‘หมอยง’ เผยใช้ วัคซีนลูกผสม อาจสู้ไวรัส ‘โควิดกลายพันธุ์ โอไมโครอน’ ได้

Advertisement ‘หมอยง’ เผยใช้ วัคซีนลูกผสม อาจสู้ไวรัส ‘โควิดกลายพันธุ์ โอไมโครอน’ ได้ ชี้วัคซีนเชื้อตาย เมื่อร่วมกับวัคซีนอื่น อนุมานทำภูมิต้านทานจึงสูงขึ้นมาก วันที่ 30 พ.ย.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ความว่า โควิด-19 สายพันธุ์ Omicron Advertisement พอได้ข่าวว่าไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ไปถึง 50 ตำแหน่ง และบริเวณหนามแหลมสไปท์ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากถึง 30 ตำแหน่ง ฟังดูแล้วน่าตกใจ จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในกลุ่ม RNA ไวรัส สำคัญที่ว่าตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ทำหน้าที่อะไรมีความสำคัญแค่ไหน มากกว่าจำนวนที่เปลี่ยนแปลง ไวรัสตัวนี้มีพันธุกรรมทั้งสิ้น รวมหมดเกือบ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ถ้าเปลี่ยนแปลงไป 50 หรือ 100 ต่อ 30000 ก็มีความเป็นไปได้ เพราะผ่านมา 2 ปี […]

หมอยง ประกาศรับอาสาสมัครที่ฉีด ‘แอสตร้าฯ’ มาแล้ว 2 เข็ม ฉีดบูสเตอร์ด้วย ‘ไฟเซอร์’

หมอยง ประกาศรับอาสาสมัครที่ฉีด ‘แอสตร้าฯ’ มาแล้ว 2 เข็ม ทดสอบฉีดบูสเตอร์ด้วย ‘ไฟเซอร์’ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน รับอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน แอสตร้าเซเนกามาแล้ว 2 เข็ม เพื่อฉีดกระตุ้น วัคซีนไฟเซอร์เข็ม 3 ครึ่งโดส หรือเต็มโดส ยง ภู่วรวรรณ 24 พฤศจิกายน 2564 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก มีโครงการศึกษาวิจัยการกระตุ้นเข็ม3 หลังได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกามาแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ครึ่งโดส หรือเต็มโดส ต้องการอาสาสมัครที่มีร่างกายแข็งแรง อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ และไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนกาเข็มที่ 2 ในช่วงวันที่​ 24 พฤษภาคม […]

ไขข้อสงสัย!‘หมอยง’อธิบายทำไมบริษัทผู้ผลิต‘วัคซีน’ ไม่ขายตรงให้เอกชน

ไขข้อสงสัย!‘หมอยง’อธิบายทำไมบริษัทผู้ผลิต‘วัคซีน’ ไม่ขายตรงให้เอกชน 19 พฤศจิกายน 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้… โควิด-19 วัคซีน บริษัทผู้ผลิตจะไม่ขายโดยตรงให้ภาคเอกชน ยง ภู่วรวรรณ 19 พ.ย.2564 โควิดวัคซีน ที่ใช้อยู่ การขึ้นทะเบียนจะอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น บริษัทจะไม่ยอมขายให้ภาคเอกชนโดยตรง เพราะการเร่งการผลิต พัฒนา และใช้ในภาวะฉุกเฉิน การเกิดอาการแทรกซ้อน ทั้งระยะสั้น ระยะยาว บริษัท จะให้ทางรัฐบาลรับผิดชอบ ได้เลย ทั้งระยะสั้น ระยะยาว ถ้าขายให้เอกชน ภาคเอกชนจะรับผิดชอบได้อย่างไร จึงต้องขายให้ภาครัฐ หรือองค์กรที่เป็นตัวแทนของรัฐ ทางรัฐเองจึงต้องมีงบประมาณไว้สำหรับในการเกิดอาการข้างเคียง ให้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบถูกผิด อย่างเช่น ขณะนี้จะมีงบประมาณผ่าน สปสช. มาชดเชย ในส่วนของภาคเอกชน เช่นวัคซีน Moderna ที่ใช้อยู่ ทางภาคเอกชนจะต้องให้องค์การเภสัช เป็นตัวแทนของรัฐ ในการจัดซื้อ และทุกโดสของ วัคซีน […]

พม.ประกาศมอบรางวัลให้ ‘หมอยง-เจ๊ปอง-ครูลิลลี่-บุ๋ม ปนัดดา’ เป็นผู้เสียสละเพื่อสังคม

พม.ประกาศมอบรางวัลให้ ‘หมอยง-เจ๊ปอง-ครูลิลลี่-บุ๋ม ปนัดดา’ เป็นผู้เสียสละเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เผยแพร่เอกสารเชิญชวนสื่อมวลชนทำข่าวในพิธีมอบรางวัล “ผู้เสียสละเพื่อสังคม” ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-11.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะมาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผู้เสียสละเพื่อสังคม โดยมีผู้รับรางวัล อาทิ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ, มาดามฟิน, ท็อปนิวส์ คุณอัญชะลี ไพรีรัก, คุณปนัดดา วงษ์ผู้ดี, ครูลิลลี่ เป็นต้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรางวัลผู้เสียสละเพื่อสังคมของกระทรวง พม.นั้น เป็นการให้รางวัลเฉพาะกิจกับบุคคลหรือองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือสังคม อย่างล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2564 มีผู้ได้รับรางวัลผู้เสียสละเพื่อสังคม อาทิ พระพิศาลธรรมานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดสะพาน เขตคลองเตย กทม., ดร.ณัฐพงศ์ โมกขพันธ์ […]

หมอยง ชี้ ภูมิคุ้มกันหมู่ ใช้ไม่ได้กับโควิด-19 ภูมิต้านทานกันติดเชื้อได้ไม่สมบูรณ์

หมอยง ชี้ ภูมิคุ้มกันหมู่ ใช้ไม่ได้กับโควิด-19 ชี้ภูมิต้านทานกันติดเชื้อได้ไม่สมบูรณ์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุถึงการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในโรคโควิด-19 โดยข้อความระบุว่า โควิด 19 ความหวังภูมิคุ้มกันหมู่ herd immunity ใน โรคโควิด 19 ยง ภู่วรวรรณ 3 ตุลาคม 2564 ภูมิคุ้มกันหมู่ หมายถึง เมื่อประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อโรคติดเชื้อ จะช่วยลดการระบาด และ ปกป้องผู้ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่น โรคหัด ถ้าประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีน หรือการติดเชื้อ เป็นหัดแล้ว ประชากรส่วนน้อยได้รับประโยชน์ถูกปกป้องไปด้วย ไม่ให้เกิดการระบาดของโรค แต่ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่สามารถใช้ได้กับโรค บางโรคที่เป็นเฉพาะบุคคล เช่น บาดทะยัก ต่อให้เราฉีดวัคซีนบาดทะยักมากแค่ไหน คนที่ไม่ได้ฉีดถ้าไปโดนตะปูตำ คนอื่นที่ฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก ก็ไม่สามารถจะมาปกป้องเราได้ ความหวังให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ สำหรับโรคโควิด 19 […]

‘หมอยง’ เผยผลศึกษา อาสาสมัคร ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิขึ้นสูง แม้ติดเชื้อ แต่แทบไม่มีอาการ

‘หมอยง’ เผยผลศึกษา อาสาสมัคร ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิขึ้นสูง แม้ติดเชื้อ แต่แทบไม่มีอาการอะไร ทั้งยังไม่แพร่เชื้อให้พ่อแม่ที่สูงอายุด้วย วันที่ 30 ก.ค.64 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ให้ความรู้เรื่องโควิด ความว่า โควิด 19 วัคซีน การติดเชื้อหลังได้รับวัคซีนครบแล้ว จากการศึกษาติดตามอาสาสมัครในโครงการวิจัย ในระยะยาวหลังได้รับวัคซีน ทั้งชนิดเชื้อตายและไวรัสเวกเตอร์ในประเทศไทย เป็นจำนวนกว่า 100 รายในแต่ละกลุ่ม พบการติดเชื้อเกิดขึ้นได้ เช่น อาสาสมัครรายที่ 1 ฉีดวัคซีนไวรัส vectors (AZ) ห่างกัน 10 สัปดาห์ หลังเข็มหนึ่งจะเห็นว่าภูมิต้านทานขึ้นสูง ถึง 450 ยูนิต และเมื่อมาที่ 10 สัปดาห์ภูมิต้านทานก็ลดลงมาเหลือ 203 ยูนิต ได้ให้วัคซีนเข็มที่ 2 […]

ชาวเน็ตล่าชื่อปลด หมอยง อัดหนุนซิโนแวคเกินจริง ทั้งที่ด้อยประสิทธิภาพ

กลายเป็นประเด็นเดือดบนโลกออนไลน์ เมื่อเว็บไซต์แห่งการล่าชื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง change.org ได้ผุดแคมเปญ “ขอให้ปลด นพ​.​ยง ภู่วรวรรณออกจากตำแหน่งหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก” โดยพบว่ามีการลงชื่อไปเกือบ 6 พันครั้งแล้ว โดยแคมเปญดังกล่าวระบุว่า นพ. ยง ภู่วรวรรณ ที่เป็นตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมีความเห็นในด้านวัคซีนที่ผิดเพี้ยนไปจากบทความทางวิชาการ และหลายต่อหลายครั้งที่สนับสนุนวัคซีนที่ด้อยประสิทธิภาพอย่าง Sinovac โดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ โดยมีการ ยกตัวอย่างเช่น 1.ระยะห่างในการฉีดวัคซีน Astrazeneca ที่ตามคำแนะนำให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 12 สัปดาห์ แต่นายแพทย์ยงกลับแนะนำให้ฉีดห่างกัน 16 สัปดาห์ โดยไม่มีข้อสนับสนุนทางวิชาการ 2.ประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac เข็มที่ 3 ที่ไม่มีการศึกษาวิจัยเลย มีแต่คำพูดของประธานบริษัทผู้ผลิต Sinovac ที่กล่าวอ้างว่าอาจจะมีประสิทธิภาพดี แต่ นายแพทย์ยง กลับนำเรื่องการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 3 มาให้คำแนะนำกับประชาชน ทั้งๆที่ไม่เคยมีหลักฐานทางวิชาการมาก่อนเลย 3.นายแพทย์ยง ไม่เคยแนะนำให้ประเทศนำเข้าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาในประเทศ ทั้งๆที่ผลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนแตกต่างกันอย่างชัดเจน […]

หมอยง เผยเหตุผลรับรองวัคซีนบางตัว มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องด้วย

หมอยง เผยเหตุผลรับรองวัคซีนบางตัว มีเรื่องการเมืองเกี่ยวข้องด้วย ชี้ไทยต้องการใช้มาก เปิดเหตุไฟเซอร์ ยังไม่ขึ้นทะเบียนในไทย วันที่ 18 มิ.ย.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เรื่อง วัคซีนโควิด 19 ความว่า โควิด 19 วัคซีน เหตุผลอะไร ที่บางประเทศรับรองวัคซีนบางตัว แต่ยังไม่รับรองบางตัว เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก มีเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน วัคซีนที่องค์การอนามัยโลกรับรอง โดยมีกฎเกณฑ์ว่าต้องสามารถป้องกันลดความรุนแรงของโรคลงได้ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันนี้มีวัคซีนมากกว่า 13 ชนิดที่ผ่านระยะที่ 3 และใช้ในมนุษย์ ในภาวะฉุกเฉิน มีวัคซีนหลายตัวหรือเรียกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง ที่องค์การอนามัยโลกรับรอง เช่น Pfizer, Moderna, Johnson & Johnson, AstraZeneca, Sinovac, Sinopharm และมีอีกหลายตัวที่องค์การอนามัยโลกยังอยู่ระหว่างการพิจารณารับรอง แต่ได้มีการใช้อย่างกว้างขวางเป็นจำนวนมาก โดยมากจะผ่านการศึกษาในระยะที่ 3 แล้ว และมีการรับรอง ให้ใช้ในหลายประเทศ เหตุผลที่กล่าวว่าบางประเทศไม่รับรอง อาจจะเป็นไปได้ว่าบริษัทวัคซีนนั้นไม่ได้ไปขอขึ้นทะเบียนกับประเทศนั้นๆ […]

หมอยง ยันไทยพร้อมซื้อวัคซีน ‘โมเดอร์นา-จอห์นสันฯ’ แต่เขาไม่ขายให้

หมอยง ยันไทยพร้อมซื้อวัคซีน ‘โมเดอร์นา-จอห์นสันฯ’ แต่เขาไม่ขายให้ แย้ม ลุ้นผลศึกษาฉีดไขว้ชนิด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ทางรอดของคนไทย…ด้วยวัคซีนป้องกัน COVID-19” ผ่านเฟซบุ๊กสถานีวิทยุ มก. ถึงประสิทธิภาพชนิดของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า แต่ละชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะการทดลองทำคนละสถานที่ ความชุกประชากรความเสี่ยงไม่เหมือนกัน และทั้งหมดยังไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% เพียงแต่ป้องกันได้บ้าง สำคัญคือ ป้องกันความรุนแรงของโรค ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาใต้มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่หลบหลีกต่อวัคซีน ทำให้แอนติบอดี้จับไม่ได้ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงในทุกวัคซีน “แต่สายพันธุ์นี้ แพร่ระบาดไม่เร็ว ทั้งที่เป็นสายพันธุ์ที่เกิดก่อนอังกฤษ ดังนั้น หากแพร่ไม่เร็ว น่าจะอยู่ในการควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลกในขณะนี้คือ สายพันธุ์อังกฤษ ส่วนสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งแพร่พันธุ์เร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษก็มีโอกาสที่จะแพร่กระจายได้มากขึ้น การฉีดวัคซีนไม่ได้บังคับ ใครไม่เคยเห็นผู้ป่วยโควิด-19 ในไอซียู และเป็นปอดบวมจะไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร” “หากประเทศไทยอยู่ในขาขึ้น คงนิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องให้มีภูมิเร็วสุดทันที่ที่ได้ฉีด ไม่ต้องรีรอ […]

‘หมอยง’ เตือน ‘โควิดสายพันธุ์อินเดีย’ แพร่ง่าย ต้องคุมให้ได้โดยเร็ว

‘หมอยง’ เตือน ‘โควิดสายพันธุ์อินเดีย’ แพร่ง่าย ต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนสร้างปัญหาใหญ่ ยกงานศึกษาเชื่อวัคซีนเอาอยู่ แนะเด็กรุ่นใหม่สนใจวิทยาศาสตร์ วันที่ 22 พ.ค.64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เรื่อง โควิด 19 สายพันธุ์อินเดีย ความว่า เป็นข่าวใหญ่ที่พบสายพันธุ์อินเดียระบาดในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ที่ศูนย์ก็พบสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จากผู้เดินทางมาจากอินเดีย 8 คน ในสถานกักกัน ซึ่งจะไม่มีผลต่อการระบาดในประเทศไทย เมื่อมีการพบสายพันธุ์อินเดีย ในประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนที่จะสร้างปัญหาใหญ่โต สายพันธุ์ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอินเดีย ประกอบไปด้วยสายพันธุ์อินเดียและ เบงกอล สายพันธุ์อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ Variant of Concern (VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่ง รวมทั้งสายพันธุ์อังกฤษ เพราะมีการแพร่กระจายได้ง่ายมาก อย่างรวดเร็ว สายพันธุ์อินเดีย B.1.167 มี 3 กลุ่มย่อย คือ B.1.167.1, B.1.167.2, […]

1 2
error: