วิธีลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 เช็กขั้นตอนขอสินเชื่อสำหรับผู้ประกันตนง่าย ๆ ทำตามได้เลย

Advertisement ลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 ความคืบหน้า โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน 2567 ธอส. หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เริ่มเปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา 39 และ มาตรา 40 ลงทะเบียนใน โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน 2567 Advertisement Advertisement ลงทะเบียนสินเชื่อประกันสังคม 2567 เงื่อนไขปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านผู้ประกันตน โดยให้ผู้ประกันตนได้สิทธิในการกู้ซื้อบ้าน / ซื้อที่ดินสร้างบ้าน หรือนำไปซ่อมบ้าน ในวงเงินกู้คนละไม่เกิน 2 ล้านบาท ผู้กู้จะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในช่วง 5 ปีแรก เพียง 1.59% ต่อปี ส่วนปีที่ 6 – 8 เท่ากับ MRR – 2.00% ต่อปี และปีที่ 9 จนถึงตลอดอายุสัญญา เท่ากับ MRR – 0.50% ต่อปี หากวงเงินกู้ส่วนที่เกิน 2 […]

หนี้เสียกระทบหนัก! แบงก์เข้มกู้บ้าน 3ล้าน ต้องมีเงินเดือน5หมื่น

26 ก.ย.67 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ยอดคงค้างสินเชื่อบ้านที่ปล่อยโดยธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวไม่เกิน 1.2% เทียบกับช่วงเดียวกับปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรายปีของสินเชื่อบ้านระบบแบงก์ที่ต่ำที่สุดในรอบ 23 ปี เนื่องจากปัญหาด้านรายได้และภาระหนี้สินสูงซึ่งกระทบความสามารถในการก่อหนี้ก้อนใหญ่ของครัวเรือน โดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มจากหนี้ก้อนเล็กๆ และหนี้รถ จนทำให้โอกาสการก่อหนี้บ้านลดลง นอกจากนี้ ยังมองทิศทางตลาดสินเชื่อบ้านยังติดกับดักปัญหาหนี้ที่ดัน NPLs เพิ่มขึ้น โดยมีประเด็นติดตามสำคัญคือ 1.คุณภาพหนี้อาจเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าสัดส่วน NPLs สินเชื่อบ้านของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอาจเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 3.90% ของสินเชื่อรวม เทียบกับ 3.71% ณ สิ้นไตรมาส 2/2567 ตามสัญญาณสะท้อนปัญหาการด้อยคุณภาพของหนี้ ทั้งหนี้ Stage 2 และ NPLs ในบ้านระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ที่เริ่มขยับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 รวมไปถึงหนี้ Stage 2 ในกลุ่มบ้านระดับราคา 10-50 ล้านบาทที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยภาพดังกล่าวอาจสะท้อนปัญหาการชำระหนี้ที่น่าจะกระจายมาที่ลูกหนี้ระดับรายได้ปานกลาง และลูกหนี้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่กู้บ้านระดับราคาค่อนข้างสูงมากขึ้น ทิศทางดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนประจำไตรมาส 3/2567 จำนวน […]

แบงก์ชาติ เตรียมแก้ประกาศ “กู้ร่วม” ซื้อรถ แก้ปัญหาคนค้ำประกัน-รายได้ไม่พอ

2 กันยายน 2567 นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภายในเดือนธันวาคม 2567 ธปท.จะมีการแก้ประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์ ในเรื่องของ “การขอกู้ร่วม” ภายหลังจากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) ร่วมกับสมาคมธุรกิจเช่าซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และเจ้าหนี้เช่าซื้อ “ตอนนี้เราส่งเฮียริ่งเจ้าหนี้ ประกาศตามกฎหมายยังไม่ออก แต่เช่าซื้อภายใต้แบงก์ชาติมีแค่เช่าซื้ออันเดอร์แบงก์ที่มีตัวเลขรายงาน ธปท.มีประมาณ 65% ของตัวเลขทั้งหมด ระหว่างนี้เราแจ้งแบงก์ว่า หากจะทำก่อนก็ได้ และเราจะแก้ประกาศตาม เพื่ออยากให้เร็ว แต่เรื่องปัญหาเช่าซื้อที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อจะมาจากปัญหากู้ร่วมน้อยมาก แต่ส่วนใหญ่มาจากปัญหาราคารถมือสองมันเยอะ จึงกระทบกับตลาดรถยนต์โดยรวมทั้งมือหนึ่งและมือสอง ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แบงก์ก็เพิ่ม Underwriting กระทบทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย” นางสาวสุวรรณีกล่าวเพิ่มว่า ภาพรวมสินเชื่อรถยนต์ที่ปรับลดลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้ายื่นขอสินเชื่อน้อยลง อาจจะเป็นผลมาจากมีรถยนต์ใช้แล้ว หรือรายได้ไม่เพียงพอในการผ่อนชำระ จึงชะลอการขอสินเชื่อ ขณะเดียวกัน ธนาคารหรือผู้ประกอบเช่าซื้ออาจจะมีการปรับเพิ่มเครดิตรับความเสี่ยงลูกค้ามากขึ้น (Cut of Score) เนื่องจากโดยธรรมชาติการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ผู้ประกอบการจะเจอกับ Loss on Sale […]

สินเชื่อเงินด่วนคนดี ธ.ก.ส. กู้ได้สูงสุด 50,000 บาท ใครกู้ได้บ้าง?

29 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการสินเชื่อเงินด่วนคนดี (เพื่อสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : อสม. และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร : อสส.) จัดทำเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นกลไกสำคัญของประเทศในการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ชุมชน และที่ห่างไกลชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ลดปัญหาการพึ่งพาหนี้นอกระบบ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ เงื่อนไขสินเชื่อเงินด่วนคนดี 50,000 บาท วงเงินกู้ยืม-อัตราดอกเบี้ย – อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.67% ต่อเดือน (หรือ 8% ต่อปี) – วงเงินสูงสุด 50,000 บาท (จากเดิมไม่เกิน 20,000 บาท) ชำระงวดละ 600 บาท จำนวน 123 งวด (จากเดิมไม่เกิน 48 งวด) หลักเกณฑ์และเงื่อนไข – เป็นสมาชิก อสม. หรือ อสส. […]

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดสินเชื่อ 500 ล้าน จ่ายสมทบ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ช่วยชาวนา

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 มิถุนายน 2567 ได้เห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นํ้าปีการผลิต 2567/68 หรือ “ปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง” วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการซื้อปุ๋ย โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง งบประมาณ 29,980.17 ล้านบาท ในโครงการนี้ “กรมส่งเสริมสหกรณ์”ได้รับมอบหมายให้จัดหาสหกรณ์การเกษตร เป็นจุดกระจายปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เกษตรกรมีคำสั่งซื้อ “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงแผนงานการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในโครงการนี้ ลุยดึงสหกรณ์ช่วยกระจายปุ๋ย นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง เป็นโครงการที่กรมการข้าว เป็นผู้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยสนับสนุนปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ โดยที่ให้รัฐบาลออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ชาวนาออกอีกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยตามสูตรที่ทางกรมการข้าวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการทำนาของเกษตรกรทั้งลดต้นทุนการผลิตและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เนื่องจาก “สหกรณ์การเกษตร” มีกลุ่มอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น โกดัง ในการเก็บสินค้า เป็นต้น ซึ่งโดยปกติโกดังจะใช้เก็บข้าว แต่ตอนต้นฤดูยังไม่มีข้าว สามารถใช้เก็บปุ๋ยให้กับเกษตรกรได้ ขณะเดียวกันสหกรณ์การเกษตร […]

ธปท.ห้ามนำดอกเบี้ย-เบี้ยปรับ มาคำนวณรวมกับหนี้ที่ค้างชำระ

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2567 พบหนึ่งในข้อกำหนดเกี่ยวกับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ตามประกาศของธปท.ในเอกสารแนบ 1 พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ การกำหนดให้สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องไม่นำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ให้บริการได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุมารวมกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระเพื่อคิดดอกเบี้ย และเบี้ยปรับอีก สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยทุกประเภท รวมถึงบัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) ด้วย เนื่องจากการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นมีความซับซ้อนและอาจเป็นการซำเติมลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ รวมทั้งผู้ให้บริการต้องไม่กำหนดให้การเบิกใช้สินเชื่อทันทีที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อเป็นเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ โดยลูกค้าต้องมีสิทธิเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อดังกล่าวได้ตามความต้องการ หากผู้ให้บริการประสงค์จะมีผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องเบิกใช้สินเชื่อทันที เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีผลิตภัณฑ์ลักษณะเดียวกันที่มีทางเลือกให้ลูกค้าสามารถเลือกช่วงเวลาในการเบิกใช้สินเชื่อได้ตามความประสงค์และต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์สินเชื่อนั้นให้เป็นทางเลือกไปพร้อมกัน รวมถึงต้องให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบทางเลือกดังกล่าวได้ กรณีที่สถาบันการเงินผู้ให้บริการใช้สิทธิตามกฎหมายในการหักเงินในบัญชีเงินฝากเพื่อนำมาชำระหนี้กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ไว้ ผู้ให้บริการต้องเหลือเงินในบัญชีเงินฝากเพียงพอให้ลูกหนี้ดำรงชีพ ยกเว้นกรณีที่ผู้ให้บริการมีบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เป็นหลักประกัน หรือลูกหนี้แจ้งความประสงค์หักบัญชีอัตโนมัติเมื่อครบกำหนดชำระสินเชื่อ   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

ราชกิจจาฯ ประกาศ ’การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม’ เริ่ม 1 ม.ค.67

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) โดยเหตุผลในการออกประกาศหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับจากเดิมอยู่ที่ 76% ต่อ GDP ในปี 2555 มาอยู่ที่ 89% ต่อ GDP ในปี ๒๕๖๒ และถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่ 95% ต่อ GDP ในปี 2564 แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 91% ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและสินเชื่อที่ขยายตัวชะลอลงหลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือ แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง ธปท.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือนว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องใช้เวลาและทำอย่างครบวงจรให้เหมาะสมกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาในแต่ละช่วงของการเป็นหนี้และทำอย่างถูกหลักการคือแก้ให้ตรงจุดไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ และไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ ธปท. จึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(Responsible Lending)เพื่อยกระดับการปฏิบัติตามหนังสือเวียน เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้เป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ […]

อย่าหลงเชื่อ! ออมสินไม่ได้ปล่อยสินเชื่อผ่าน “เพจออมสิน จำกัดมหาชน” ศูนย์ต่อต้านเฟคนิวส์เผย เพจดังกล่าวแค่แอบอ้าง

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลด้านการเงินเรื่อง ธ.ออมสิน ปล่อยสินเชื่อ อนุมัติไวไม่ต้องมีคนค้ำ ผ่านเพจออมสิน จำกัดมหาชน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีผู้โพสต์โฆษณาการเงินเกี่ยวกับธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อ 30,000 บาท อนุมัติไว ไม่ต้องมีคนค้ำ ผ่านเพจออมสิน จำกัดมหาชน ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เพจเฟซบุ๊ก “ออมสิน จำกัดมหาชน” ไม่ใช่เพจของธนาคารและไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับธนาคารออมสิน ทั้งนี้ ข้อมูลที่เผยแพร่ไม่ถูกต้อง ธนาคารไม่มีการปล่อยสินเชื่ออนุมัติไว ตามที่เพจนำมาเผยแพร่แต่ประการใด ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อเพจดังกล่าวที่มีการแอบอ้างชื่อของธนาคารในการชักชวนลักษณะนี้ โดยสามารถติดตามข่าวสารจากสื่อช่องทางหลักของธนาคารได้ที่ เว็บไซต์ , แอปพลิเคชัน MyMo, Social Media ช่องทาง GSB Society และ GSB Now เท่านั้น บทสรุปของเรื่องนี้คือ : เพจเฟซบุ๊ก […]

ออมสิน ออกมาตรการช่วย ลูกหนี้เงินกู้โควิด ผ่อนไม่คิดดอก เริ่ม100บาท/เดือน

25 สิงหาคม นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่ก่อนหน้านี้ธนาคารออมสินได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้โครงการ “สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19” วงเงินรายละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินสินเชื่อรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวให้กับประชาชนที่ขาดรายได้ช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังอยู่ในระยะเพิ่งเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับค่าครองชีพมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือแก้ไขเครดิตแก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ลูกหนี้บัญชี 21) ที่มีสถานะเป็น NPL ให้กลับมามีสถานะหนี้ปกติ ธนาคารออมสินจึงออกมาตรการ “ไม่คิดดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด และนำเงินที่ชำระไปตัดเงินต้นทั้งจำนวน” โดยให้ลูกหนี้เริ่มผ่อนชำระเพียง 100 บาทต่อเดือนสำหรับงวดที่ 1-6 หลังจากนั้นงวดที่ 7-12 ผ่อนชำระ 300 บาทต่อเดือน และขยายระยะเวลาการชำระจนถึงเดือนตุลาคม 2567 จึงขอเชิญชวนลูกหนี้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ลงทะเบียนสมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือได้ที่ช่องทาง MyMo หรือ www.gsb.or.th สำหรับลูกหนี้ที่ไม่มี MyMo สามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางเว็บไซต์ธนาคาร www.gsb.or.th ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 […]

การเคหะฯ ออก3มาตรการช่วยคนอยากมีบ้าน จองเริ่ม99บาท ถึง30ก.ย.นี้

การเคหะแห่งชาติ ออก 3 มาตรการ ช่วยเหลือคนอยากมีบ้าน ถึง 30 ก.ย.นี้ โดยเปิดจองโครงการที่อยู่อาศัยราคาพิเศษ สำหรับ ผู้มีรายได้น้อยเริ่มต้นเพียง 99 บาท พร้อมมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าใหม่ ดังนี้ 1.อัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อพิเศษ (สำหรับลูกค้าที่ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ) กรณีเช่าซื้อ-คบส. โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยฯ -ปีที่ 1-4 ร้อยละ 1.50 กรณีบุคคลทั่วไป -ปีที่ 1-5 ร้อยละ 1.50 กรณีกลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือบุตรที่ซื้อบ้านในโครงการที่พ่อแม่อาศัยอยู่) กรณีเช่าซื้อ-กคช. -ปีที่ 1 ร้อยละ 4.00 กรณีบุคคลทั่วไป -ปีที่ 1-2 ร้อยละ 4.00 กรณีกลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือบุตรที่ซื้อบ้านในโครงการที่พ่อแม่อาศัยอยู่) 2.บ้านราคาพิเศษ 56 โครงการ ราคาขายตั้งแต่ 250,000 – 520,000 […]

1 2
error: