โยนหินถามทาง “ปรับ VAT 15%” รีดภาษีประชาชน ทางตันรัฐบาล

Advertisement ล่าสุดนายพิชัยออกมาแก้เกี้ยวว่า ยังอยู่แค่ขั้นตอนการศึกษาเท่านั้น เนื่องจากหลายประเทศมีการปรับขึ้นภาษี ขณะที่ไทยยังคงใช้ฐานการเก็บภาษีอยู่ที่ 7% แม้ที่ผ่านมา ครม.เคยมีมติปรับขึ้นจาก 7% เป็น 10% ยังต้องขอกลับมติมาใช้ 7% เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช่จ่ายของประชาชน จึงต้องศึกษาข้อดี-ข้อเสียก่อน Advertisement การโยนหินถามทาง แทบหาทางกลับบ้านไม่ถูก ในภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ คนตกงานจำนวนไม่น้อย หลังบริษัทเลิกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย ไม่เพียงส่งผลสะเทือนต่อนโบายของรัฐบาลเท่านั้น แต่ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีก็ไม่พร้อมจะรับเผือกร้อนไว้ในมือ โดยโบ้ยว่า ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีคลังพิจารณา ข้อมูลจากสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า ไทย เริ่มมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 ตามกฎหมายที่ออกไว้ครั้งแรก การจัดเก็บภาษีของไทย คือ 10% ไม่ใช่ 7% แบบที่จ่ายทุกวันนี้ โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% แบ่งออกเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจริง 9% ภาษีท้องถิ่น 1% ส่วนเหตุผลที่เก็บเพียง 7% จากตั้งไว้ที่ 10% เนื่องจากมีการออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีเพื่อภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจริง ลดจาก 9% […]

เคาะแล้ว ! เก็บภาษี VAT สินค้าออนไลน์นำเข้าไม่เกิน 1,500 บาท เริ่ม 5 ก.ค.

(30 มิ.ย.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาสินค้ามีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาทได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% แต่ล่าสุดราชกิจจานุเบกษา ประกาศตามมติ ครม.ให้มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าไม่เกิน 1,500 บาท มีผลวันที่ 5 ก.ค.-31 ธ.ค.2567 นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร คาดว่าระยะเวลา 4-5 เดือนหลังจากนี้ จะสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ราว 700 ล้านบาท ส่วนความกังวลของประชาชนหากเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นั้นจะส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าแพงขึ้นหรือไม่ นายพันธ์ทอง มองว่า ราคาสินค้าอาจจะเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ซื้อก็ยอมจ่ายเพราะเป็นสินค้าที่ต้องการซื้อจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องดูแลให้การค้าเป็นธรรม ด้านนายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ โฆษกกรมสรรพากร ระบุว่า การปรับปรุงแก้ไขกำหนดหลักเกณฑ์กฎหมายจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ อยู่ในขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดทำแพลตฟอร์มนำส่งข้อมูลและขั้นตอนการชำระเงิน ซึ่งอาจเทียบเคียงกับขั้นตอนการเก็บภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศได้ สำหรับกฎหมายฉบับใหม่ โฆษกกรมสรรพากร ย้ำว่าจะเร่งดำเนินการจัดการให้เร็วที่สุด โดยให้ผู้บริการขนส่งสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบการนำเข้าทั้งหมด และสามารถลดขั้นตอนการเสียภาษีให้ศุลกากร หากกฎหมายฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ การเสียภาษีจะเข้าสู่ระบบสรรพากรทันที ไม่ผ่านการเสียภาษีศุลกากร อีกทั้งจะทำให้ประเทศมีการจัดเก็บรายได้มากขึ้น   ข่าวจาก : […]

’กระทรวงการคลัง‘ สั่งเก็บ VAT สินค้านำเข้าต่ำกว่า 1,500 บาท ผ่านแพลตฟอร์ม

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (2 เม.ย.2567) ว่า กรมสรรพากรและกระทรวงการคลังจะดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้านำเข้า โดยไม่มีข้อยกเว้นสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศกำหนดกติกาการส่งสินค้าข้ามพรมแดนสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท ให้ยกเว้นการเก็บภาษีอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้า “ในขณะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าไม่เกินเดือนพ.ค.นี้จะเริ่มมีการเก็บภาษี VAT ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อสร้างบรรยากาศการค้าที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการภายในประเทศหรือต่างประเทศที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกัน” นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า กลไกดังกล่าวเป็นภารกิจที่รับมอบจากนายกฯ ให้ไปดำเนินการ โดยเน้นย้ำว่า 2 เดือนต่อจากนี้เชื่อว่าจะเกิดบรรยากาศการค้าและลงทุนที่มีมาตรฐานและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าต่ำว่า 1,500 บาท ประเมินโดยเฉลี่ยคาดว่ามีการนำเข้าราวปีละ 18,000 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ราว 100 ล้านบาท และที่สำคัญจะเป็นการสร้างความยุติธรรมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายที่จะบังคับใช้จะอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงระหว่างประเทศ สอดคล้องกับกลไกการเก็บภาษีขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ (OECD) โดยการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านแพลตฟอร์ม (Vendor Collection Model) ให้แพลตฟอร์มเป็นผู้จัดส่งภาษีให้รัฐ ซึ่งเป็นกลไกที่ทั่วโลกเริ่มบังคับใช้เพื่อรองรับการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ   ข่าวจาก : […]

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ ต่ออายุใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตรา 7% อีก 1 ปี

18 ก.ย.66 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 780) พ.ศ. 2566 โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า ‘พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 780) พ.ศ. 2566’ มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร […]

error: