หมอยง เผย คนไทยติดโควิดแล้ว 60-70% ติดแบบไม่มีอาการ 35%

Advertisement 7 ธ.ค. 2565 – นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย Advertisement นพ.ยง ระบุว่า “โควิด 19 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วร้อยละ 60 ถึง 70” จากการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬา 2 โครงการ โครงการแรกเป็นการศึกษาในเด็กที่อายุ 5-6 ขวบ ในปีที่ผ่านมาโดยมีการตรวจเลือด 2 ครั้งห่างกัน 1 ปี จำนวนประมาณ 190 คน พบว่าในช่วงปีที่แล้ว หรือยุคเดลตา เด็กอายุนี้ในกทม. ติดเชื้อไปแล้วประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ (2564) แต่เมื่อมาถึงปีนี้ (2565) มาถึงเดือนนี้ พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วเพิ่มสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กทั้งหมด […]

เผยโควิดในอนาคต อาจต้องฉีดวัคซีนทุกปีเหมือนไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ หรือเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไวรัสโควิด-19 เป็น RNA ไวรัส มีการกลายพันธุ์หรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ง่ายกว่าไวรัสในกลุ่มของ DNA วัคซีนที่ใช้กันอยู่พัฒนามาตั้งแต่สายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม ไวรัสได้หลบหลีกมาไกล จึงทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดโรคลดน้อยลง แต่การกำจัดเชื้อหรือลดความรุนแรงยังคงมีอยู่ ในการป้องกันการติดเชื้อภูมิต้านทานที่ต้องการ ถ้าตรงกับสายพันธุ์ไวรัส จะป้องกันได้ดีแม้มีระดับต่ำ ผู้ที่ติดเชื้อและเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว หรือติดเชื้อแล้วฉีดวัคซีนจะมีภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูงที่เรียกว่าภูมิต้านทานแบบลูกผสม และถ้าเป็นภูมิต้านทานที่ติดเชื้อสายพันธุ์ล่าสุดในการระบาดอย่างมากในตอนนี้ ผู้ที่ติดเชื้อแล้วจึงเปรียบเสมือนได้รับวัคซีนเข็มที่ดีเยี่ยมตรงกับสายพันธุ์ที่ติดเชื้อ ถ้าติดเชื้อสายพันธุ์ล่าสุดก็จะป้องกันได้ดีในสายพันธุ์ล่าสุด ผู้ที่ติดเชื้อตั้งแต่สายพันธุ์อู่ฮั่นหรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้อีก สายพันธุ์ที่อยู่ในวัคซีน จึงมีความสำคัญ การพัฒนาวัคซีนในการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ และใช้อย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในอนาคตวัคซีนป้องกันโควิด จะคล้ายไข้หวัดใหญ่ จะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด และจะมีการฉีดในกลุ่มเสี่ยง และให้ประจำปี เหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่   ข่าวจาก : amarintv

หมอยง เผยแม้หายโควิดแล้ว 3 วัน ยังแพร่เชื้อได้ แนะกักตัวอย่างน้อยให้ครบ 10 วัน

เมื่อวันที่ 4 ก.ค.65 น.พ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟชบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่องโควิด 19 ผู้ป่วย covid 19 ควรป้องกันไม่ให้เชื้อไปติดผู้อื่นนานเท่าไหร่ มีเนื้อหาต่อไปนี้ ระยะนี้มีผู้ป่วยจำนวนมาก เวลาในการเก็บตัวของผู้ติดเชื้อโควิด 19 หรือป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้อื่น จะเป็นกี่วัน ในระยะหลังเราลดระยะลงมา จึงมีการตั้งคำถามว่า จะเอากี่วันแน่ ที่ถือว่าเป็นระยะเวลาแพร่เชื้อ จากการศึกษา เผยแพร่ถึง 2 วารสาร คือวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน JAMA และใน New England Journal of Medicine ที่เป็นวารสารชั้นนำของโลก โดยดูจากการเพาะเชื้อ ถ้าไวรัสยังมีชีวิตอยู่ก็สามารถเพาะเชื้อเจริญเติบโตขึ้นมาได้ในเซลล์เพาะเลี้ยง แสดงว่ายังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ จากการศึกษาทั้งสองวารสาร มีผลที่คล้ายกันมาก คือเชื้อจะลดลงหลัง 7 วันไปแล้ว และจะพบได้น้อยมาก ต้องหลัง 10 วันไปแล้ว โดยนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ ระยะเวลานี้ […]

‘หมอยง’ โชว์ผลงาน วัคซีนสูตรไขว้ ได้ผลเป็นที่ประจักษ์ชัด จนทั่วโลกยอมรับ

‘หมอยง’ โชว์ผลงาน วัคซีนสูตรไขว้ ได้ผลเป็นที่ประจักษ์ชัด ทั่วโลกยอมรับ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ความว่า โควิด- 19 การศึกษาสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สร้างผลงาน องค์ความรู้ใหม่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติมากกว่า 20 เรื่อง ที่อยู่บนฐานข้อมูลของ Pubmed งานที่เกี่ยวกับวัคซีน ได้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ และมีการนำไปใช้ในเชิงนโยบาย ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงของทั่วโลก โดยเฉพาะการให้วัคซีนต่างชนิดกัน หรือที่เรียกว่าสูตรไขว้ ผลที่ได้เป็นที่ยอมรับแล้วว่า ได้ผลเท่าเทียมหรือมากกว่า การให้วัคซีนชนิดเดียวกัน และมีการศึกษาวิจัยมาสนับสนุนอีกมากมาย งานวิจัยดังกล่าวขณะนี้ได้ลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ที่มีคุณค่าสูงระดับนานาชาติ 6 เรื่องและอยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารนานาชาติอีก 4 เรื่อง ผลงานล่าสุดได้เผยแพร่ในวารสาร Journal of Infectious Disease (JID) เป็นงานที่ศึกษาโดยละเอียดการให้วัคซีนเข็ม […]

“หมอยง” เผยข้อมูลการศึกษา การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดไฟเซอร์ในวัยรุ่น

‘หมอยง’ เผยข้อมูลการศึกษาในอิสราเอล การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตามหลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในวัยรุ่น จะเกิดในเข็มที่ 2 พบในด.ช.มากกว่าด.ญ. เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ เฟซบุ๊ก ‘Yong Poovorawan’ เรื่อง “วัคซีนโควิด- 19 การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังให้วัคซีน mRNA ในวัยรุ่น” ระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าวัคซีนมีความจำเป็น ในการป้องกันลดความรุนแรงของโรค covid 19 จากการศึกษาในอิสราเอล เผยแพร่ในวารสาร NEJM (26 Jan 2022) เกี่ยวกับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตามหลังการให้วัคซีน Pfizer ในวัยรุ่น อายุ 12-15 ปี จำนวนประมาณ 400,000 คน สำหรับเข็มแรก และประมาณ 320,000 สำหรับเข็มที่ 2 โดยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย […]

หมอยง ประกาศรับอาสาสมัคร คนฉีดแอสตร้า 2 เข็มแล้วมารับเข็ม 3

ศ.นพ.ยง ประกาศรับสมัครอาสา ฉีดวัคซีนกระตุ้น วัคซีนแอสตร้าเซเนกาเข็ม 3 หลังได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกามาแล้ว 2 เข็ม โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้ว ปัจจุบันสถานการณ์การฉีดวัคซีนของประเทศไทย พบว่า มีประชาชนได้รับวัคซีนครบ2 เข็มเกือบ 70% และผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มครบ 3 เดือน ได้เวลาฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทำได้ดีขึ้น ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดรับอาสาสมัคร ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนกาเข็ม 3 โดยระบุว่า ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก มีโครงการศึกษาวิจัยการกระตุ้นเข็ม3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนกา ในผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกามาแล้ว 2 เข็มและต้องการได้วัคซีนแอสตร้าเซเนกาเป็นเข็มที่ 3 อาสาสมัครต้องมีร่างกายแข็งแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ และไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน โดยจะขอตรวจภูมิต้านทานวันที่รับวัคซีน หลังรับวัคซีน 14 และ 28 วัน เพื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดต่างๆกัน IRB No. 690/64 […]

มาเร็วกว่าที่คาด! ‘หมอยง’ เปิดกราฟโอมิครอนยึดพื้นที่เดลต้า ในไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้น

‘หมอยง’ เปิดกราฟโอมิครอนยึดพื้นที่เดลต้า ชี้ระบาดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กำลังจะมาแทนที่เดลต้าเกือบทั้งหมด เมื่อวันที่ 11 ม.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” ระบุว่า โควิด-19 โอมิครอน อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะแทนที่เดลต้า โอมิครอนระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า จากการศึกษาติดตามของศูนย์เชี่ยวชาญไวรัสที่จุฬา โดยตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่กรุงเทพฯ ในระยะแรกก่อนปีใหม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างของผู้ที่ติดเชื้อในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ และวันที่ 10 ม.ค. เป็นตัวอย่างที่ตรวจในผู้ติดเชื้อที่ติดในประเทศไทยล้วนๆ ไม่ตรวจผู้เดินทางมาจากต่างประเทศแล้ว จะเห็นว่าจำนวนการตรวจพบสายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าเกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดการณ์คิดไว้ แต่เดิมคิดว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะมาแทนที่ทั้งหมดในปลายเดือนมกราคม จากข้อมูลนี้สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มจำนวนอัตราการติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้ามาก ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าที่จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า ยังใช้เวลานานกว่านี้ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจาย โดยเฉพาะการติดต่อในสายพันธุ์โอมิครอนแพร่กระจายได้เร็วมาก จึงสามารถที่จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าตามหลักวิวัฒนาการของไวรัส และในที่สุดสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยก็จะเป็นโอมิครอน   ข่าวจาก : ข่าวสด

หมอยง ชี้ ‘โอไมครอน’ มาแน่ ยึดพื้นที่แทน ‘เดลต้า’ แนะฉีดวัคซีนให้มากที่สุด

หมอยง ชี้ ‘โอไมครอน’ มาแน่ ยึดพื้นที่แทน ‘เดลต้า’ แนะฉีดวัคซีนให้มากที่สุด นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ข้อความระบุว่า โควิด 19 โอมิครอน สายพันธุ์ที่ติดต่อง่ายแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยง ภู่วรวรรณ 16 ธันวาคม 2564 จากข้อมูลที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน มีการระบาด และติดต่อกันง่ายกว่าทุกสายพันธุ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายได้ง่าย และพบเป็นสายพันธุ์หลัก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า เห็นได้จาก การกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และคงจะเข้ามาแทนที่ สายพันธุ์เดลต้าในที่สุด จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ที่มีการเผยแพร่บนฐานข้อมูลสาธารณะ GISAID ขณะนี้ มีร่วม 7,000 ตัว และส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ BA1 มีจำนวนที่เพิ่มตัวเร็วมาก สายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายได้น้อยกว่า […]

“หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น

“หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น แถมยังต้องรอองค์ความรู้เพิ่ม-วัคซีนรุ่นใหม่ “หมอยง” ขอปชช.ได้วัคซีนครบ 2-3 เข็มก่อน ส่วนเข็ม4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็น แถมยังต้องรอองค์ความรู้เพิ่ม-วัคซีนรุ่นใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “วัคซีนโควิด-19 มีคำถามถึงเข็ม 4 กันแล้ว ??” โดยมีรายละเอียดว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนก็ใหม่ การดำเนินการอะไรจำต้องอาศัย องค์ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประโยชน์สูงสุด และลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น การต่อสู้ต้องใช้เวลายาวนาน มาถึงเวลานี้ เราทราบว่าการให้วัคซีนเบื้องต้น ป้องกันได้ระดับหนึ่ง จำเป็นต้องกระตุ้นเข็ม 3 ที่ให้ภูมิต้านทานสูงและอยู่นาน ขอให้ทุกคนได้ครบ 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ก่อน เข็ม 4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็นและถึงเวลา และรอเวลาอีกหน่อย […]

‘หมอยง’ เผยโอมิครอน ระบาดเร็วกว่าเดลตา 2 เท่า ติดซ้ำได้ วัคซีนเอาไม่อยู่

‘หมอยง’ เผยโอมิครอน ระบาดเร็วกว่าเดลตา 2 เท่า ติดซ้ำได้-วัคซีนเอาไม่อยู่ ในอนาคตจะเข้ามาแทนที่เดลต้า ผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ที่เหลือมีอาการน้อย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 “โอมิครอน” คำถามที่ต้องการคำตอบ ทั่วโลกให้ความสนใจกับ covid-19 สายพันธุ์ โอมิครอน เป็นสายพันธุ์ที่พบใหม่ มีการกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ต้องการคำตอบ เร่งด่วนคือ 1.โอมิครอน ติดต่อง่ายจริงหรือไม่ ขณะนี้หลังจากพบสายพันธุ์โอมิครอน ที่แอฟริกาตอนใต้ ไวรัสนี้ได้แพร่กระจาย พบในประเทศต่างๆนอกทวีปแอฟริการวมแล้วเกือบ 50 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ Delta อย่างแน่นอน โดยมีอำนาจการแพร่กระจายโรคมากกว่าสายพันธุ์เดลตาอย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไป และในอนาคตสายพันธุ์นี้จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า 2.โอมิครอน หลบหลีกภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเดิม หรือวัคซีนได้หรือไม่ ผู้ป่วยติดเชื้อที่พบขณะนี้ มีจำนวนหนึ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม […]

1 2
error: