นอนน้อย-หลับยาก หมดไฟในการทำงาน สัญญาณป่วย Burnout syndromes

Advertisement พญ.กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี ผู้อำนวยการศูนย์ Premier Life Center โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวในงานเปิดตัว “The Selection” แพลตฟอร์มสำหรับคนยุคใหม่ เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ว่า เทรนด์สุขภาพที่น่าจับตามองในปัจจุบันและในปี 2568 จะเน้นไปยังการปรับสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ ผ่านการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการป้องกันและดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นยุคใหม่ ที่เริ่มมองแนวทางหาการรักษาอาการป่วยหรือภาวะความผิดปกติของสุขภาพมากขึ้น Advertisement ยกตัวอย่างการนอนไม่หลับ เครียด ไมเกรน ลำไส้แปรปรวน ลดน้ำหนักไม่ลง โรคเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดปกติที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น เพราะไม่ต้องการใช้ยารักษา สอดรับกับเรื่องของเวชศาสตร์ชะลอวัยและการป้องกัน ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มที่เข้ามาพบแพทย์คือ การป่วยด้วยภาวะหมดไฟ หรือ Burnout syndromes Advertisement สัญญาณ Burnout syndromes ตื่นเช้าไม่สดชื่น เหนื่อยอ่อนเพลีย ง่วงในเวลางาน หิวจุกจิกบ่อย เมื่อเลิกงานรู้สึกสดชื่น กินเยอะในตอนเย็น หลัง 23.00 น.ตาสว่าง นอนไม่หลับ มักนอนหลับหลัง 02.00 น. ปัญหาสุขภาพแฝงจากภาวะหมดไฟ เกิดกรดไหลย้อนเมื่อกินอาหาร […]

สภากลาโหม เคาะเพิ่มอีก 3 กลุ่ม ‘โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้’ มีกี่โรค

ที่ประชุมสภากลาโหม รับทราบรายงานตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ การเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แต่งตั้งคณะกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ เป็นกรรมการ นอกจากนั้น ยังเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ออกตามความ ร่าง พ.ร.บ.การรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 กลุ่ม “โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้” จากเดิม 12 เป็น 15 พล.ร.ต.ธนิตพงศ์ สิริเศวตศักดิ์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการต่อต้านการก่อการร้ายสากล จะเป็นกลไกในการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายสากลในปัจจุบัน ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ให้กลับไปสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่จะเป็นกลไกหลัก ในการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนคณะกรรมการชุดที่ 2 คือ คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย ซึ่งมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนเหล่าทัพเป็นกรรมการ เรื่องนี้ถือว่ามีความจำเป็น เพราะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดน หรือปัญหาเขตแดนในเชิงยุทธศาสตร์ หรือระดับนโยบายอำนาจที่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมสภากลาโหม […]

สาวร้องทุกข์ ค้างค่าไฟเดือนเดียว โดนตัดไม่เตือน แม่ติดเตียงนอนร้องไห้

เป็นโพสต์ที่ได้รับการแชร์จากเพจ Drama-addict ซึ่งพบว่าเป็นการร้องทุกข์จากประชาชนรายหนึ่งซึ่งได้รับความเสียหาย จากการที่ถูกตัดกระแสไฟฟ้าโดยไม่ได้มีการแจ้งเตือนมาก่อน ทำให้แม่ขอเธอที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้รับผลกระทบ ซึ่งเธอระบว่า ค้างชำระเพียง 1 เดือนเท่านั้น โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า ” จ่า ขอเล่าหน่อยคะ เราต้องทำแบบไหนคะ ที่เวลาการไฟฟ้ามาตัดไฟ ก่อนตัดอยากให้เค้าโทรแจ้งเรา คือแม่หนูติดเตียง แล้วไม่ได้จ่ายค่าไฟ ค้าง 1 เดือน แล้วหนูไปทำงานคะจ่า แม่ติดเตียง โดนตัดไฟตอนไหนไม่รู้ และวันนี้อากาศก็ร้อนมาก กลับบ้านมา 3 ทุ่ม เจอสภาพแม่นอนร้องไห้ เหงื่อท่วมตัว หนูก็จ่ายค่าไฟที่ค้างไป (มอเตอร์แบบออนไลน์) 1 ชั่วโมงผ่านไปไฟก็ยังไม่มา เคยแจ้งเค้าแล้วว่าแม่ติดเตียง ไม่สามารถเดิน ขยับ และพูดได้ เลยอยากให้ช่วยผลักดันการทำงาน ให้ความสำคัญกับ ผู้ป่วยติดเตียง ก่อนจะตัดไฟ ให้โทรหา เจ้าบ้าน หรือ ผู้ดูแล ถ้าโทรแล้ว ไม่รับ ก็ตัดไปเลย แบบนี้โอเค การไฟฟ้าน่าจะลิสท์ข้อมูล บ้านที่ มีผู้ป่วยติดเตียงไว้ แล้วโทรหา ไฟฟ้าท้องถิ่น […]

ในไทยโชคดีสุดแล้ว!! สาวไทยในลอนดอนเล่าประสบการณ์หาหมอที่อังกฤษ หมอเก่ง แต่จองคิวยาก-ค่ารักษาแพงสุดๆ!!

  เรามักจะเห็นข่าวความขัดแย้งระหว่างคนไข้กับโรงพยาบาลรัฐเสมอ โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะหมอและพยาบาลไม่ทำตามใจผู้ป่วย ลองอ่านประสบการณ์จากคุณ Hooyin Brarypaul สาวไทยในลอนดอน ประเทศอังกฤษ แล้วคุณจะรู้เลยว่าเมืองไทยโชคดีสุด ๆ แล้ว   ไม่เคยคิดว่าชีวิต ต้องมาอยู่ต่างแดน มา วันนี้จะเล่าเรื่องการหาหมอของที่นี่ (หัวข้อนี้มันจี้ดในใจ มาตลอด ขอสอยยาวหน่อยนะ) ก่อนอื่นเลย คนที่ประเทศผู้ดีบริติชนี่ เวลาเค้าป่วย เค้าหาหมอกันยังงาย ติ้กต่อกๆๆๆๆๆ มาแรกๆก็คิดว่า เหมือนเมืองไทย ใช่มั้ยยยย ป่วยหรอ ก็ไปหาหมอ ไปคลินิคเลยสิ มันไม่ง่ายขนาดนั้นค่ะ ได้ชื่อว่าเปนเมืองผู้ดี มันต้องมีขั้นตอนหน่อย อันดับแรก ทุกคนก็ต้องรีจิสเตอร์ gp (General Practitioners ) ก็อารม คลินิคแถวบ้าน ซึ่งก็ต้องใช้ บัตรพาสปอร์ต BRP card และ prove of address  แปลว่าไรอ่า ก็แปลว่า ต้องมีที่อยู่จิงตรงตามกะบัตร คือต้องอาศัยอยุ่จิงในประเทศนี้ ถึงจะรีจิสเตอร์ได้ฮะ ขั้นตอนนี้ ทำครั้งเดียวจบไม่ยาก ผ่านนน […]

ไป รพ.รัฐทำไมต้องรอหมอ? แล้วหมอทำอะไรอยู่? เสียสละดูคลิปสั้นๆนี้แล้วจะเข้าใจมากขึ้น!

  โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ใครก็ไม่อยากไปถ้าไม่มีเหตุจำเป็น ยิ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐยิ่งไม่พิศมัย เพราะกิตติศัพท์ร่ำลือกันในเรื่องของเจ้าหน้าที่ดุ, รอนาน, หมอมาช้า, คนเยอะ แต่เมื่อเจ็บป่วยทีไร หลายคนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องไปรักษาตนเอง เพราะค่าบริการที่ถูกเป็นหลัก "ทำไมหมอมาช้า? หมอทำอะไรอยู่ถึงปล่อยคนไข้รอ?" ภาพยนตร์สั้นโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ อาจคลายข้อสงสัย และทำให้เข้าใจการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น     ขอบคุณคลิปจาก : Somchai Tanawattanacharoen  

error: