ราชกิจจานุเบกษา ประกาศลดเวลาเคอร์ฟิว พื้นที่ควบคุมสูงสุดเหลือ 23 จังหวัด

Advertisement เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 35) เพื่อผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ปรับลดจำนวนจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เหลือ 23 จังหวัด และลดเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ตั้งแต่เวลา 23.00 น.- 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ตุลาคม 2564 นี้ Advertisement ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 14 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นั้นเพื่อเป็นการปรับปรุงและผ่อนคลายความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโรคต่างๆ ที่ได้กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ด้วยที่ผ่านมา การปฏิบัติงานพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตพื้นที่การระบาดของโรคได้ ดังเช่นในหลายจังหวัดพบผู้ติดเชื้อเฉพาะในบางเขตพื้นที่เท่านั้น และผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงได้ลดจำนวนลง ในขณะที่ผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของการดำเนินการตามแผนการฉีดวัคซีน เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนต่างมีส่วนร่วมในการประสาน จัดหาและนำเข้าวัคซีนชนิดต่างๆ […]

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 1 พ.ย. นี้

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยสามัญ 1 พ.ย. นี้ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ.2564 โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ราชกิจจาฯ ออกประกาศ อุ้ม”บริษัทประกัน” สภาพคล่องต่ำอ่วมเคลมโควิด

ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศมาตรการ คปภ. เร่งช่วยเหลือด่วน “บริษัทประกันวินาศภัย” สภาพคล่องต่ำ หลังรับประกันภัยโควิด-19 ค่าสินไหมทดแทนพุ่ง หวั่นกระทบความเชื่อมั่นระบบประกันภัย วันที่ 12 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทนโควิด-19 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด พ.ศ.2564 เนื่องจากเหตุการณ์แพร่ระบาดโควิดในปัจจุบันมีความรุนแรงทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้บริษัทประกันจำนวนหนึ่งต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนมากกว่าที่คาดการณ์ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพคล่องที่อาจะเกิดขึ้นกับบริษัทประกัน รวมทั้งให้บริษัทประกันได้มีระยะเวลาในการจัดการค่าสินไหมทดแทนและแก้ไขฐานะการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชน และกระทบต่อความเชื่อมั่นของระบบประกันภัย จึงอาศัยอำนาจกฎหมายของพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ประกอบกับมติที่ประชุม คณะกรรมการ คปภ. เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2564 ออกประกาศไว้ดังนี้ 1.การยกเว้นคำนวณเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย จากการรับประกันภัยการเจ็บป่วยหรือภาวะโคม่าอันเกิดจากโรคโควิด-19 สำหรับความเสี่ยงจากการสำรองค่าสินไหมทดแทนและความเสี่ยงจากสำรองเบี้ยประกันภัย 2.การนับเงินกู้ยืมมาเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ แต่จะแยกเป็นเงินกู้ยืมลักษณะดังนี้ – เจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมเต็มจำนวน แต่กรณีบริษัทเลิกกิจการ เจ้าหนี้ผู้ให้บริษัทกู้ยืมเงินจะได้รับชำระเงินในลำดับหลังจากเจ้าหนี้ ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และเจ้าหนี้สามัญอื่นของบริษัทนั้น […]

“ราชกิจจาฯ”ออกประกาศปปง.ให้ผู้เสียหายคดี”เสี่ยอู้ด”เซียนพระดัง

“ราชกิจจาฯ” ออกประกาศ ปปง.ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทำความผิดมูลฐาน คดี “เสี่ยอู้ด” เซียนพระชื่อดัง ที่เสียชีวิตไปแล้ว ภายใน 30 วัน เมื่อวันที่ ๗ ต.ค.ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ปปง. เรื่อง ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการ กระทำความผิดมูลฐาน ระบุว่า ด้วย คณะกรรมการธุรกรรมได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) ราย “นายสิทธิกร บุญฉิม” กับพวก จำนวน ๗ รายการ พร้อมดอกผล มีกำหนดไม่เกิน ๙๐ วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการ ธุรกรรมมีมติปรากฏตามคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. ๑๗๒/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ ของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน […]

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพันโทหญิง คุณหญิงฐานิดา สิริวชิรภักดิ์ พร้อมอีก 40 นาย

โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพันโทหญิง คุณหญิงฐานิดา สิริวชิรภักดิ์ พร้อมอีก 40 นาย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระราชทานยศข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร โดยมีเนื้อหาดังนี้

ราชกิจจาฯ ประกาศระเบียบใหม่ การขอพระราชทานเครื่องราชฯ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชฯ พ.ศ.2564 ระบุ จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม วันที่ 7 ต.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2564 โดยมีสาระสำคัญ เช่น ข้อ 12 บุคคลที่พึงได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ 1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย 2.เป็นผู้ประพฤติดี และปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง 3.เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้ 4.เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชโองการหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทานคืนในภายหลัง 5.เป็นผู้ไม่เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในระหว่างถูกกล่าวหาว่า (ก) กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรืออยู่ระหว่างพิจารณาโทษทางวินัย หรืออยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย (ข) กระทำความผิดทางอาญาและอยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาในศาล หรือได้มีคำพิพากษาแล้วแต่คดียังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่พนักงานอัยการรับแก้ต่างคดีนั้น หรือเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลทุโทษ หรือความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว (ค) กระทำความผิดและอยู่ระหว่างการไต่สวนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรืออยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ ที่ปรากฏตามบัญชีแนบท้ายในระเบียบนี้มีทั้งสิ้น 32 บัญชี เช่น การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่รัฐมนตรี, […]

ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว คลายล็อกฟื้นธุรกิจ-ขยายเวลาเคอร์ฟิว

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศข้อกำหนด คลายล็อกมาตรการเพิ่มเติม ฟื้นภาคธุรกิจระยะยาว พร้อมขยายเคอร์ฟิว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 วันที่ 30 ก.ย.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 34) ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น โดยที่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มของสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่จำนวนผู้ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลดังกล่าวมาจากการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการและประสานความร่วมมือของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนเพื่อการระดมสรรพกำลังในการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งการบริการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามแผน การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก การกระจายชุดตรวจเพื่อการตรวจหาเชื้อด้วยตนเองและการดำเนินการและกำกับดูแลเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาวตามที่ได้ประกาศไว้แล้ว เช่น มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 แนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัยมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล หรือมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร ฝ่ายสาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้รายงานผลการประเมินสถานการณ์ว่า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนค่อนข้างมีประสบการณ์และความพร้อม ประกอบกับหน่วยงานและบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีศักยภาพ ความชำนาญ และมีประสิทธิภาพครอบคลุมการตรวจคัดกรองและการดูแลรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย และมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์หากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จึงสามารถปรับมาตรการโดยผ่อนคลายความเข้มงวดบางกรณีให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดมาตรการควบคุมเท่าที่จำเป็นตามระดับพื้นที่ของสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ยังจำเป็นต้องติดตามกำกับดูแลทั้งบุคคล สถานที่ การดำเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ […]

ประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ใหม่แล้ว มีผล 1 ต.ค.นี้ คลังย้ำห่วงสุขภาพ-ไม่เน้นรายได้

ประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ใหม่แล้ว มีผล 1 ต.ค.นี้ การจัดเก็บตามตามปริมาณจาก 1.20 บาทต่อมวน เป็น 1.25 บาทต่อมวน คลังย้ำห่วงสุขภาพ-ไม่เน้นรายได้ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.64 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศกฎกระทรวง กำหนดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2564 ปรับขึ้นอัตราภาษีบุหรี่ ดังต่อไปนี้ การจัดเก็บตามตามปริมาณจาก 1.20 บาทต่อมวน เป็น 1.25 บาทต่อมวน สำหรับการเก็บภาษีตามมูลค่ายังเป็น 2 อัตรา จากที่เก็บ 20 % ของราคาขายปลีกซองละไม่เกิน 60 บาท และ 40% สำหรับราคาขายปลีกที่เกิน 60 บาท เป็น 25% ของราคาขายปลีกซองละไม่เกิน 72 บาท และ 42% สำหรับราคาขายปลีกที่เกิน 72 บาท นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง […]

ราชกิจจาฯ ประกาศ ประยุทธ์ คืนอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับ

ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศ 3 ฉบับรวด ขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯคืนอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับให้รัฐมนตรี และประกาศคลายล็อกกิจการ กิจกรรม ปรับเวลาเคอร์ฟิวเป็น 4 ทุ่มถึง ตึ 4 มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2564 นี้ วันที่ 29 กันยายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 14 ) มีใจความว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในห้วงเวลาที่ผ่านมา แม้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ การฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ตามเป้าหมายและมีการกระจาย ยารักษาโรคได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทว่ายังต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด -19 อย่างต่อเนื่อง จึงขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วประเทศต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป คลิกอ่านประกาศฉบับเต็มที่ ขณะเดียวกันราชกิจจานุเบกษาอีกฉบับได้ เผยแพร่ประกาศ เรื่อง ยกเลิกการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี […]

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% มีผลบังคับใช้แล้ว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ปรับกรอบการบริหาร หนี้สาธารณะ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละ 70 (จากเดิมไม่เกินร้อยละ 60) มีผลบังคับใช้แล้ว วันที่ 28 กันยายน 2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (4) ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และมติคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน2564 จึงยกเลิกความใน (1)ของประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2561 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “(1) สัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบ” ทั้งนี้ […]

1 13 14 15 44
error: