แสนสิริ เปิดเกษียณอายุสมัครใจถึง 65 ปี ขานรับรัฐ แก้ปัญหาสังคมสูงวัย

Advertisement นายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แสนสิริ เตรียมพร้อมสู่ความยั่งยืนและเคียงข้างพนักงานในทุกการเปลี่ยนแปลง นำร่องด้วยนโยบายใหม่ขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี แบบสมัครใจ นับเป็นองค์กรแรกในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เดินหน้าส่งเสริมและเปิดโอกาสการเติบโตที่มั่นคงให้กับพนักงานที่ยังสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและดูแลพนักงานที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญขององค์กรในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่การเป็นบ้านที่ดีที่สุดที่จะดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนอย่างจริงจัง ยังสอดรับกับสภาพสังคมสูงวัย และตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งคาดว่าการขยายอายุเกษียณจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยได้ และที่สำคัญยังสอดคล้องกับการผลักดันของรัฐบาลในการเพิ่มจำนวนคนงานสูงอายุ เพื่อรักษาแรงงานให้เพียงพอกับจำนวนประชากรที่ลดลง รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ Advertisement Advertisement นายภูมิภักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่โครงสร้างประชากรใหม่ ด้วยอัตราผู้สูงวัยในประเทศไทยสูงถึง 20% จากจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีแนวโน้มจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2576 โดยแนวโน้มนี้กำลังเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะจะนำมาซึ่งความท้าทายและผลกระทบในหลายมิติให้กับประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการด้านสุขภาพ และปัญหาสังคม ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มปรับอายุเกษียณ อาทิ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ และเอเชีย อย่างญี่ปุ่น […]

สศช.ห่วงสถานะ “กองทุนประกันสังคม” ทรุด รายรับ-จ่าย เริ่มมีปัญหา

สถานการณ์ของ “กองทุนประกันสังคม” นับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนและลูกจ้างให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ล่าสุดดูเหมือนว่ากองทุนกำลังประสบปัญหา เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 พบว่า กองทุนฯ มีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนที่เกษียณอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต สวนทางกับแนวโน้มจำนวนแรงงานรุ่นใหม่ ที่จะมีบทบาทในการส่งเงินสมทบเข้าสู่กองทุนฯ ที่ลดลง โดยข้อมูลจากผลการศึกษางบประมาณด้านการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566) พบว่า ช่องว่างระหว่างรายรับและรายจ่ายของกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยในปี 2556 สัดส่วนรายจ่ายต่อรายรับอยู่ที่ 34.6% เพิ่มขึ้นเป็น 73.4% ในปี 2564 ถ้าพิจารณาถึงเงินรายรับและรายจ่าย ย้อนหลังไป 3 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 จะพบว่าช่องว่างเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 รายรับอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท ก่อนจะลดลงมาในปี 2563 มีรายรับอยู่ที่ 2.3 […]

error: