ส.ก.บางกอกน้อย ข้องใจไม่ซื้อเครื่องสูบน้ำ ฟาด “ไหนว่าศึกษามาก่อน?”

Advertisement 28 กันยายน ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยที่สอง (ครั้งที่ 4) ประจำปีพุทธศักราช 2565 ในวันพุธที่ 28 กันยายน 2565 โดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม Advertisement ในตอนหนึ่ง นายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้มีแนวทางป้องกันจุดอ่อน รั่วซึม ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วแก้ไข “เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เราเรียกสำนักระบายน้ำเข้ามาพูดคุยหลายเรื่องมาก โดยเฉพาะการป้องกันน้ำท่วม ผมบอกว่าหลายเขตต้องการเครื่องสูบน้ำ จึงสอบถามข้อมูลว่ามีอยู่ในมือเท่าไหร่ มีอยู่เหยียบ 1,000 เครื่อง ทั้งที่เป็นเครื่องสูบแบบเครื่องยนต์ และไฟฟ้า แต่ท่านประธานทราบหรือไม่ ทุกเครื่องไม่ได้ใช้การได้ และผมถามสำนักระบายน้ำว่า ตอนนี้ท่านมีเครื่องสำรองหรือไม่ หากว่าจุดไหนมีน้ำท่วม สำนักระบายน้ำตอบอย่างภาคภูมิใจ บอก […]

“ชัชชาติ” แย้มคุณสมบัติรองผู้ว่าฯ จ่อหารือ “สมศักดิ์” ปมหนุนนักโทษลอกท่อ

ชัชชาติ พร้อมเปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เพิ่มพื้นที่สาธารณะ ขอบคุณสมศักดิ์ ดันนักโทษช่วยลอกท่อ แย้มคุณสมบัติรองผู้ว่าฯต้องรู้ลึกรู้จริง ซื่อสัตย์โปร่งใส เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เวลา 06.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่า กทม.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่สวนบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะของ กทม. เชื่อมต่อพื้นที่ระหว่าง.อยเพชรเกษม4 กับซอยจรัญสนิทวงศ์2 โดยมีนายวิรัช คงคาเขตร ว่าที่ สก. เขตบางกอกใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์ มาร่วมสำรวจพื้นที่ด้วย นายชัชชาติ กล่าวว่า สวนบางกอกใหญ่ กทม.เช่าพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีขนาดทั้งสิ้น 2.5 ไร่ สวนนี้ตรงกับนโยบาย เป็นสวนที่ต้องอยู่ใกล้บ้านคน ตามแนวคิดกรุงเทพ 15 นาที และอยากให้มีพื้นที่แบบนี้กระจายทั่วกรุงเทพฯ ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก แต่เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่า อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจทำไม่ได้ครบทุก 50 เขตภายใน 4 ปี แต่หากเพิ่มพื้นที่สีเขียวในลานกีฬาก็อาจจะครบตามแผนได้ พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งของราชการและเอกชน ซึ่งจะต้องมีการพูดคุย […]

ชาวเน็ตแชร์คลิป วีลแชร์ต้องเสี่ยงลงถนนหลบป้ายหาเสียง

ฤดูกาลเลือกตั้ง ป้ายหาเสียงเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งมานาน ซึ่งป้ายหาเสียงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างการกีดขวางเส้นทางเดินเท้า และบดบังวิสัยทัศน์ ทั้งคนและรถอยู่ไม่น้อย จนมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ล่าสุด ชาวทวิตเตอร์ได้แชร์คลิปที่ทำให้เห็นว่า ป้ายการหาเสียงที่ติดอย่างไม่ระมัดระวังนั้นสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างมาก โดยคลิปดังกล่าวเกิดขึ้นริมทางเท้าแห่งหนึ่ง ซึ่งมีผู้เข็นรถเข็นวีลแชร์มา แต่ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะป้ายหาเสียงบังทางเดินจนเกือบมิด แม้แต่เดินธรรมดายังยาก จนทำให้ต้องยกรถเข็นลงจากทางเท้า ไปบนถนนซึ่งมีรถวิ่งผ่านไปผ่านมา สร้างความอันตรายให้กับคนเดินเท้าไปอีก จึงมีการเรียกร้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งใส่ใจในเรื่องดังกล่าวให้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามชาวเน็ตซึ่งได้ชมคลิปได้แสดงความเห็นว่า ป้ายหาเสียงอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แต่จะเห็นได้ว่าทางเดินนั้นแคบจนวีลแชร์เองก็แทบผ่านไม่ได้ และยังมีเสาไฟบังทาง ซึ่งเกิดจากโครงสร้างของถนนที่ไม่ได้คิดเผื่อคนทุกกลุ่มให้ใช้ร่วมกันได้ ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้ยอมรับ ปัญหาป้ายหาเสียงที่ไปกีดขวางทางเท้า ทำให้รถที่สัญจรไปมามองทางลำบาก ได้สั่งแก้ไขไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด เพราะปัญหามาจากการจ้างผู้รับจ้างไปติดป้าย แล้วเกิดติดตั้งในจุดที่ไม่เหมาะสม ยืนยันว่าไม่อยากให้เกิดปัญหาและผลกระทบกับประชาชนในการเดินทาง หากเห็นจุดใดที่เป็นปัญหาให้แจ้งมาได้ พีคสัส #ผู้ว่าอัศวิน #เมษาหน้าหนาว pic.twitter.com/qIVRqJJ0e4 — Pro-freedom .lll. #StandwithUkriane ☮️ (@Bazophil) April 3, 2022   ข่าวจาก : ข่าวสด

ส่องเลือกตั้งกทม. ผู้สมัครแต่ละเขต ใช้เงินหาเสียงได้เท่าไร

เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. 2565 ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. – สมาชิกสภากทม. ทั้ง 50 เขต กกต.กำหนดให้แต่ละเขตใช้จ่ายหาเสียงได้เท่ากันหรือไม่ แต่ละเขตใช้จ่ายได้เท่าไร ที่นี่มีคำตอบ บรรยากาศการเมืองไทยคึกคักขึ้นมา หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. เป็นวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 นี้ น่าสนใจว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และผู้สมัครเป็นสมาชิกสภา กทม. สามารถใช้จ่ายหาเสียงในการเลือกตั้งกันได้เท่าไร จากข้อมูล ประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิก สภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ระบุว่า เมื่อประกาศให้มีการเลือกตั้งการคำนวณค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้ง โดยผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. กำหนดให้ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 49 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขตนั้นจะแตกต่างกัน กำหนดค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 820,000 – […]

error: