เปิดคำวินิจฉัย สคบ. ไม่รับพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ บริษัทขายตรงดัง

Advertisement จากกรณีที่กำลังเป็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์ กรณีธุรกิจค้าขายออนไลน์รายหนึ่ง ที่มีผู้เข้าร่วมลงทุน เป็นลูกข่ายจำนวนมาก แต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น Advertisement ล่าสุด โลกออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ บอสเครือข่ายสินค้าออนไลน์ รับรางวัล สคบ. พร้อมเอกสารว่าได้มีผู้เคยไปร้องเรียนแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 โดย ผู้ร้องเรียนรายดังกล่าว เป็นสมาชิกระดับ Founder เข้าร่วมธุรกิจยิงแอด ราคา 89 บาท กับบริษัทดังกล่าว ภายหลังไม่สามารถขายสินค้าได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน จึงขอคืนสินค้าและขอเงินคืน 270,000 บาท ทั้งนี้ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อปี 2565 ได้นำหนังสือชี้แจงกรณีดังกล่าว ระบุว่า Advertisement สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ตรวจสอบคำร้องทุกข์และข้อมูลตามเอกสารร้องทุกข์แล้ว พบว่าได้รับผลตอบแทนจากกำไรขายปลีกตามข้อตกลงที่ได้สัญญาไว้ กรณีพิพาทจึงเป็นเรื่องระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจด้วยกัน ไม่ใช่ผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงไม่สามารถพิจารณาดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะไปใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง […]

เดือนก.ค.สคบ.จ่อออกประกาศ ซื้อของออนไลน์ แกะดูสินค้าก่อนจ่าย ขอคืนเงินภายใน5วัน

น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีประชาชนจำนวนมากได้สะท้อนความเดือดร้อนจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์หรือแอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ มายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หลายกรณี เช่น ผู้บริโภคไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีพัสดุจัดส่งไปยังที่บ้าน โดยมีการเรียกเก็บเงิน ณ ที่จัดส่งปลายทาง และกรณีที่ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าแล้วเกิดปัญหาในรูปแบบต่างๆ แต่กลับไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ หรือติดต่อได้แต่ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ผู้บริโภคเลือกชำระเงินค่าสินค้าโดยการเก็บเงินปลายทาง แต่เมื่อเกิดปัญหากลับไม่ได้รับเงินคืน เนื่องจากผู้ให้บริการขนส่งสินค้าให้เหตุผลว่า จ่ายเงินให้กับผู้ขายสินค้าไปแล้ว ทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย เพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภค ล่าสุดคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ภายใต้ สคบ. ได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ‘เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. ….’ ซึ่งจะลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา กรกฎาคมนี้ กฎหมายฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้นักช้อปออนไลน์โดยการใช้ “มาตรการส่งดี (Dee-Delivery)” ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้า ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ส่งสินค้าและผู้ประกอบธุรกิจ ชื่อ-สกุลผู้รับเงินพร้อมหมายเลขติดตามพัสดุ พร้อมกำหนดให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าถือเงินค่าสินค้าเป็นระยะเวลา 5 วันก่อนนำส่งเงินให้กับผู้ขาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสแจ้งเหตุที่ขอคืนสินค้าและขอเงินคืน นอกจากนี้ ยังให้สิทธิผู้บริโภคสามารถเปิดดูสินค้าก่อนชำระเงินได้ โดยหากพบว่ามีปัญหาตามที่กล่าวมา ผู้บริโภคสามารถปฏิเสธการชำระเงินและไม่รับสินค้าได้   ข่าวจาก : มติชน

สคบ. ออกประกาศคุมเข้ม โฆษณาสินค้า ไม่ตรงปก คำลักษณะนี้ห้ามใช้โฆษณา

5 ก.พ.2566 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การโฆษณาสินค้าเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ไม่ใช้คำอวดอ้างสรรพคุณที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ รวมถึงสาระกฎหมายมีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์สื่อที่มีหลายช่องทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์ และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ.2565 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 13 ม.ค. 66 ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ การใช้ข้อความโฆษณาไม่ว่าจะกระทำทางสื่อโฆษณาใดก็ตาม จะต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็น ฟัง หรืออ่านได้ชัดเจนตามประเภทของสื่อโฆษณา ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ถ้าข้อความโฆษณาทำเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับข้อความที่เป็นสาระสำคัญด้วยทุกครั้ง มากไปกว่านั้น ในประกาศ ยังห้ามไม่ให้มีข้อความปัดความรับผิดชอบหรือสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ อาทิ (1) สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเฉพาะเรื่องของราคาและตัวสินค้า ตัวอย่างข้อความที่อาจจะเข้าข่าย เช่น บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า, ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า, ภาพสินค้าเป็นเพียงตัวอย่างอาจไม่ตรงกับรุ่นที่จัดโปรโมชั่นหรือข้อความอย่างอื่นที่มีลักษณะในทำนองเดียวกัน (2) ข้อความเสริมบารมี เพิ่มยอดขาย เพิ่มเสน่ห์ เรียกคนรัก แก้เคราะห์ แก้กรรม (3) ข้อความที่เน้นเจาะเรื่องความเชื่อส่วนบุคคล […]

สคบ.แจงแล้ว ผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดคุก 5 ปี ปรับ 4 เท่า

1 ก.พ.66 พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในฐานะโฆษก สคบ. กล่าวถึงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับ บุหรี่ไฟฟ้า การสูบ-ครอบครอง ไม่ได้นำเข้า-ผลิต-ขาย ผิดกฎหมาย หรือไม่ โดย พ.ต.อ.ประทีป ชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ 1.กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนรวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 […]

ครม.เห็นชอบร่าง กม.ซื้อของไม่ตรงปก ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบภายใน2ปี

27 พฤศจิกายน 2565 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ”ผู้บริโภค” ประสบปัญหาการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการร้านค้า หรือ ผ่านออนไลน์ แต่กลับได้สินค้าไม่ตรงตามที่แจ้ง หรือตามประสาโซเชี่ยล ได้ของ”ไม่ตรงปก” ได้สินค้าที่ชำรุดบกพร่องบ้าง ได้สินค้าหมดอายุบ้าง แล้วจะมีข้อกฎหมายใดมาคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันดังกล่าว จึงมีมติ “อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ” ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการกำหนด “ความรับผิดของผู้ประกอบการธุรกิจ” ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงสินค้าอื่นที่อาจกำหนดตามพระราชกฤษฎีกา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม กรณีสินค้าชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้น ชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น “ผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้า” หรือกรณี “ผู้บริโภคประกอบสินค้า-ติดตั้งตามคู่มือ” ที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้ แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้า “ไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน” ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ […]

ซื้อมอเตอร์ไซค์เงินผ่อน ต้องจ่ายเงินดาวน์เพิ่ม30% สคบ.จ่อคุมไม่ให้พุ่งกว่านี้

14 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ล่าสุด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 ซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสำหรับรถยนต์ใหม่ ต้องไม่เกินอัตรา 10% ต่อปี รถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี และรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตรา 13% ต่อปี โดยที่ผ่านมากรณีรถยนต์ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากเพดานดอกเบี้ยที่ประกาศ เนื่องจากคิดไม่เกินอยู่แล้ว แต่จะมีในส่วนของรถจักรยานยนต์ที่จะมีผลกระทบ โดยก่อนหน้านี้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ “นายมงคล เพียรพิทักษ์กิจ” นายกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไทย กล่าวว่า กรณีปรับเพดานดอกเบี้ยลดลงมาจากเดิมเคยคิดเฉลี่ย 32-33% ลงมาเหลือเพียง 23% ผู้ประกอบการจะมีการทบทวนเกณฑ์และมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เช่น การเพิ่มวงเงินดาวน์เฉลี่ย 5-10% และกลุ่มที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์รายได้อาจเพิ่มเงินดาวน์มากกว่า 10% รวมถึงดูกลุ่มอาชีพเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการถูกผิดนัดชำระหนี้และหนี้เสีย ซึ่งจากเดิมผู้ประกอบการสนับสนุนคนที่มีรายได้ไม่แน่นอน ไม่มีเอกสารทางการเงินสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ เพราะมีดอกเบี้ยเป็นตัวรับความเสี่ยง แต่หลังจากนี้การปล่อยสินเชื่อกลุ่มนี้จะลำบากมากขึ้น และทำให้หลุดไปนอกระบบได้ เนื่องจากผู้ประกอบการคงต้องมีการคัดกรองลูกค้าที่เข้มข้นขึ้น “แน่นอนว่าจะทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อ (reject rate) อาจจะเพิ่มขึ้นแน่นอน” นายมงคลกล่าว […]

เปิดใจหนุ่มเจ้าของรถ ช็อกค่ายกรถตกที่จอดอัตโนมัติ 1 ล้าน ยอมรับประมาท

26 ส.ค. 65 ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นายจิรเดช อายุ 26 ปี และครอบครัว เดินทางมาติดตามกรณีรถไหลตกจากที่จอดอัตโนมัติ ก่อนนิติบุคคลคอนโดแห่งหนึ่ง ย่านสะพานควาย เรียกค่ายกรถ 1 ล้านบาท หลังเคยมายื่นเรื่องให้ตรวจสอบโครงสร้างช่องจอดอัตโนมัติ ว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ นายจิรเดช เปิดเผยว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.64 ตนขับรถมิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์ สีดำ 7 ที่นั่ง ซึ่งเพิ่งออกมาได้ 2 ปี เข้าไปจอดในช่องจอดอัตโนมัติในคอนโด โดยเข้าเกียร์ N เอาไว้ ขณะนั้นกำลังคุยธุระและมีเวลาแค่ 30 นาที จึงรีบขึ้นไปแต่งตัว จากนั้นนิติคอนโดทักมาบอกว่ารถล่วงลงมา ก่อนหน้านี้นิติคอนโดแจ้งว่า สามารถให้ช่างข้างนอกเข้ามายกรถได้ ซึ่งช่างประเมินราคาอยู่ที่ 30,000 บาท แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ให้ช่างมายกรถ ผ่านมา 8 เดือน ผ่อนรถทิ้งไปเดือนละ 14,900 บาท แต่รถยังจอดหัวทิ่มอยู่ที่เดิม และเมื่อ 2 […]

สคบ.แนะลูกค้า “ร้านญี่ปุ่นดัง” เก็บหลักฐานโอนเงิน-ชำระเครดิตติดต่อธนาคารขอคืนด่วน

สืบเนื่องจากกรณีร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดัง จำหน่าย Voucher บุฟเฟต์ปลาแซลมอน และอาหารญี่ปุ่นต่างๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นจนมีลูกค้าจำนวนมาก ก่อนที่เมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ รวมไปถึงหน้าร้านดังกล่าวได้ปิดให้บริการโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า กระทั่งวันนี้ (18 มิ.ย.) ร้านดังกล่าวก็ยังไม่เปิดให้บริการ ทั้งพบว่าบางสาขาได้มีการเก็บของในร้านแล้ว ด้านผู้บริโภคและผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้มีการรวมตัวกันเพื่อประเมินความเสียหายและเตรียมร้องเอาผิดแล้ว ทั้งนี้ ในโลกออนไลน์ยังมีการติดแฮชแท็กร้านดังกล่าว โดยมีหลายรายอ้างว่าเป็นพนักงานของร้าน เล่าว่าจู่ๆ ก็ตกงาน ทางร้านปิดไปโดยไม่แจ้ง พนักงานก็ไม่ทราบเรื่องเช่นเดียวกัน หลายรายยังบอกด้วยว่า เจ้าของหรือผู้บริหารของร้านดังกล่าวได้เดินทางไปต่างประเทศแล้ว ทั้งยังมีหนี้ค้างทั้งค่าแซลมอนและซัพพลายเออร์ เป็นตัวเลขกว่า 30 ล้านบาท ล่าสุดเมื่อเวลา 18.34 น. วันที่ 18 มิถุนายน เฟซบุ๊กเพจ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกมาแนะนำผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการซื้อคูปองล่วงหน้า ของร้านญี่ปุ่นชื่อดัง โดยไปใช้บริการแล้วร้านปิดไม่สามารถใช้บริการได้ ขอให้ผู้บริโภคเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อคูปองล่วงหน้า หลักฐานการคุยกันในแอพพ์/ แช็ต หากชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ขอให้ผู้บริโภคติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรขอเงินคืนโดยด่วน! พร้อมร้องเรียนได้ที่ https://complaint.ocpb.go.th/ https://ocpbconnect.ocpb.go.th   ข่าวจาก : มติชน

สคบ.แนะละเอียดยิบ! วิธีป้องกันถูกเจ้าของห้องเช่ารีดเงินค่าประกัน อ้างโต๊ะ-ตู้-เตียงพัง!

7 มี.ค.62 Posttoday เปิดคำแนะนำจาก “สคบ.” การปฏิบัติเมื่อเช่าหอพักที่อยู่อาศัยต้องเตรียมตัวอย่างไรไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ตู้พังถูกปรับครึ่งหมื่น ประตูเป็นรอยเปลี่ยนทั้งบาน เตียงนอนเลอะให้ยกหลังใหม่ ทั้งที่ความจริงสภาพการใช้งานยังใช้ได้และความ “เสียหาย” ไม่ได้ถึงขั้นนั้น! กลายเป็นคำพูดปากต่อปากติเตียนและความรู้สึกทุกข์ของผู้เช่าที่เกิดขึ้นหลังการโยกย้ายหอพักมากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลการร้องเรียนที่เป็นผลพวงจากเรื่องดังกล่าวมาทางกรมคุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบันอยู่ที่ 100 รายต่อเดือนเท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนของหอพักทั้งหมดที่ประกอบการ นาย พิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แนะวิธีป้องกันพร้อมสร้างความทรงจำดีๆ ซึ่งควรจะเป็นในระยะอย่างต่ำสุด 6 เดือน ของเวลาการเป็นลูกค้าและผู้ค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน ดังต่อไปนี้ รู้จักสิทธิก่อนเช่า-ป้องกันถูกลักไก่ ตามพรบ.ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย พ.ศ 2561 ข้อที่ 3 ว่าด้วยสัญญาเช่าอาคารที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้เช่าต้องมีข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน มีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจำนวนตัวอักษรไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1.รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ ผู้เช่า และทรัพย์สินที่ให้เช่า 2.ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และผู้มีอำนาจในการทำสัญญา 3.ชื่อและที่อยู่ของผู้เช่า 4.ชื่อและสถานที่ตั้งของอาคาร 5.รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของอาคาร รวมถึงทรัพย์สินและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ของอาคาร 6.กำหนดระยะเวลาเช่าอาคาร โดยระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มต้น และวัน เดือน […]

1 2
error: