ทองต่ำกว่า3หมื่นยากแล้ว เปิดสถิติล่าสุด 21ต.ค.67 ปรับ12ครั้ง

Advertisement 21 ต.ค.67 ราคาทองคำ ตั้งแต่ช่วงเช้า ที่เปิดตลาดกระทั่งถึงตอนบ่ายและช่วงเย็น มีการปรับขึ้นลงไปแล้วทั้งหมด 12 ครั้ง โดยรวมตลอดทั้งวัน ปรับราคาขึ้นถึง 650 บาท เบื้องต้นมาทำนิวไฮ หรือสถิติใหม่ สำหรับทองรูปพรรณอยู่ที่ 43,700 บาท และสำหรับทองคำแท่ง 43,200 บาท Advertisement นับตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงตอนนี้ ราคาทองปรับขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 9,550 บาท ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 2,730.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ออนซ์ โดยยังน่าจับตาถึงสถานการณ์ ราคาทองคำ ในช่วงสิ้นปีนี้จะผันผวนและปรับราคาขึ้นลงอย่างไร นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ราคาทองคำจะยังอยู่ในภาวะผันผวนสูง และมีโอกาสปรับราคาสูงขึ้นได้อีก โดยมีปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่ 1. ประเทศต่าง ๆ ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน […]

ยังเหมาะจะซื้อเก็บ! ราคาทองลงอีก ทองรูปพรรณหลุด19,000เรียบร้อย!!

  รายงานข่าวจากสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ย.(ครั้งที่ 1) ราคาทองคำในประเทศปรับลดลง 50 บาท โดยทองแท่งรับซื้อบาทละ 18,350 บาท ขายออกบาทละ 18,450 บาท ทองรูปพรรณรับซื้อบาทละ 18,025 บาท และขายออกบาทละ 18,950 โดยบริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ราคาเริ่มมีการดีดตัวกลับทุกครั้งเมื่อราคาอ่อนตัวลงใกล้ระดับตํ่าสุดของวันก่อนหน้า แต่หากการดีดตัวกลับของราคายังไม่สามารถกลับไปทดสอบ หรือยืนเหนือโซนแนวต้าน 1,207 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจเกิดแรงขายซึ่งจะกดดันให้ราคาปรับตัวลง โดยมีแนวรับที่ 1,191-1,187 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์, สมาคมค้าทองคำ    

ราคายังลงต่อเนื่อง! ราคาทองขายออกวันนี้18,650 ไม่ต่างกับเดือนที่แล้ว!

  4 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ราคาทองคำว่า ราคาทองคำวันนี้ปรับลดลง 2 ครั้ง รวมราคาทองคำปรับลดลง 100 บาท โดยราคาทองแท่ง รับซื้อบาทละ 18,500 บาท ขายออกบาทละ 18,600 ทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 18,161.68 ขายออกบาทละ 19,100 และในวันนี้ 6 ก.ย.61 ราคาทองแทงรับซื้อบาทละ 18,550 บาท ขายออกบาทละ 18,650 บาท ซึ่งราคาไม่ต่างมากจาก 2 วันก่อน     นายณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด เปิดเผยว่า แนวทางการลงทุนในทองคำในสัปดาห์นี้ ต้องติดตามผลการเจรจาทวิภาคีระหว่างสหรัฐกับแคนาดา หากการเจรจาสำเร็จจะยุติสงครามการค้าในกลุ่มนาฟต้า ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น รวมถึงผลกระทบจากสงครามการค้าได้เพิ่มความเสี่ยงด้านการลงทุนของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ (BRICS) และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ประเมินว่าคำกล่าวของผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นที่ออกมาระบุว่า จะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกนาน […]

error: