หมอธีระวัฒน์เผย ท้องผูกตั้งแต่3วันขึ้นไป สมองเสื่อมเร็ว เทียบเท่ากับสมองแก่ไป3ปี

Advertisement 28 ส.ค. 2566 – นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กให้ความรู้เรื่องท้องผูก ไม่ถ่าย สมองเสื่อม โดยระบุข้อความดังนี้ Advertisement การติดตามผู้คนที่ท้องผูกตั้งแต่สามวัน หรือมากกว่าพบว่าสมองเสื่อมเร็ว เทียบเท่ากับสมองแก่ไป 3 ปี (significantly worse cognition, equivalent to 3.0 years more of cognitive aging) ทั้งนี้คนที่ถ่ายวันละสองครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นนิดหน่อย โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ผลิตสารอักเสบ เพิ่มขึ้น Advertisement รายงานในที่ประชุมสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ Amsterdam เดือน ก.ค. 2023 และเป็นเหตุผลที่ต้องเน้นอาหารสุขภาพ ผัก ผลไม้กากใย ลดงดเนื้อสัตว์ แต่กินปลาแทน และแน่นอนร่วมกับการออกกำลังตามธรรมชาติ (move naturally) เดิน เดิน เดิน ยังไม่ต้องถึงกับออกกำลังรุนแรงคาร์ดิโอ moderate to […]

กรมการแพทย์เผย ไทยพบภาวะท้องผูก25% เกินครึ่งอยู่ในวัย20-40ปี พบในหญิงมากกว่าชาย

1 ก.ค.2566 นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ท้องผูก คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระยาก หรือห่างผิดปกติ ร่วมกับอุจจาระที่มีลักษณะแข็งหรือแห้งผิดปกติด้วยเช่นกัน ส่วนท้องผูกเรื้อรัง คือ ภาวะท้องผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึงร้อยละ 25 โดยพบได้ในกลุ่มช่วงอายุ 20 – 40 ปีบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 57 เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย และที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผอ.รพ.ราชวิถี กล่าวว่า สาเหตุของภาวะท้องผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรก “ท้องผูกปฐมภูมิ” คือ ท้องผูกที่เกิดจากการบีบและคลายตัวผิดปกติของลำไส้เอง ตัวอย่างเช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้เฉื่อย หรือ การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี กลุ่มที่สอง “ท้องผูกทุติยภูมิ” คือ ภาวะท้องผูกที่มีสาเหตุจากความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลำไส้ หรือ โรคระบบอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูก […]

แพทย์เตือน “ท้องผูก-นอนละเมอ” อาการนำโรคพาร์กินสัน ก่อนมีปัญหาขยับตัว

20 พ.ค. 2566 พญ.ณัฎลดา ลิโมทัย อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท รพ.เวชธานี กล่าวว่า โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ทำให้มีการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดปามีนลดลง ซึ่งสารโดปามีนมีหน้าที่หลักในการควบคุมการเคลื่อนไหว เรียบเรียงความนึกคิด และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ พญ.ณัฎลดา กล่าวต่อว่า อาการของโรคพาร์กินสันมีทั้งที่แสดงออกทางการเคลื่อนไหว เช่น อาการสั่น อาการแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า ท่าเดินที่ผิดปกติ การทรงตัวที่ไม่ดี หรือแม้กระทั่งปัญหาการหกล้ม เหล่านี้เป็นอาการทั่วไปของโรคพาร์กินสันที่หลายคนทราบ แต่แท้จริงแล้วยังมีอาการแสดงที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จนบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้มีสาเหตุเกิดจากโรคพาร์กินสัน เช่น การนอนละเมอ “บางรายถึงขนาดทำร้ายร่างกายของคนที่นอนร่วมเตียง และปัญหาการขับถ่ายโดยเฉพาะอาการท้องผูก ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากมีความเสื่อมของระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่” พญ.ณัฎลดา กล่าวอีกว่า อาการเหล่านี้อาจพบเป็นอาการนำก่อนที่จะเริ่มพบอาการผิดปกติทางการเคลื่อนไหวหรืออาการสั่นมาก่อนหลายปีก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางส่วนอาจไม่ตระหนักถึงอาการของโรคเพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมา เช่น มีความเสี่ยงหกล้มง่าย เพราะฉะนั้นหากเริ่มมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง พญ.ณัฎลดา กล่าวต่อว่า การรักษาโรคพาร์กินสัน แพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการใช้ยา เพื่อเพิ่มการออกฤทธิ์ของสารโดปามีนในสมอง ซึ่งมีทั้งรูปแบบรับประทาน แผ่นแปะ และยารูปแบบฉีดใต้ผิวหนัง โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีการตอบสนองต่อยาได้ดีมากถึง 70-100% และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนปกติก่อนเกิดอาการ […]

error: