ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน 2พันบาท โรงเรียนรัฐ-เอกชน รีบดูเลย

Advertisement ตรวจสอบสิทธิ เงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท โรงเรียนรัฐ-เอกชน รีบดูเลย เผย กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมโอนเงินช่วยเหลือ 31 ส.ค.นี้ จากกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองและนักเรียนนักศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประจำปีการศึกษา 1/2564 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 Advertisement โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการยืนยันตรวจสอบสิทธิการได้รับความช่วยเหลือ โดยเบื้องต้น กระทรวงศึกษาธิการ จะโอนเงินช่วยเหลือให้นักเรียนและผู้ปกครองในอัตรา 2,000 บาทต่อคน ในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ได้รับเงินเยียวยาในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการมีประมาณ 11 ล้านคน วงเงินรวมประมาณ 21,600 ล้านบาท อ่านข่าว : เปิดวิธีตรวจสอบสิทธิ ประกันสังคม ม.39-ม.40 เช็กเลย รับเงิน 5,000 บาท Advertisement ล่าสุดวันที่ 16 ส.ค.2564 เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า เผยแพร่ข้อความระบุว่า “มาแล้ว ช่องทางการตรวจสอบสิทธิ์ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 […]

สพฐ.ชี้ครูสั่ง นร.เคารพธงชาติเรียนออนไลน์ อยู่ที่มุมมองไม่มีถูกผิด

สพฐ. ชี้ปมแชตครูอุบลฯ สั่ง นร.เคารพธงชาติเรียนออนไลน์ อยู่ที่มุมมองหลากหลายมิติ อาจเป็นวิธีหนึ่งสร้างระเบียบวินัยความรับผิดชอบ ยันไม่ได้สั่งการให้มีแนวปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการเรียน อยู่ที่ความเหมาะสมของครูและโรงเรียน เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีโลกออนไลน์แชร์ข้อความแชตครูในจังหวัดอุบลราชธานี สั่งให้นักเรียนถ่ายรูปขณะยืนเคารพธงชาติหน้าโทรทัศน์ในระหว่างการเรียนออนไลน์ ว่า เรื่องนี้มีมุมมองได้หลากหลายมิติ เพราะคำสั่งของครูอาจเป็นการสร้างข้อตกลงในห้องเรียนระหว่างครูและนักเรียนในการเรียนออนไลน์ เ พื่อสร้างระเบียบวินัย หรือวีธีการหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบในการเข้าเรียนในห้องเรียนออนไลน์ตามเวลาที่ครูกำหนด ซึ่งประเด็นนี้อาจเป็นตัวชี้วัดหนึ่งระหว่างครูและนักเรียนในห้องเรียนก็ได้ แต่ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้มีข้อสั่งการให้มีแนวปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ แต่ให้อยู่ตามความเหมาะสมของครูและโรงเรียน ซึ่งก็อาจเป็นการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาให้เด็กมาสนใจเรียนออนไลน์ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวไม่มีข้อถูกหรือผิด แต่อยากมองให้อย่างหลากหลาย เพราะเป็นข้อตกลงในห้องเรียนร่วมกับผู้เรียนทุกคน แต่หากเป็นข้อสั่งการภายหลังที่ไม่ได้อยู่ในข้อตกลงร่วมกันในห้องเรียนก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมได้.   ข่าวจาก : dailynews

1 2 3 4 5
error: