ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เผยยังไม่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพราะติดขัดระเบียบราชการ
Advertisement Advertisement
Advertisement Advertisement
วันที่ 14 มี.ค. ที่สโมสรค่ายกาวิละ มณฑลทหารบกที่ 33 จ.เชียงใหม่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ประชุมติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่า และค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ ที่สถานการณ์รุนแรงตลอดช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ที่ผลการตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI จากเว็บไซต์ Airvisaul.comระบุว่าสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกต่อเนื่องกัน 4 วันแล้ว ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร เป็นประธานประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ และการดำเนินการต่างๆ ของกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ที่ร่วมกับทุกหน่วยงานดำเนินการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างเข้มข้นต่อเนื่องตลอดช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกันได้เยี่ยมชมยุทโธปกรณ์ดับไฟป่า พร้อมให้กำลังใจกำลังพลและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน จากนั้นเดินทางด้วยรถยนต์ไปเยี่ยมชมการทำม่านน้ำที่ระดมรถบรรทุกน้ำและอุปกรณ์จากหลายหน่วยทำการฉีดพ่นละอองน้ำขึ้นไปบนอากาศรอบคูเมืองเชียงใหม่ ที่บริเวณประตูท่าแพ วนรอบไปทางประตูเชียงใหม่ และช่วงหน้าโรงพยาบาลสวนปรุง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันไฟป่าและค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ ของจังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือตอนบนนั้น ทางรัฐบาลมีความห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดกับสุขภาพประชาชนเป็นอย่างมากและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งเมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจะพบว่า สาเหตุหลักมาจากการเผาในพื้นที่ป่า ฉะนั้นการจะแก้ไขปัญหาหรือลดปัญหาได้จะต้องหาวิธีการควบคุมไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ป่าอย่างเด็ดขาด จึงจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ ส่วนการฉีดพ่นละอองน้ำนั้น อาจจะเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะไม่มาก ทั้งนี้อยากเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วน ทั้งทางกองทัพภาคที่ 3 ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด รวมไปถึงทุกอำเภอและทุกหมู่บ้านตำบล ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะการนำระบบ Single Command มาใช้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้มีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องประสานความร่วมมือการตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์ปัญหา เพื่อเป็นการป้องกันและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม […]