รัฐสภาประกาศระเบียบใหม่ ย้าย ขรก.ไปทำงานหน่วยงานอื่นได้ทั่วประเทศ

Advertisement 14 กันยายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. 2566 ลงนามโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในฐานะประธาน ก.ร. Advertisement สำหรับสาระสำคัญของระเบียบดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการรัฐสภาสามัญ โดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ เพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 (3) และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ก.ร. จึงออกระเบียบไว้ มีสาระสำคัญ อาทิ ข้อ 4 หน่วยงานอื่นในประเทศที่จะให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ จะต้องมีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับภารกิจของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้แก่ (1) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือตามมติคณะรัฐมนตรี (2) ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (3) องค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย […]

อาจารย์นิติฯ มช.เผย “วันนอร์” ผิดพลาด2ครั้งติดกัน ถ้าไม่ดีขึ้นอีก ควรเปิดทางให้คนอื่นทำหน้าที่แทน

5 สิงหาคมที่ผ่านมา รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) วิพากษ์การปฏิบัติหน้าที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง ความว่า วันนอร์ ไม่เหมาะกับตำแหน่งประธานรัฐสภา รศ.สมชายระบุว่า จากการที่เคยมีบทบาทซึ่งได้รับการยอมรับในการทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วเมื่อในอดีต เมื่อคุณวันนอร์ (วันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา) ได้รับการเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร (และประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง) ก็เป็นที่คาดหวังกันว่าทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาจะทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม มีความเป็นกลาง เป็นอิสระ แต่เพียงการประชุมไม่กี่ครั้งที่ผ่านมา ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ต้องการความรอบรู้ ความเที่ยงตรง และความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ แต่คุณวันนอร์กลับทำหน้าที่ที่ผิดพลาดอย่างสำคัญ อย่างน้อยก็ใน 2 ประเด็น หนึ่ง การวินิจฉัยให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาเลือกการเสนอญัตติมีสถานะที่ใหญ่กว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในกรณีเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี กรณีนี้ถือเป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงที่ไม่มีความเข้าใจต่อความสูงสุดของรัฐธรรมนูญในระบบการเมือง สอง การปิดประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 อย่างปราศจากเหตุผล ทั้งที่มีสมาชิกมาเข้าร่วมประชุมจนครบองค์ประชุมเรียบร้อยและมีญัตติที่จะต้องพิจารณากันต่อไป โดยไม่มีการชี้แจงว่าเพราะเหตุใดจึงต้องปิดประชุม จนเป็นที่ครหาว่าการปิดประชุมเนื่องจากเกรงว่ามี ส.ว.มาประชุมน้อยและจะทำให้ญัตติหลายเรื่องต้องพ่ายแพ้แก่เสียงของ ส.ส. แม้ว่าในระยะแรกของการเสนอชื่อคุณวันนอร์จะมีความคาดหวังกันว่าด้วยท่าทีและประสบการณ์ในทางการเมืองจะทำให้สามารถทำหน้าที่ช่วยประคับประคองให้ระบอบประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไปได้ แต่ความผิดพลาดทั้งสองกรณีภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว กลับแสดงให้เห็นว่าคุณวันนอร์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง เหมาะสม จำเป็นที่คุณวันนอร์ ต้องตระหนักถึงความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง […]

วันนอร์เผย ถ้า ส.ว.โหวตนายกฯ รอบแรกไม่ผ่าน นัดใหม่อีก19ก.ค.

7 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่บริเวณชั้น 6 รัฐสภา ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่เวลา 08.30 น. มีบรรดา ส.ส.จากพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชาติ พร้อมทั้งข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมพิธีคับคั่ง โดยเวลา 09.55 น. นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้อำนวยการกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และคณะพร้อมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อัญเชิญพระบรมราชโองการ เข้ามายังห้องจัดพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร มีเนื้อความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดังนี้ 1.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 2.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา […]

error: