แบงก์ชาติ เตรียมแก้ประกาศ “กู้ร่วม” ซื้อรถ แก้ปัญหาคนค้ำประกัน-รายได้ไม่พอ

Advertisement 2 กันยายน 2567 นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภายในเดือนธันวาคม 2567 ธปท.จะมีการแก้ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ ในเรื่องของ “การขอกู้ร่วม” ภายหลังจากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) ร่วมกับสมาคมธุรกิจเช่าซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และเจ้าหนี้เช่าซื้อ Advertisement “ตอนนี้เราส่งเฮียริ่งเจ้าหนี้ ประกาศตามกฎหมายยังไม่ออก แต่เช่าซื้อภายใต้แบงก์ชาติมีแค่เช่าซื้ออันเดอร์แบงก์ที่มีตัวเลขรายงาน ธปท.มีประมาณ 65% ของตัวเลขทั้งหมด ระหว่างนี้เราแจ้งแบงก์ว่า หากจะทำก่อนก็ได้ และเราจะแก้ประกาศตาม เพื่ออยากให้เร็ว แต่เรื่องปัญหาเช่าซื้อที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อจะมาจากปัญหากู้ร่วมน้อยมาก แต่ส่วนใหญ่มาจากปัญหาราคารถมือสองมันเยอะ จึงกระทบกับตลาดรถยนต์โดยรวมทั้งมือหนึ่งและมือสอง ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แบงก์ก็เพิ่ม Underwriting กระทบทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย” นางสาวสุวรรณีกล่าวเพิ่มว่า ภาพรวมสินเชื่อรถยนต์ที่ปรับลดลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้ายื่นขอสินเชื่อน้อยลง อาจจะเป็นผลมาจากมีรถยนต์ใช้แล้ว หรือรายได้ไม่เพียงพอในการผ่อนชำระ จึงชะลอการขอสินเชื่อ ขณะเดียวกัน ธนาคารหรือผู้ประกอบเช่าซื้ออาจจะมีการปรับเพิ่มเครดิตรับความเสี่ยงลูกค้ามากขึ้น (Cut of Score) เนื่องจากโดยธรรมชาติการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ผู้ประกอบการจะเจอกับ Loss […]

“แบงก์ชาติ” ส่งหนังสือถึง ครม. แนะทบทวน “ดิจิทัล วอลเล็ต”

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เริ่มดำเนินโครงการได้นั้นมีหลายหน่วยงานที่ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดลงเลขที่ ธปท.ฝกม. 285 /2567 เรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ธปท.มีความห่วงใยและตั้งข้อสังเกตในโครงการดังนี้ 1.ความจำเป็นในการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลควรทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในขอบเขตที่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น (targeted) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 15 ล้านคน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณ 150,000 ล้านบาท เนื่องจากคนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่น และมักซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า นอกจากนี้ควรพิจารณาดำเนินโครงการแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังด้วย ทั้งนี้ ความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างมีไม่มาก โดยในปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนของไทยขยายตัวได้ที่ […]

นศ.จบใหม่5แสนคน เสี่ยงตกงานทุกปี ธุรกิจลดใช้คน หางานยากขึ้น

เด็กจบใหม่ 5 แสนคนเสี่ยงตกงานทุกปี สังเวยโควิด-19 ระบาด ธปท.เผยสาเหตุจบไม่ตรงความต้องการตลาด-ธุรกิจลดใช้คน หวั่นระยะยาวหางานยากขึ้น วันที่ 18 พ.ค. 65 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลสำรวจตลาดแรงงานเด็กจบใหม่ในยุคโควิด-19 โดยพบว่า การว่างงานของเด็กจบใหม่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง และยังถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด-19 โดยตัวเลขการว่างงานของเด็กจบใหม่หรือการว่างงานของกลุ่มเยาวชน (Youth unemployment) ในช่วงอายุ 15-24 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติเกือบแสนคน สะท้อนถึงปัญหาของตลาดแรงงานเด็กรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเป็นแรงงานมีฝีมือในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การว่างงานในกลุ่มเด็กจบใหม่ของไทยยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจาก 1.ตำแหน่งงานว่างไม่สอดคล้องกับทักษะ/วุฒิการศึกษา/ค่านิยมของเด็กจบใหม่ โดยความต้องการแรงงานส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคเป็นกลุ่มอาชีพพื้นฐาน อาทิ แรงงานทั่วไป และเน้นวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ขณะที่บางบริษัทขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี อาทิ โปรแกรมเมอร์ Data แต่ผู้สำเร็จการศึกษา อยู่ในกลุ่มการบริหารธุรกิจและกฎหมาย วิศวกรรม อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง เป็นต้น รวมทั้งเด็กจบใหม่บางส่วนนิยมประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 4.6 หมื่นคน ในปี 2562 เป็น 5.6 หมื่นคน ในปี 2564 นอกจากนี้ […]

‘สิงคโปร์ – ไทย’ คู่แรกในโลก โอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์

“สิงคโปร์ – ไทย” เริ่มให้บริการโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์ คู่แรกในโลก และนำร่องในอาเซียน ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกันเปิดตัวการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินรายย่อยของ 2 ประเทศ เป็นครั้งแรกของโลก ได้แก่ ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประเทศไทย และระบบเพย์นาว (PayNow) ของประเทศสิงคโปร์ การเชื่อมโยงระบบในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือและการทำงานอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่าย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางสิงคโปร์ ผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคาร และธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ ในระยะแรก ผู้ใช้บริการของธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมให้บริการ จะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ได้ในจำนวนไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 25,000 บาทต่อวัน ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมให้บริการ โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอน และไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลอื่นเหมือนบริการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล และรายละเอียดของบัญชีผู้รับโอน บริการนี้จะช่วยให้ผู้โอนสามารถโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และทำได้ทุกที่ทุกเวลาเสมือนกับการโอนเงินภายในประเทศด้วยหมายเลขโทรศัพท์ผ่านพร้อมเพย์หรือเพย์นาว โดยการโอนใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที เร็วกว่าการโอนเงินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในปัจจุบันซึ่งใช้เวลาเฉลี่ย 1-2 วัน ระวี เมนอน กรรมการผู้จัดการ MAS กล่าวว่า […]

1 2 7
error: