เปิดกฎหมายแรงงาน โดนไลน์ สั่งงาน ทั้งวัน-ทั้งคืน ทำงานวันหยุด

Advertisement งานหนัก งานมากเกินไป ทำงานจนไม่มี “เวลาส่วนตัว” … 1 ในสาเหตุ ที่หลายคน กำลังเผชิญกับ ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน (Burnout Syndrome) แนวคิด Work-Life Balance ที่ไม่เคยมีอยู่จริง ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร ก้าวหน้าขึ้น และ คนไทย ยังไม่เลิกใช้ ไลน์ (Line) ในการคุยงาน จนพนักงานไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ Advertisement ไม่อ่านไลน์ ไม่อ่านอีเมล ทิ้งข้อความเจ้านาย หรือ หัวหน้า แบบไม่ตอบกลับ ก็กลัวจะมีผลกระทบต่อ หน้าที่การงาน และ รายได้ แต่รู้หรือไม่ ตามกฎหมายแรงงาน เรามีสิทธิ์ที่จะหลีกเลี่ยง ในการตอบกลับ และ ทำงานตามคำสั่ง นอกเวลางานได้ หรือ สามารถร้องเรียนบริษัท/องค์กร นั้นๆ ได้ เมื่อสิ้นสถานะ “พนักงาน” แล้ว ที่สำคัญ หากมีไลน์เข้ามา […]

ข้าราชการโปรดทราบ!! ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแล้ว!! ผู้บังคับบัญชาสั่งงาน ทางวาจา ไลน์ โทรศัพท์ ฯลฯ ถือเป็นคำสั่งโดยชอบ!!

  ออกคําสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคําสั่งใด ? ต้องรับผิด ! นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทําภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทํา บริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดําเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสําเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอํานาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคําสั่งเป็นหนังสือหรือ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอํานาจอาจเลือก ที่จะใช้รูปแบบการออกคําสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงาน ที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจําเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กําหนด รูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคําสั่งโดยทําเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคําสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กําหนดไว้กล่าวคือ การออกคําสั่งทางปกครองอาจทําเป็น หนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้แต่ต้องมีข้อความหรือความหมาย ที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา ๓๔) และในกรณีที่คําสั่งทางปกครองเป็นคําสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับ คําสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคําสั่ง เจ้าหน้าที่ ผู้ออกคําสั่งต้องยืนยันคําสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา ๓๕) และคําสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา ๔๒ วรรคสอง) อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอํานาจได้ออกคําสั่ง มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอํานาจได้ออกคําสั่งด้วยวาจา เปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่อื่นทําหน้าที่แทน โดยไม่ได้ยกเลิกคําสั่งเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษร […]

error: