กู้บ้านประกันสังคม ธอส. เปิดกู้ 8 พ.ย. นี้ เอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้างเช็กเลย

Advertisement ความคืบหน้าโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ร่วมกับ สำนักงานประกันสังคม ปล่อยให้ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40 สามารถยื่นกู้บ้านประกันสังคม 2567 หากมีคุณสมบัติและเงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด Advertisement ล่าสุด กู้บ้านประกันสังคม 2567 มีผู้สนใจลงทะเบียนรับสิทธิ์แล้วกว่า 9,900 ล้านบาท ใกล้เต็มกรอบวงเงินของโครงการ 10,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ์จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อติดต่อยื่นขอสินเชื่อกับ ธอส. ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนโดยนำเอกสารส่วนตัว เอกสารแสดงรายได้ และเอกสารหลักประกันมายื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป กู้บ้านประกันสังคม 2567 เปิดขั้นตอนการยื่นกู้ ผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40 ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์และขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนการเข้าร่วมโครงการกับสำนักงานประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน Application SSO PLUS (ระบบ IOS  และระบบ Android) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 […]

วิธีลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 เช็กขั้นตอนขอสินเชื่อสำหรับผู้ประกันตนง่าย ๆ ทำตามได้เลย

ลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 ความคืบหน้า โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน 2567 ธอส. หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เริ่มเปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40 ลงทะเบียนใน โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน 2567 ลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 เงื่อนไขปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านผู้ประกันตน โดยให้ผู้ประกันตนได้สิทธิในการกู้ซื้อบ้าน / ซื้อที่ดินสร้างบ้าน หรือนำไปซ่อมบ้าน ในวงเงินกู้คนละไม่เกิน 2 ล้านบาท ผู้กู้จะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในช่วง 5 ปีแรก เพียง 1.59% ต่อปี ส่วนปีที่ 6 – 8 เท่ากับ MRR – 2.00% ต่อปี และปีที่ 9 จนถึงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ MRR – 0.50% ต่อปี หากวงเงินกู้ส่วนที่เกิน 2 ล้านบาท สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่ออื่นของธนาคารได้ ลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม […]

เปิดชื่อ 41 จังหวัด ลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39

จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ สปส.มีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่งวดเดือน ต.ค.67 – มี.ค.68 แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 41 จังหวัด ดังนี้ กระบี่ กาญจนบุรี  กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น  ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย  เชียงใหม่  ตรัง ตาก นครนายก  นครปฐม  นครพนม  นครราชสีมา นครศรีธรรมราช  นครสวรรค์  น่าน  บึงกาฬ พะเยา  พังงา พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร  แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย สตูล สระบุรี สุโขทัย  สุราษฎร์ธานี  หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง […]

กมธ.สาธารณสุข ศึกษาความต่าง “บัตรทอง-ประกันสังคม”

10 ต.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา  นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร(สส.) พร้อมด้วย น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ร่วมแถลงข่าว เรื่อง พิจารณาแนวทางความเหลื่อมล้ำกรณีสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ในส่วนผู้ใช้แรงงาน ตัวแทนสํานักงานประกันสังคม และสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมให้ข้อมูล  แต่ระดับผู้บริหารของสำนักประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ไม่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า วันนี้ กมธ.การสาธารณสุขได้จัดประชุมพิจารณา วาระการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรฐานบริการสุขภาพระหว่างกองทุนประกันสังคม และ สปสช. โดยจากการพิจารณาในชั้นกมธ.มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ คือ ประกันสังคมและสิทธิหลักการสุขภาพแห่งชาติหรือที่รู้จักกันในนาม “บัตรทอง” นั้นยังไม่ได้จัดบริการการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่าง กรณีของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมสมทบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้รับคุณภาพการรักษาที่ยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง เปิด 3 ประเด็น บัตรทอง ดีกว่า ประกันสังคม โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ 1. การเข้าถึงบริการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพหรือที่เรียกว่า PP จุดนี้สปสช.ให้การคัดกรองที่ดีกว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถใช้บริการสุขภาพปฐมภูมิ […]

“พิพัฒน์” ถกด่วน แก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชนแห่ออกจากระบบประกันสังคม

กรณี “โรงพยาบาลเอกชน” ทยอยขอถอนตัวออกจากการเป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม กลายเป็นปัญหาที่สังคมกำลังเฝ้าจับตาอย่างกว้างขวาง โดยที่ผ่านมามี 2 โรงพยาบาลเอกชน คือ โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลซีจีเอช สายไหม กรุงเทพมฯ ประกาศถอนตัวออกจากประกันสังคมไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีโรงพยาบาลเอกชนอีกจำนวนหนึ่งกำลังรอดูท่าทีอยู่เช่นกันว่าจะออกหรือไม่ ล่าสุด นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลได้รับทราบปัญหาแล้ว โดยในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นี้ กระทรวงแรงงาน ได้นัดหารือร่วมกับทางโรงพยาบาลเอกชน เพื่อร่วมกันพิจารณาและหาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาการให้บริการแก่ผู้ประกันตนของโรงพยาบาลเอกชนเครือข่ายประกันสังคม “ปัญหาที่มีมาทั้งหมดจะได้ข้อสรุป โดยขอหารือกันก่อน เพราะเรื่องนี้เคยได้สั่งการไปยังสำนักงานประกันสังคมไปแล้ว” นายพิพัฒน์ ระบุ   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

ปธ.คปค. หนุน ขยายฐานอายุผู้ประกันตนเป็น 65 ปี

7 กันยายน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เตรียมจะดำเนินการการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ตาม (ร่าง) พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม (ฉบับที่ …) พ.ศ. … กรณีขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิม 60 ปี เป็น 65 ปี ว่า เรื่องนี้มีความเป็นไปได้สูง ด้วยประเทศไทยที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จึงต้องขยายการเกษียณอายุเพื่อรองรับ ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ดี เช่นเดียวกับผู้ประกันตน มาตรา 40 ที่ให้สิทธิคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ของผู้สูงวัย อายุระหว่าง 60 – 65 ปี “ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. อายุเมื่อครบ 60 ปี ปีที่ 61 อาจจะสมัครงานที่อื่นได้ […]

จ่อขยายอายุรับเงินชราภาพถึง 65 ปี เพิ่มสิทธิประโยชน์ ม.40

3 กันยายน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนสำนักงานประกันสังคม ครบรอบ 34 ปี ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จ.นนทบุรี โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการ สปส. พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เข้าร่วม โดยในงานดังกล่าวได้มีการมอบรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยงานในภาคีเครือข่าย สปส.กว่า 250 รางวัล นายพิพัฒน์ กล่าวถึงนโยบายหรือทิศทางการขับเคลื่อนงานประกันสังคมในปี 2568 ว่า ในโอกาสสำนักงานประกันสังคม ครบรอบ 34 ปี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้หารือร่วมกับเลขาธิการ สปส. ถึงทิศทาการดำเนินงานของ สปส.ในระยะถัดไป โดยจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน ตาม (ร่าง) พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ …) พ.ศ. … อาทิ 1.ขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตน มาตรา 33 […]

สศช.ห่วงสถานะ “กองทุนประกันสังคม” ทรุด รายรับ-จ่าย เริ่มมีปัญหา

สถานการณ์ของ “กองทุนประกันสังคม” นับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนและลูกจ้างให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ล่าสุดดูเหมือนว่ากองทุนกำลังประสบปัญหา เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 พบว่า กองทุนฯ มีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต สวนทางกับแนวโน้มจำนวนแรงงานรุ่นใหม่ ที่จะมีบทบาทในการส่งเงินสมทบเข้าสู่กองทุนฯ ที่ลดลง โดยข้อมูลจากผลการศึกษางบประมาณด้านการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566) พบว่า ช่องว่างระหว่างรายรับและรายจ่ายของกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยในปี 2556 สัดส่วนรายจ่ายต่อรายรับอยู่ที่ 34.6% เพิ่มขึ้นเป็น 73.4% ในปี 2564 ถ้าพิจารณาถึงเงินรายรับและรายจ่าย ย้อนหลังไป 3 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 จะพบว่าช่องว่างเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 รายรับอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ก่อนจะลดลงมาในปี 2563 มีรายรับอยู่ที่ 2.3 […]

ประกันสังคม กำลังเสี่ยง เงินบำนาญชราภาพ มีคนรับมากกว่าคนจ่าย

จำนวนผู้ประกันตน ประกันสังคม ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ระบุว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั่วประเทศ ณ เดือนเม.ย. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 24,602,082 คน  แยกเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ อายุไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน จำนวน 11,857,864 คน ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย […]

สปส. แจงเรียกคืนเงินเยียวยาโควิด ม.40 เกิดจากการซับซ้อนสิทธิ

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office ระบุ จากกรณีที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเรียกคืนเงินตามโครงการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ผู้ประกันตนมาตรา 40) ในช่วงวิกฤตโควิด นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม ขอเรียนชี้แจงว่าการพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติเงินจากรัฐบาล ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณาได้แก่ สถานะความเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่มีการอนุมัติโครงการ พื้นที่ที่ประกอบอาชีพหรือพักอาศัยอยู่ในขณะนั้น ต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงตามประกาศของรัฐ ซึ่งมีการทยอยประกาศเป็นระลอก รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด การจ่ายเงินสมทบต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ สำนักงานประกันสังคมได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกันตน แต่เนื่องจากเงื่อนไขการได้รับสิทธิที่ซับซ้อนดังกล่าว ประกอบกับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3.6 ล้านคน เป็น 9.6 ล้านคน และในช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัคร ม.40 รายใหม่รับสิทธิเยียวยาได้ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบ IT ในการประมวลผลตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ผู้ประกันตนได้อย่างรวดเร็วบรรเทาความเดือดร้อนได้ทันการณ์ แต่เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ดำเนินการมาจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาลดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเยียวยา จะต้องตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสอบทานข้อมูลการดำเนินงานโดยละเอียด พบว่าเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่ซับซ้อนทำให้มีการจ่ายเงินเกินสิทธิให้กับผู้ประกันตน จึงจำเป็นต้องแจ้งผู้ประกันตนให้ดำเนินการส่งคืนเงินดังกล่าว หากผู้ประกันตนไม่สามารถส่งคืนเงินได้ในคราวเดียวสามารถดำเนินการขอผ่อนชำระเป็นรายงวดได้ โดยขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ /จังหวัด/สาขา ที่รับผิดชอบต่อไป   ข่าวจาก : […]

1 2 3
error: