ศบค.เตรียมเคาะ ข้อเสนอ ล็อกดาวน์ กทม. 100% ปิดทุกกิจกรรม

Advertisement ศบค.เตรียมเคาะ ข้อเสนอ ล็อกดาวน์ กทม. 100% ปิดทุกกิจกรรม เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุม ศปก.ศบค. เพื่อเร่งบริหารสถานการณ์โควิด-19 มีข้อเสนอแนะในที่ประชุม ถึงมาตรการลดการเคลื่อนที่ให้มากขึ้น และมีการเสนอให้ปิดกิจกรรม กิจการทุกอย่างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยกเว้นการขนส่งสินค้า อาหาร ยา วัคซีน สื่อสาร และสาธารณูปโภค กรณีสถานประกอบการให้ทำระบบ Seal Route ในการทำงานหรือให้พักในสถานประกอบการ โดยจะต้องมีการขออนุญาตและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Advertisement โดยในข้อเสนอแนะนำว่า รัฐควรมีการจัดการที่ชัดเจนทั้งมาตรการตรวจหาเชื้อ รักษา และระบบสนับสนุนให้ดำรงชีพได้ นอกจากนี้ ยังเน้นเรื่องการควบคุมงดการเดินทางข้ามจังหวัดอย่างเคร่งครัด เฝ้าระวังการเดินทางข้ามประเทศทางชายแดนและผู้เดินทางมาจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด Advertisement การบริหารจัดการระบบทีมเคลื่อนที่เร็วแบบเบ็ดเสร็จ (Covid-19 Comprehensive Response Team: CCRT) มาตรการแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) มาตรการแยกกักในชุมชน (Community Isolation) และบริหารจัดการโรงพยาบาล ลดความซ้ำซ้อนและสามารถทำการดูแลรักษาได้อย่างครอบคลุมจํานวนผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงให้มากที่สุด ส่วนมาตรการด้านการฉีดวัคซีนโควิด-19 เร่งรัดให้มีการฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง […]

“หมอนิธิพัฒน์” เสนอล็อกดาวน์ กทม.7วัน หลังยอดติดเชื้อพุ่งไม่หยุด

‘หมอนิธิพัฒน์’ เสนอล็อกดาวน์ กทม. อย่างน้อย 7 วัน คุมโควิด หลังยอดติดเชื้อพุ่งไม่หยุด วันที่ 23 มิถุนายน รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กเสนอให้ล็อกดาวน์ กทม. 7 วัน เพื่อควบคุมและจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยระบุว่า “ดูเหมือนเราจะจนตรอกมีทางเลือกไม่มากแล้ว ลองพิจารณาสถานการณ์โควิดในกทม.ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนี้ 1. ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันไม่ลดลงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปเกินสี่หลัก 2. อัตราการตรวจพบเชื้อรายใหม่ในการตรวจเชิงรับ คือ ตรวจผู้ที่เข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งรัฐและเอกชน สูงกว่า 10% ทั้งๆ ที่แต่ละโรงพยายามตรวจให้น้อยเพราะไม่มีเตียงรับผู้ป่วยถ้าผลเป็นบวก 3. มีสัดส่วนผู้ป่วยเด็กมากขึ้นกว่าระลอกก่อนๆ แสดงว่าโรคระบาดซึมลึกเข้าไปในครอบครัวและชุมชน โชคดีว่ากลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง แต่สร้างปัญหาการจัดเตรียมเตียงดูแลทั้งในรพ.หลักและรพ.สนามสำหรับเด็กอายุน้อย 4. มีสัดส่วนผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรังเสี่ยงมากขึ้น แสดงว่าโรคระบาดซึมลึกเข้าไปในครอบครัวและชุมชนอีกเช่นกัน ทำให้การใช้เตียงในรพ.หลักติดขัด จำนวนเตียงระดับ 2 และ 3 ที่ขยายศักยภาพมาหลายรอบเหลือไม่ถึง 5% ตัวเลขผู้ป่วยอาการรุนแรง ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิต […]

error: