คมนาคม ประเดิม ขอ “กู้เงิน” 1.5 หมื่นล้าน แค่เริ่มปีงบประมาณ ไม่กี่วัน

Advertisement “ประชุมครม”. เวลา 09.00 น. วันนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะทำหน้าที่ เป็นประธานในการประชุม หลังยุติการปฏิบัติหน้าไป38 วัน นอกจากการหารือกับ ครม.เรื่องการรับมือและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยในหลายจังหวัดที่จะต้องเตรียมการในเรื่องการให้ความช่วยเหลือ ทั้งที่อยู่อาศัย สินค้าเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากในพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังมีวาระการประชุมที่สำคัญ เตรียมการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายนและ การกู้เงิน กว่า 15,000 ล้านบาท ขงอกระทรวงกระทรวงคมนาคม Advertisement โดยในช่วงการประชุม เอเปค กระทรวงการต่างประเทศ เสนอการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันพุธที่ 16 พ.ย. ถึงศุกร์ที่ 18 พ.ย. 2565 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งเพื่อให้การอารักษาและรักษาความปลอดภัย Advertisement กระทรวงคมนาคมเสนอขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ( กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 15,200 ล้านบาท และกู้เงินระยะสั้น […]

จ่อปรับเกณฑ์ใหม่ “คนล้มละลาย” ลดข้อจำกัดการดำรงตำแหน่ง ไม่ห้ามเป็นขรก.-นั่งบอร์ดได้

หมายเหตุ – คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ เรื่อง การกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ครม.เห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมาย ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เสนอ และให้ส่วนราชการนำไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายและการตรวจพิจารณากฎหมายต่อไป ให้ส่วนราชการต่างๆ นำหลักเกณฑ์การกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งไปตรวจสอบกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ หากเห็นว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ยังมีความไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้เสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ไข หรือยกเลิกบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องนั้นต่อ ครม.เพื่อพิจารณา ให้คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ให้คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะต่อส่วนราชการในการเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์การกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่ง และในกรณีที่ส่วนราชการที่รักษาการตามกฎหมายไม่ขัดข้อง คณะกรรมการอาจเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อ ครม.แทนส่วนราชการ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการทบทวนกฎหมายล้าสมัยเพื่อศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาจัดทำความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทบทวนกฎหมายที่ล้าสมัย ในคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ได้ศึกษาผลกระทบของการกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมายแล้ว เห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายหลายฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบันยังคงนำเหตุแห่งการเป็นบุคคลล้มละลายมาเป็นข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือการประกอบอาชีพ แบ่งเป็นบทบัญญัติในการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) ห้ามดำรงตำแหน่งสำคัญ 2) ห้ามดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน 3) ห้ามรับราชการ และ 4) ห้ามประกอบอาชีพ ซึ่งคณะอนุกรรมการเห็นว่า การกำหนดข้อจำกัดไว้ในกฎหมายหลายฉบับดังกล่าวมีความลักลั่น ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และมีความล้าสมัยใน 4 ประเด็น ดังนี้ 1.เหมารวมว่าบุคคลล้มละลายไร้ความสามารถทุกคน […]

อีก20ปี คนจนหมดเกลี้ยง! รัฐบาลไฟเขียว ตั้งสำนักงานแก้จน ตามยุทธศาสตร์ชาติ!

  18 ธ.ค. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานบูรณาการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ คือคณะกรรมการนโยบาย มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการแก้ปัญหา และมีคณะกรรมการบริหาร มีรมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานต่างๆ โดยการตั้งสำนักงานและคณะกรรมการขึ้นมาครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศไทยในการต่อสู้กับปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน ที่พูดกันมานานแต่ยังทำไม่สำเร็จให้เป็นระบบ ซึ่งเป้าหมายจะต้องแก้ไขปัญหานี้ให้สำเร็จภายในระยะเวลา 20 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ “การตั้ง 2 คณะกรรมการ และ 1 สำนักงานนี้ ถือเป็นหนึ่งในแผนการปฏิรูปที่สำคัญของรัฐบาล เพราะปัญหานี้พยายามแก้มานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาความเหลื่อมล้ำก็ยังไม่ดีขึ้น แล้วการเสนอมาให้ครม.เห็นชอบครั้งนี้ ก็ไม่ได้ส่งเรื่องมาเมื่อวานแล้วเอามาเข้าครม.เลย หรือมาทำหลังจากเกิดข่าวการนำข้อมูลความเหลื่อมล้ำของเครดิตสวิสมาเมื่อเผยแพร่เมื่อไม่นานนี้แล้วค่อยเอามาเข้าครม. เพราะเรื่องนี้ได้มีการหารือกันมาตั้งแต่ตอนที่รัฐบาลพยายามำแผนการปฏิรูป ซึ่งเรื่องของความเหลื่อมล้ำด้วยการตั้งหน่วยงานขึ้นมาก็เป็นหนึ่งเรื่องในแนวทางการแก้ปัญหาที่คุยกันมานานแล้ว โดยจะรวมการทำงานของหน่วยงานที่มีเรื่องของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมาไว้ที่เดียวกัน เพราะจะได้แก้ปัญหาได้ในทิศทางเดียวกัน” นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนของไทย ที่ผ่านมาพบวมากกว่า 30 ปี ปัญหายังคงไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าจำนวนคนยากจนจะลดลง โดยในปี […]

error: