัปเดตล่าสุด! เงินช่วยชาวนาเพิ่มเป็นไร่ละ 1,000 บาท เตรียมชง นบข. 25 พ.ย. นี้

Advertisement “นฤมล” รัฐมนตรีเกษตรฯ เผย มติ ล่าสุด ปรับเงินช่วยชาวนาใหม่ เป็น ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ ชี้หากปรับเหลือไร่ละ 500 บาท จะกระทบเกษตรกรรายย่อยที่มีที่นาน้อย เตรียมชง นบข. 25 พ.ย.นี้ พร้อมพิจารณาเพิ่มกรอบวงเงินเพิ่มเติม 38,578 ล้านบาท Advertisement กรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่ 1/2567 มีความเห็นให้ปรับเปลี่ยนเป็นสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวข้าว อัตราช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ วงเงินรวมดอกเบี้ย 3.05% จำนวน 27,550.96 ล้านบาท เสนอ นบข.พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน นั้น ล่าสุดศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทางกระทรวงฯ ได้รับข้อเรียกร้องจากเกษตรจำนวนมาก ให้พิจารณาถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยของไทยส่วนใหญ่มีที่ดินไม่เกิน 10 […]

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดสินเชื่อ 500 ล้าน จ่ายสมทบ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ช่วยชาวนา

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 มิถุนายน 2567 ได้เห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นํ้าปีการผลิต 2567/68 หรือ “ปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง” วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการซื้อปุ๋ย โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง งบประมาณ 29,980.17 ล้านบาท ในโครงการนี้ “กรมส่งเสริมสหกรณ์”ได้รับมอบหมายให้จัดหาสหกรณ์การเกษตร เป็นจุดกระจายปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เกษตรกรมีคำสั่งซื้อ “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงแผนงานการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในโครงการนี้ ลุยดึงสหกรณ์ช่วยกระจายปุ๋ย นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง เป็นโครงการที่กรมการข้าว เป็นผู้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยสนับสนุนปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ โดยที่ให้รัฐบาลออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ชาวนาออกอีกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยตามสูตรที่ทางกรมการข้าวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการทำนาของเกษตรกรทั้งลดต้นทุนการผลิตและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เนื่องจาก “สหกรณ์การเกษตร” มีกลุ่มอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น โกดัง ในการเก็บสินค้า เป็นต้น ซึ่งโดยปกติโกดังจะใช้เก็บข้าว แต่ตอนต้นฤดูยังไม่มีข้าว สามารถใช้เก็บปุ๋ยให้กับเกษตรกรได้ ขณะเดียวกันสหกรณ์การเกษตร […]

“สมาคมชาวนา”ยื่น 7 ข้อเสนอรัฐ แลกยกเลิกแผนช่วยปลูกข้าวไร่ละ1,000

หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบวงเงิน จำนวน 56,321.07 ล้านบาท สำหรับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ผ่านการจ่ายเงินให้เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาทมาตรการดังกล่าวแม้ชาวนาจะได้รับประโยชน์เป็นเงินจ่ายตรงแต่ในทางปฎิบัติมีข้อสังเกตถึงข้อจำกัดและข้อควรระวังเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ กระทั่งมีแนวโน้มว่าในระยะยาวอาจต้องยกเลิกมาตรการนี้ไปในที่สุด นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เปิดเผยว่ามาตรการช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท นั้นเป็นประโยชน์ต่อชาวนาโดยตรงต่อชาวนา 4.7 ล้านครัวเรือน เช่นเดียวกับโครงการชะลอการขายที่เป็นยุ้งฉางที่เป็นของชาวนาเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวนา หากรัฐบาลมีแนวโน้มจะยกเลิก มาตรการช่วยเหลือชาวนาของรัฐบาลอัตราไร่ละ 1,000 บาท โดยอ้างว่าเพื่อ ไม่ให้เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินความจำเป็นนั้น ทางสมาคมฯก็ไม่ขัดข้อง เพราะรัฐบาลคงไม่สามารถจะอุดหนุนเกษตรกรชาวนาไปได้ตลอด ในขณะที่ชาวนาต้องการที่จะยืนได้ด้วยตัวเองแต่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนชาวนาตามข้อเรียกร้อง 7 ข้อที่เสนอมาโดยตลอด สำหรับข้อเรียกร้องประกอบด้วย 1. ขยายแหล่งน้ำให้ทั่วถึง 2. […]

ทำเนียบส่งหนังสือด่วน 5 หน่วยงาน จ่อเลิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเกษตรกร

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว(ล)25288 แจ้งถึงกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หนังสือราชการดังกล่าวมีสาระสำคัญ โดยระบุมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอให้การช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม และอ้อย รวมถึงพัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและเกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างมีศักยภาพ มีรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินจำเป็น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้พิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ (Productivity) ของภาคการเกษตรการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ของตนเองได้อย่างเพียงพอได้ในระยะยาวและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ท้ายหนังสือด่วนฉบับนี้ยัง ระบุว่า ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ […]

ธ.ก.ส.โอนช่วย ‘ชาวนา’ ไร่ละ 1,000 บ.แล้ว วันแรก 9 พันล้าน

28 พฤศจิกายน หลังจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวงวดแรก ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน หรือไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท ตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 ซึ่งเริ่มโอนวันที่ 28 พ.ย.2566 เป็นวันแรก เป็นเงินล็อตแรก 9,000 ล้านบาท และทยอยโอนในวันถัดไป ประมาณวันละ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 วัน สิ้นสุดการโอนในวันที่ 2 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเช้าวันนี้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีประชาชนชาวบึงกาฬเริ่มทยอยเดินทางมาปรับสมุดบัญชีเงินฝาก และทำธุรกรรมทางการเงินแล้ว โดยนายศศิพงศ์ โพธิ์ศรี ผอ.ธ.ก.ส.บึงกาฬ ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า การจ่ายเงินงวดแรกวันที่ […]

ธ.ก.ส. อัปเดตสถานะโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000

“เงินช่วยเหลือชาวนา” ปีการผลิต 2566/67 ไร่ละ 1,000 บาท หรือ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวนา โดยมีเป้าหมายจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาปี 2566/67 จ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน หรือช่วยเหลือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ แบบง่ายๆผ่านเว็บไซต์ 1.ตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร จากการขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 ที่นี่ คลิก https://farmer.doae.go.th/ เมื่อตรวจสอบสิทธิ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ให้คลิกตรวจสอบสถานะโอนเงิน ผ่านเว็บไซต์ คลิก chongkho.inbaac.com โดยไม่ต้องไปธนาคารตามขั้นตอน ดังนี้ เข้าไปที่ https://chongkho.inbaac.com/หรือคลิกที่นี่ กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน […]

ธปท. เตือน จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 เสี่ยงเกิด Moral Hazard

14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงินงบประมาณจ่ายขาด 56,321.07 ล้านบาท หรือ จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ธปท.ฝศม. 806/2566 เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ระบุถึงการดำเนินโครงการจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ดังนี้ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว(ล) 24405 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 แจ้งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. […]

เศรษฐกิจซบหนัก “ชาวนา-เจ้าของธุรกิจ” แห่ขายที่ดิน-ทรัพย์สิน แข่งลดกระหน่ำ

11 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ทำให้มีเจ้าของที่นาและที่ดินนำที่ดินออกมาประกาศขาย เช่น ถนนสายเอเชียตลอดสองข้างทางมีปักป้ายขายที่ดินหลายแปลง ทั้งนี้จากการสอบถามเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณจ.อยุธยา ได้นำที่นาเดิมจำนวน 21 ไร่ มาประกาศขายเนื่องจากด้วยภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำนาแล้วไม่คุ้ม เพราะต้นทุนแพง ประกอบกับอายุมากและไม่มีคนรับช่วง รวมถึงต้องการเงินกัอนใหญ่ส่งลูกเรียนหนังสือและทำอาชีพอื่น โดยตั้งราคาขายไว้ 73.5 ล้านบาท หรือไร่ละ 3.5 ล้านบาท/ไร่ ต่ำกว่าราคาที่กรมที่ดินประเมินไว้ 4 ล้านบาท/ไร่ ด้าน นายศุภศักดิ์ รุ่งเจิดฟ้า นักธุรกิจขนส่งจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 44 ไร่ ติดถนนสายเอเชีย ช่วงจ.อ่างทอง ซึ่งเป็นโรงสีเก่า มาประกาศขาย เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ตั้งราคาไว้ที่ 100 ล้านบาทหรือไร่ละกว่า 2 ล้านบาท เป็นราคาที่ลดลงจากเดิมที่ซื้อมาไร่ละ 2.8 ล้านบาทเมื่อปี 2557 ซึ่งตอนนั้นตั้งใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งและโรงงานประกอบ แต่พอมีเปลี่ยนรัฐบาลแล้วเศรษฐกิจไม่ดีจึงชะลอและตัดสินใจจะขายเพื่อลดภาระดอกเบี้ย โดยประกาศขายมา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีคนซื้อ […]

ให้ผมหลบไปทางไหน? ตากข้าวเต็มถนน ขับผ่านไม่ได้ ยังโดนชาวนาด่าอีก

หลังจากที่มีกระแสดรามา เรื่องการตากข้าวกลางถนนอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ทางชาวนาก็ต้องหาที่ว่างในการตากข้าวให้แห้ง ก่อนที่จะนำไปขาย ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ (1 ธ.ค.65) เจออีกราย คุณธนวรรธน์ วัฒนาธนารักษ์ ได้โพสต์วิดีโอลงในติ๊กต๊อกระบุว่า เห็นข่าวแบบนี้มา ก็ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเองแบบนี้ เพราะปกติเคยเห็นตากข้าวกลางถนน ก็เข้าใจได้ว่าบางคนมีที่ให้ตาก แต่ก็ควรเว้นที่ให้รถเดินหน่อย แต่วันนี้ที่เจอปรากฏว่า ไม่มีทางให้รถไปเลยแม้แต่ช่องเดียว โดยในคลิปวิดีโอก็จะเห็นว่า ถนนแห่งนี้เป็นถนนเลนเดียวที่ไม่สามารถสวนทางกันได้ แต่ก็มีชาวนาเอาข้าวมาตากแผ่เต็มเลนแบบนี้ ซึ่งเจ้าของข้าวก็ยืนอยู่ ทำให้ผู้โพสต์ต้องพูดออกไปว่า ต้องขออนุญาตแล้วกัน ต้องผ่านเส้นนี้ 2-3 ครั้ง เพราะตากกันแบบนี้ ทำเอาโซเชียลต่างแห่คอนเมนต์ว่า ถ้าตากเสร็จ ชาวนาคงไม่ต้องไปโรงสีข้าวแล้ว เพราะมันน่าจะโดนบดจนเปลือกร่อนออกมาแล้ว   ข่าวจาก : ch3plus

ทุกข์ชาวนา ต้องซื้อเติมเครื่องสูบน้ำแพงสุด วันละ1,000บาท เหตุน้ำมันแพง

13 มิถุนายน 2565 ชาวนาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมากำลังเตรียมไถนาหว่านข้าวนาปี ช่วงฤดูกาลเพาะปลูกข้าว แต่ทุกรายต่างประสบปัญหาภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะราคาปุ๋ยและราคาน้ำมันพุ่งแพงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนายมงคล ตลับกลาง อายุ 64 ปี ชาวนารายหนึ่งในตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ปุ๋ยมีราคาแพงมาก ทำให้ชาวนาต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น โดยตนลงทุนปลูกข้าว จำนวน 11 ไร่ ต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 2 กระสอบ รวมจำนวน 22 กระสอบต่อการปลูกข้าวแต่ละครั้งไปจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ตนซื้อปุ๋ยราคาเพียงกระสอบละ 700 บาทเท่านั้น แต่มาในปีนี้ ต้องจำใจยอมซื้อปุ๋ยในราคาที่แพงมาก กระสอบละ 1,650 บาท นับว่าราคาปุ๋ยแพงมากสุดเท่าที่เคยปลูกข้าวมา   และในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ตนต้องสูบน้ำเข้านาเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว จะต้องลงทุนซื้อน้ำมันดีเซล มาเติมเครื่องสูบน้ำ อีกวันละ 1,000 บาท เมื่อก่อนซื้อน้ำมันสูบน้ำเข้านา เพียงวันละ 500-600 บาท เท่านั้น นับเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนทำนาที่สูงมาก จึงอยากให้ภาครัฐช่วยลดราคาน้ำมันลงอีก […]

1 2
error: