“อธิบดีกรมราชทัณฑ์” เผย จ่อออกใบบริสุทธิ์ ให้”ทักษิณ” เมื่อพ้นโทษ ส.ค.นี้

Advertisement 15 ก.ค. นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผย กรณีการสำรวจคุณสมบัติผู้ต้องขังที่มีเกณฑ์อาจได้รับการพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวานที่ผ่านมา (14 ก.ค.) ว่า กรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้มอบหมายให้เรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศสำรวจรายชื่อผู้ต้องขัง โดยกรมราชทัณฑ์จะเริ่มดำเนินการได้ต่อเมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาแล้ว ถึงไปดูว่า ผู้ต้องขังรายใดมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ Advertisement ที่สำคัญกรมราชทัณฑ์ไม่สามารถดำเนินการก่อนได้ เพราะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ และไม่สามารถทราบได้ว่า จะมีประกาศกฤษฎีกาในช่วงเวลาใด ส่วนรายละเอียดการจัดทำกฤษฎีกาเป็นส่วนรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งถ้าจัดทำเสร็จสิ้นเมื่อใด กรมราชทัณฑ์จึงจะนำรายละเอียดไปดำเนินการต่อ Advertisement นายสหการณ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างการพักโทษและถูกคุมความประพฤติระยะเวลา 6 เดือนนั้น จะครบกำหนดพักโทษในเดือน ส.ค.นี้ เมื่อครบกำหนดพักการลงโทษแล้ว กรมราชทัณฑ์จะดำเนินการออกใบบริสุทธิ์ให้ โดยกรมคุมประพฤติจะเป็นหน่วยงานรับเอกสารดังกล่าว เพื่อประสานกับผู้ถูกคุมประพฤติ เมื่อนายทักษิณครบกำหนดพักโทษจะได้รับการปล่อยตัวจากสถานที่ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน หรือเรียกว่าเป็นผู้พ้นโทษ ได้รับการปล่อยตัวตามกฎหมายได้ ไม่ต้องมาที่ราชทัณฑ์อีก.   ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

ราชกิจจาฯ ประกาศใช้แล้ว กำหนดจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ เริ่ม 1 ม.ค. 67

19 ธันวาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ.2566 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2566” […]

ราชกิจจาฯประกาศค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายบอร์ด กสทช. ประธานได้3.6แสน กรรมการได้2.9แสน

2 มิถุนายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 26 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญชีค่าตอบแทนของประธานกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 361,167 บาท/เดือน บัญชีค่าตอบแทนของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  289,167 บาท/เดือน พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป อ่านรายละเอียด ฉบับเต็ม

โปรดเกล้าฯ ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอน “คริปโทเคอร์เรนซี-เงินดิจิทัล”

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอน ‘คริปโทเคอร์เรนซี-เงินดิจิทัล’ วันที่ 24 พ.ค.2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๗๔๔) พ.ศ. ๒๕๑๕” มาตรา […]

ราชกิจจาฯเผยแพร่ ประกาศพ.ร.ฎ. อัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี2565

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปีภาษี 2565 วันที่ 13 ธ.ค.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔ ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๗ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔” มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ใช้อัตราภาษีตามประเภทการใช้ประโยชน์หรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สำหรับ การจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป (๑) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม (ก) มูลค่าของฐานภาษีไม่เกินเจ็ดสิบห้าล้านบาท ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละศูนย์จุดศูนย์หนึ่ง (ข) […]

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 1 พ.ย. นี้

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 1 พ.ย. นี้ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ.2564 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ประกาศ พ.ร.ฎ.เลื่อนใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไปอีก 1 ปี

พระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564 ขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกไปอีก 1 ปี ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ในส่วนที่กำหนดระยะเวลาใช้บังคับ ทำให้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 อย่างไรก็ตามในพระราชกฤษฎีกา ระบุถึงเหตุผลเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง ทำให้หลายภาคส่วนยังไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคค พ.ศ.2562  

error: