ดร.อนันต์ เผย ทีมวิจัยออสเตรเลีย พบโอมิครอน BA.5 เข้าเซลล์คล้ายเดลตา

Advertisement ดร.อนันต์ เผย ทีมวิจัยออสเตรเลีย พบ โอมิครอน BA.5 ลักษณะของการติดเชื้อเหมือนเดลต้า อาจมีคุณสมบัติไม่ลดความรุนแรงลง ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว Anan Jongkaewwattana ระบุว่า Advertisement ทีมวิจัยจากออสเตรเลียได้พัฒนาระบบเซลล์เพาะเลี้ยงไวรัส SARS-CoV-2 ที่สามารถแยกจับเชื้อปริมาณน้อยๆจากตัวอย่างออกมาได้ โดยทีมวิจัยใช้เซลล์ดังกล่าวในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสในประเทศแบบไวๆ โดยอาจไม่ต้องเสียเวลาถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส ซึ่งแพงและใช้เวลา งานนี้เพิ่งตีพิมพ์ไปในวารสาร Nature Microbiology หลังจากตีพิมพ์ไปหัวหน้าทีมวิจัยก็ออกมาทวิตผลจากระบบที่ใช้ตรวจสอบไวรัสบอกว่า ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ที่แยกได้ในประเทศให้ลักษณะของการติดเชื้อเหมือนเดลต้า แต่ไม่เหมือนกับโอมิครอน BA.1 พูดง่ายๆว่าถ้าไม่ตรวจสอบรหัสพันธุกรรม คงอาจสับสนว่า เดลต้ากลับฟื้นมาระบาดใหม่อีกรอบ Advertisement สาเหตุที่ BA.5 กลับมาติดเซลล์แล้วรูปร่างของเซลล์เหมือนติดเดลต้า เป็นเพราะ BA.5 ใช้วิธีเข้าสู่เซลล์แบบเดียวกับเดลต้าคืออาศัยเอนไซม์ที่ผิวเซลล์ชื่อว่า TMPRSS2 ในการเข้า ในขณะที่โอมิครอนตัวอื่นคือ BA.1 และ BA.2 ไม่ได้ใช้เอนไซม์ตัวนี้ ความแตกต่างดังกล่าวจึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้อธิบายว่า BA.1 และ […]

อนาคต “โอมิครอน” เป็นโรคประจำถิ่น ไวรัสเป็นตัวจบเกม!

ดร.อนันต์ โพสต์ อนาคต ‘โอมิครอน’ คือโรคประจำถิ่น แต่ตัวที่อาจจะมาต่อจากโอมิครอนไม่แน่ คนจบเกมไม่ใช่ผู้เล่น แต่เป็นไวรัสเจ้าของเกม เมื่อวันที่ 18 ม.ค.65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า โอมิครอนในอนาคตอาจคือโรคประจำถิ่น แต่ตัวที่อาจจะมาต่อจากโอมิครอน “ไม่แน่” คนจบเกมไม่ใช่ผู้เล่น แต่เป็นไวรัสเจ้าของเกม   ข่าวจาก : ข่าวสด

ดร.อนันต์ เผยผลทดสอบ ATK 11 ยี่ห้อในไทย ตรวจจับโอมิครอนได้เร็วสุด

ดร.อนันต์ เผยผลทดสอบ ATK 11 ยี่ห้อในไทย เผยส่วนใหญ่สามารถมีความจำเพาะต่อโอมิครอนได้ แต่ระดับความไวของการตรวจวัดมีความแตกต่างกัน กรณีกระแสที่หลายคนสงสัยว่า โควิด สายพันธุ์โอมิครอนนั้น จะสามารถตรวจพบผ่าน ATK ได้หรือไม่นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เผยแพร่ผลการทดสอบ ATK 11 ยี่ห้อในท้องตลาด ว่าสามารถตรวจพบโอมิครอนได้มากน้อยเพียงใด โดยระบุว่า “ประเด็นเรื่อง ATK ตรวจวัดโอมิครอนได้หรือไม่ และการอ้างอิงผลทดสอบจากมหาวิทยาลัยเจนีวา ที่ผมเคยเอามาลงไว้ทำให้มีคำถามกลับมาเยอะครับว่า ตกลง ATK ยี่ห้ออื่นในประเทศไทยตรวจไวรัสโอมิครอนได้หรือไม่ และถ้าได้จะตรวจเร็วหรือไม่เร็วต่างกันอย่างไร หลังจากที่ทีมวิจัยสามารถแยกเชื้อไวรัสโอมิครอนได้เป็นผลสำเร็จ เราจึงปรับค่าปริมาณไวรัสให้เหมาะสมโดยใช้ ATK ที่ทาง U of Geneva ใช้และพบว่ามีความสามารถสูงสุดในการตรวจวัดไวรัสโอมิครอนเป็นเกณฑ์ เราใช้ชุดตรวจดังกล่าวตรวจสอบไวรัสต้นแบบโอมิครอนที่แยกได้ในประเทศไทย ปรับปริมาณไวรัสให้สามารถตรวจวัดได้แบบไม่เข้มเกินไป เพื่อจะสามารถเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นๆในประเทศไทยได้ เราใช้ปริมาณไวรัสที่เท่ากันนั้นเปรียบเทียบกับชุดตรวจที่หาได้ 11 ยี่ห้อ และ ตรวจวัดพร้อมกันโดยใช้น้ำยาที่ได้มาจากชุดตรวจแต่ละชนิด ผลการทดสอบพบว่า 1.ชุดตรวจ 9 ใน […]

error: