กยศ.ขู่ฟ้อง 807 ราย เบี้ยวหนี้นาน 10 ปี ติดต่อ กยศ.ด่วน !

Advertisement นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า ขณะนี้ กองทุนฯอยู่ระหว่างดำเนินการส่งหนังสือขอให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาผู้กู้ยืม จำนวน 807 ราย ที่ไม่เคยติดต่อชำระเงินคืนเลยเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมยังเพิกเฉยกองทุนฯมีความจำเป็นต้องดำเนินคดีเพื่อมิให้รัฐเสียหาย แต่หากผู้กู้ยืมกลุ่มดังกล่าวมาปรับโครงสร้างหนี้ จะมีโอกาสขยายระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี และผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดทันทีหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ Advertisement สำหรับเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กำหนดให้ผู้กู้ยืมผ่อนชำระเงินคืนกองทุนฯ เป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน และต้องชำระภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ เมื่อชำระหนี้งวดสุดท้ายเสร็จสิ้นกองทุนฯ จะให้ส่วนลดเบี้ยปรับเดิมที่ตั้งพักไว้ทั้งหมด 100% จากการที่กองทุนฯได้เปิดให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567- 28 เมษายน 2567 มีผู้กู้ยืมทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว จำนวน 32,338 ราย ยอดหนี้รวมทั้งหมดกว่า 6,542 ล้านบาท Advertisement นอกจากนี้กองทุนฯจะเปิดให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม […]

กยศ.เปิดลงทะเบียนนัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) พร้อมเริ่มทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้เวลาผ่อนชำระสูงสุด 15 ปี ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% ปลดภาระผู้ค้ำประกันหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่จากเดิม เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย เงินต้น เป็นตัดเงินต้นส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ โดยเปิดให้ผู้กู้ยืมเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับกองทุนได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป ผู้กู้สามารถลงทะเบียนนัดหมายวันเข้าทำสัญญาล่วงหน้าทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก กองทุนจะเปิดให้เข้ามาทำสัญญาทุกวันไม่เว้นวันหยุด เวลา 09.00 – 20.00 น. และจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ได้ทำสัญญาตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า “ขณะนี้กองทุนฯ ได้เตรียมดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนให้เป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 โดยผู้กู้ยืมที่มีสิทธิ์เข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ได้แก่ […]

ออมสิน ยกดอกเบี้ยค้าง-ไม่คิดใหม่ มูลหนี้ไม่เกิน 1 ล้าน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินตามที่รัฐบาลผลักดันแก้ไขปัญหาหนี้ประชาชน ธนาคารออกมาตรการ “แก้ไขหนี้ลูกหนี้ NPLs” ของสินเชื่อรายย่อยไม่มีหลักประกัน วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยจะยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นให้ทั้งหมดในวันที่ลูกหนี้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนยอดหนี้ที่เหลือธนาคารจะปรับลดเงินงวดผ่อนชำระเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการลดอัตราดอกเบี้ยในปีแรกลงเหลือ 0% ต่อปี แล้วนำเงินงวดที่ลูกหนี้จ่ายชำระไปตัดยอด เงินต้นทั้งจำนวน จากนั้นในปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ลูกหนี้มีเงินคงเหลือเพียงพอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ และยังคงสถานะหนี้ชั้นปกติ ไม่เสียประวัติเครดิต ทำให้ในอนาคตยังสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ ทั้งนี้ ธนาคารจะจัดส่ง Notification ผ่าน MyMo / SMS และจดหมายเชิญลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการ โดยลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.gsb.or.th และที่แอป MyMo ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่28 กุมภาพันธ์ 2567 และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 […]

วิธีแจ้งปรับโครงสร้างหนี้หลัง กยศ. เปิดให้ผ่อนสูงสุด 30 ปี ขั้นต่ำเดือนละ 10 บาท

กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์สู้ภัยโควิด ให้ผู้กู้ยืมแจ้งขอปรับโครงสร้างหนี้แบบภาคสมัครใจ ผ่อนสูงสุด 30ปี หักเงินเดือนขั้นต่ำ 10 บาท วันที่ 9 ส.ค.64 กยศ.แจ้งข่าวปรับโครงสร้างหนี้สู้ภัยโควิด-19 สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี กรณีไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ยืมเดิมได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ สามารถผ่อนได้สูงสุด 30 ปี แต่ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ กองทุนจะให้ผู้กู้ยืมมาตกลงขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน โดยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เงื่อนไขการผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน กองทุนจะคำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ โดยนำเงินที่ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนมาแล้วทั้งหมดมาปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่ โดยตัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามงวดครบกำหนดชำระหนี้ จนครบจำนวนเงินที่ผู้กู้ยืมเงินชำระมาเท่านั้น สำหรับเบี้ยปรับในอดีตที่ตัดชำระไปแล้ว ถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระครบถ้วนแล้ว จากนั้นกองทุนจะนำเงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยคงเหลือใช้เป็นยอดหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนเบี้ยปรับคงค้างที่สะสมอยู่ในระบบจนถึงปัจจุบัน กองทุนจะให้ส่วนลดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 80 และให้ชำระเบี้ยปรับคงเหลือร้อยละ 20 ในงวดสุดท้าย แนวทางในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมที่ถูกหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง ผู้กู้ยืมสามารถขอปรับลดจำนวนเงินที่นายจ้างหักและนำส่งกองทุนเพื่อชำระเงินงวดที่จะครบกำหนด วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และ/หรือผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระเป็นรายเดือน จากเดิมต้องไม่น้อยกว่า 100 บาทต่อเดือน เป็นคงเหลือต้องไม่น้อยกว่า 10 บาทต่อเดือน เป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 – มิถุนายน […]

error: