ติวเตอร์ดัง จี้ ศธ. เน้นเรื่องเด็กเป็นสำคัญ เหตุกราดยิงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย

Advertisement จากกรณีเหตุสะเทือนขวัญ คนร้ายเข้าไปกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตกว่า 30 ราย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ก่อนสืบทราบว่าผู้ก่อเหตุเป็นอดีตตำรวจที่ถูกให้ออกจากราชการเมื่อปี 2564 โดยหลังก่อเหตุได้กลับบ้านมายิงลูกและภรรยา ก่อนจะยิงตัวตายตามนั้น Advertisement ล่าสุด (6 ตุลาคม 2565) หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ประชาชนจากทุกวงการก็มีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างมากมาย ซึ่งพี่ต้นคูน หรือ ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ ติวเตอร์ชื่อดัง ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก โดยอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาตรการเกี่ยวกับเรื่องการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างจริงจัง พร้อมแนะแนวทางออกเป็น 3 ข้อ ดังนี้ 1. เรื่องกราดยิงมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้บ่อยขึ้นและเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เพราะฉะนั้นถือเป็นภัยอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในโรงเรียน จึงควรมีการซ้อมอพยพหรือการรับมือกับสถานการณ์กราดยิง นอกจากนี้ ดร.ณัฐพงศ์ ยังยกตัวอย่างโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่ได้ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมืออาชีพมาช่วยฝึกซ้อมรับมือและอพยพนักเรียนในกรณีที่มีเหตุการณ์กราดยิง เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม Advertisement 2. ในโรงเรียนควรมีการคุยข่าว คือการให้ครูประจำชั้นหรือครูที่รับผิดชอบในเรื่องนี้เอาข่าวที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับชีวิตของเด็กในแต่ละช่วงวัยมาคุยกัน เป็นการเพิ่มพูนทั้งความรู้และทักษะชีวิต รวมถึงความคิดด้วย และจะทำให้เด็กรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้เด็กรู้ข้อมูลข่าวสารน้อยมากเหลือเกิน เด็กเล็กก็สามารถทำกิจกรรมนี้ได้ เพราะทำตามวุฒิภาวะ 3. โรงเรียนถือเป็นสถานที่เปราะบางมาก ใครที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นบุคคลภายนอกไม่ควรที่จะเข้าไปในโรงเรียนได้ หรือถ้าเข้าไปได้ก็ควรจะจำกัดเขตไม่ให้ล่วงล้ำเข้าไปได้ในพื้นที่ที่เด็กอยู่ […]

อีกธุรกิจที่กำลังแย่!! ‘สถาบันกวดวิชา’กำไรวูบ รายได้หด เด็กหันมาติวออนไลน์กันมากขึ้น!!

  โรงเรียนกวดวิชายักษ์ใหญ่ซีด! รายได้วูบ 30-40% หลังผู้เรียนลดกว่าครึ่ง เร่งปรับแผนปิดสาขาลดต้นทุน ชี้! ปัจจัยมาจากเด็กเกิดใหม่น้อย เศรษฐกิจฝืดเคือง แห่เรียนออนไลน์เพิ่ม ‘ติวเตอร์-ออนไลน์’ โตสวนกระแส! ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเมืองไทย ซึ่งมีมูลค่ารวมราว 1 หมื่นล้านบาท ถือเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ โดยส่วนแบ่งตลาดกว่า 50% เป็นของโรงเรียนกวดวิชาที่มีเชนสาขากระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลัก รวมทั้งมีระบบการบริหารจัดการเต็มรูปแบบ ทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระแสนิยมในการเรียนกวดวิชาเป็นตัวผลักดันให้กรมสรรพากรต้องลงมาดูถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีในเวลาต่อมา ล่าสุด พบว่า เชนโรงเรียนกวดวิชากำลังเผชิญกับวิกฤติอีกครั้ง เมื่อผลประกอบการลดลง 30-40% จากจำนวนผู้เรียนที่หายไปกว่า 50% ทำให้ต้องเร่งปรับตัวอย่างหนัก บางรายต้องปิดสาขาที่มีผู้เรียนน้อย ขณะที่มีค่าใช้จ่ายสูง จนเกิดภาวะขาดทุน อีกทั้งยังพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา โรงเรียนกวดวิชาขนาดใหญ่ไม่มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากต้องการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อให้เกิดกำไร หลังจากที่มีภาระค่าใช้จ่ายภาษีให้กับกรมสรรพากรด้วย แหล่งข่าวผู้ประกอบการโรงเรียนกวดวิชารายใหญ่ กล่าวแสดงความคิดเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนกวดวิชาใหม่ ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก ขณะที่รายใหญ่ก็ชะลอการขยายสาขา บางรายถึงกับปิดสาขาหรือควบรวมสาขาเพื่อลดต้นทุน ซึ่งวันนี้จะเห็นแหล่งกวดวิชาขนาดใหญ่ที่มีโรงเรียนกวดวิชาเข้าไปเปิดให้บริการเริ่มติดป้ายปิดทำการ / ย้ายสาขา / เซ้งระยะยาว จากเดิมที่มีนักเรียนจำนวนมากเดินเข้า-ออก […]

error: