ศาล รธน.มติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง “วัฒนา” ปมทุจริตคลองด่าน

Advertisement 30 ตุลาคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณี นายวัฒนา อัศวเหม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กล่าวอ้างว่าการกระทำขององค์คณะผู้พิพากษาศาลแขวงดุสิตในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 654/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 3501/2552 และการกระทำขององค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญา คำพิพากษาที่ 8068/2560 ในคดีเกี่ยวกับการทุจริตก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 28 วรรคสามและมาตรา 188 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 391 (5) และมาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือไม่ Advertisement ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า การกระทำขององค์คณะผู้พิพากษาศาลแขวงดุสิตและองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 28 วรรคสาม และมาตรา 188 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 […]

ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่รับคำร้อง ทักษิณ ครอบงำ

22 ตุลาคม สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่เอกสารข่าวการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชาให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ […]

ด่วน! นายทะเบียนชี้คดียุบ “เพื่อไทย” มีมูล ปม“ทักษิณ”ครอบงำ

วันนี้ (18 ต.ค.67) มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต.พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากเหตุ นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองยินยอมให้ นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่า คำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนและมีความเห็นเสนอ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่สามารถขอขยายได้อีกครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะแล้วเสร็จ กรณีดังกล่าวมีผู้ร้องที่ถูกระบุว่า เป็นบุคคลนิรนาม น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบชาว 2006 เป็นผู้ยื่นคำร้อง อ้างถึงพฤติการณ์ของ นายทักษิณ ทั้งการที่แกนนำ […]

ที่ประชุมตุลาการชี้ “ไม่เสื่อมเสีย” ปม “อุดม” พูดติดตลกยุบพรรคก้าวไกล

วันนี้ (11ต.ค.67) เว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎรได้เผยแพร่เอกสารประกอบการประชุมสำหรับวาระในวันที่ 17ต.ค.67 ในหัวข้อ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม วาระที่ 2.2 รับทราบเรื่อง ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรในญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเกี่ยวกับการแสดงออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตุลาการบนเวทีสาธารณะ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชน จนนำไปสู่การตั้งคำถามต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพื่อส่งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับเอกสารประกอบดังกล่าวเป็นหนังสือราชการ ออกโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 4 ตุลาคม ส่งถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างถึงหนังสือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด่วนที่สุด ที่ สผ 0014/8412 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2567 มีรายละเอียดระบุว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรส่งสรุปประเด็นและข้อเสนอแนะการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในญัตติด่วนด้วยวาจาเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเกี่ยวกับการแสดงออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตุลาการบนเวทีสาธารณะ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชน จนนำไปสู่การตั้งคำถามต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญรับทราบ หากศาลรัฐธรรมนูญได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะประการได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วยนั้น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอเรียนว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นของ อุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายพรรคการเมืองในการสัมมนาทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ มิได้เป็นการแสดงความคิดเห็นอันมีลักษณะเป็นการเสียดสีหรือประชดประชันพรรคการเมืองใด ที่จะส่งผลต่อความเป็นอิสระ เป็นกลาง และปราศจากอคติ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาวินิจฉัยคดี ไม่กระทบกระเทือน หรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ     สำหรับกรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากมีการเผยแพร่เนื้อหาในคลิปวิดีโอ […]

“นิพิฏฐ์” ประชาธิปัตย์ ปกป้อง “ตุลาการศาล รธน.” มีอารมณ์ขันบ้าง

22 สิงหาคม 2567 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง หลายสมัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีเสียงวิจารณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังพูดติดตลก ระหว่างการสัมมนาทางวิชาการถึงคดียุบพรรคก้าวไกล ตอนหนึ่งว่า พรรคประชาชนต้องขอบคุณตนเองที่ยุบพรรค ทำให้ได้เงินบริจาคถึง 20 ล้าน โดยระบุว่า หัดมีอารมณ์ขัน แล้ว “ยักไหล่” การพูดในวงสัมมนาของ ท่านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ “อุดม สิทธิวิรัชธรรม” จะเหมาะสมหรือไม่ ผมไม่วิจารณ์ แต่อ่านประวัติของท่านแล้ว ไม่เบาทีเดียว ที่ผมอยากจะกล่าว คือ ตุลาการเสียงข้างมาก ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักมาก ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง มิใช่ถ้อยคำวิจารณ์ทางวิชาการ แต่เป็นการ “ก่นด่า” เลยทีเดียว นี่แหละครับ ที่เขาวางบรรทัดฐานไว้ว่า ให้มีบทลงโทษฐาน “ละเมิดอำนาจศาล” สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า “การแสดงความเห็น” หรือ การ “ด่า” ต่างกันอย่างไร ในทางอรรถคดี ชีวิตผม ถูกตั้งข้อหาละเมิดอำนาจศาลมาแล้ว 2 ครั้ง ทั้ง 2 ครั้ง ท่านอธิบดีผู้พิพากษาท่านได้เข้ามาดูสำนวนเอง […]

เปิดใจ “วิษณุ”คัมแบ็คทำเนียบฯ รับตำแหน่งที่ปรึกษา สลค.

28 พ.ค. 2567 นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดเผยกับ “เนชั่นทีวี” ถึงการพูดคุยกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันเสาร์ที่ 25 พ.ค.ที่บ้านพัก จนกระทั่งมีข่าวว่า นายกฯ เซ็นคำสั่งแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่า ยอมรับว่าได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักเลขาฯ ครม.จริง โดยตำแหน่งนี้เป็นการพูดคุยกับ สำนักเลขาธิการ ครม. หลังจากตนพ้นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ไว้นานแล้ว ซึ่งพอท่านนายกฯเศรษฐา ทราบข่าว ก็มาเรียนให้ตนทราบว่า จะมีการลงนามแต่งตั้งให้ เป็นที่ปรึกษาสำนักเลขาธิการ ครม. “ก่อนหน้านี้ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการ ครม. ซึ่งเขาจะมีการปรับระบบ ระเบียบของเอกสาร งาน สลค. และ ครม. มาก่อน ว่าจะให้ผมมาเป็นที่ปรึกษา“ นายวิษณุ กล่าวว่า ตำแหน่งดังกล่าว ไม่ใช่ตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง ไม่มีอัตราเงินเดือน หรือ ต้องแสดงบัญชีหนี้สินทรัพย์สินอะไร และก็ไม่เหมือนตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ แต่อย่างใด […]

กกต.มีมติส่งศาลรธน. ยุบก้าวไกล-ตัดสิทธิฯ ‘พิธา-กก.บห.’ ล้มล้างปกครอง

12 มี.ค.2567 – มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ มีมติเอกฉันท์เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคก้าวไกล แล้วตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคจากกรณีก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่าการกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ที่เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วใช้เป็นนโยบายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยก่อนที่ประชุมมีมติดังกล่าวได้มีการพิจารณาผลการศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา และความเห็นที่สำนักงานกกต.เสนอ ว่าการกระทำของพรรคก้าวไกลเข้าข่ายเป็นความผิดมาตรา92(1) ตามพระราชบัญญัติ​ประกอบ​รัฐธรรมนูญ​ (พ.ร.ป.)​ ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล เมื่อครั้งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค ประกอบด้วย 1.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล 2.นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค 3.นางสาวณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ เหรัญญิกพรรค 4. นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตรตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค 5.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคเหนือ 6.นายสมชาย ฝั่งชลจิตร กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคใต้ 7.นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคกลาง 8.นางสาวเบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคตะวันออก 9.นายอภิชาติ ศิริสุนทร […]

วิจารณ์-เสียดสี-แสดงความอาฆาตมาตร้าย ระวังโทษปรับ-จำคุก

31 มกราคม 2567 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเสียงเอกฉันท์ให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ รวมไปถึงพรรคก้าวไกล เลิกการกระทำการแสดงความคิดเห็น และการสื่อความหมายอื่นๆ อันเป็นการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และห้ามมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพราะเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ขอให้ตระหนักว่า การวิจารณ์คำวินิจฉัยโดยไม่สุจริต และใช้ถ้อยหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาตร้าย จะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดด้วยวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ มีโทษตั้งแต่การตักเตือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท รวมถึงโทษจำคุก   ข่าวจาก : แนวหน้า

ศักดิ์สยาม ยื่นลาออกเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และ สส.แล้ว

17 มกราคม 2567 นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่าได้รับหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย จากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งพรรคจะได้แจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต่อไป นอกจากนี้ได้รับแจ้งจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ว่าได้ทำหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ด้วย การลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ว่าคำพิพากษาของศาลจะไม่มีผลต่อตำแหน่งเลขาธิการพรรค และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ท่านยินดีที่จะลาออกด้วย   ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

‘ศักดิ์สยาม’ ไม่รอด ศาลรัฐธรรมนูญ ฟัน ซุกหุ้น บุรีเจริญ พ้น รัฐมนตรี

(17 ม.ค.) องค์คณะศาลรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ ลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย ในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ว่าสมาชิกภาพ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 หรือไม่ จากกรณีปม ซุกหุ้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุรีเจริญ คอนสตรัคชั่น ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้น หรือกิจการของห้างหุ้นส่วนเป็นการกระทำต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี มาตรา 4 (1) ทั้งนี้ ซึ่งบรรยากาศโดยรอบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขณะนี้ยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีกลุ่มมวลชนใดมาชุมนุม มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยรักษาความสงบเรียบร้อยตามปกติ ขณะที่การนัดอ่านคำวินิจฉัยในวันนี้ ศาลได้อำนวยสะดวกโดยเปิดช่องทางการรับฟังคำวินิจฉัยผ่านช่องทาง ยูทูบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และมีการติดตั้งจอทีวีพร้อมลำโพงไว้หน้าอาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ บริเวณเสาธง สำหรับประชาชนที่เดินทางมาร่วมรับฟังด้วย ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 1) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง […]

1 2 3
error: