40 หอฯนานาชาติ ค้านค่าแรง 400 กังวลกระทบลงทุน ควักเพิ่ม ได้งานเท่าเดิม

Advertisement เป็นประเด็นร้อนแรงและต้องติดตาม หลังรัฐบาลเศรษฐา ประกาศเดินหน้าเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างหรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ โดยจะให้มีผลบังคับใช้ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมนี้ ได้รับเสียงเฮลั่นจากกลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) ประกาศจะสนับสนุนให้ปรับขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ Advertisement ทั้งนี้เพื่อเป็นก้าวแรกก่อนที่จะมีการปรับค่าจ้างในอัตรา 600 บาทต่อวันในปี 2570 พร้อมรับปากจะหารือกับสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านภาษี และการอัพสกิล รีสกิล ให้กลุ่มลูกจ้างโดยเร็วที่สุด ในมุมลูกจ้าง การปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มรายได้ และช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะปัจจุบันรายได้ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่พอรายจ่าย จากปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นตามราคาสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ฝ่ายคัดค้านการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.), หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 76 จังหวัด, สมาคมการค้า 95 สมาคม, สภาองค์กรนายจ้าง 16 แห่ง […]

‘เอกชน’ทั่วประเทศลั่นจุดยืน ค้านรัฐบาลขึ้นค่าแรง400บาท

การประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นอีกนโยบายหลักของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อเรียกคะแนนเสียง โดยขึ้นค่าแรงมาแล้วถึง 2 ครั้งภายหลังเข้ามานั่งเป็นรัฐบาล ดังนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นฟู ภาคเอกชนยังคงต้องเผชิญกับต้นทุนด้านต่างๆ จึงออกแสดงออกถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค.2567 หอการค้าจังหวัด 76 แห่ง และสมาคมการค้า 53 แห่ง ร่วมกันแถลงเมื่อวันที่ 7 พ.ค.2567 เพื่อคัดค้านนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงของรัฐบาล พร้อมกับยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 จึงขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศดังกล่าว การขึ้นครั้งนี้ถือว่าเกินกว่าพื้นฐานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตนจะรวบรวมความเห็นจากสมาคมการค้าส่งให้รมว.แรงงาน วันที่ 13 พ.ค.นี้ ก่อนจะประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง วันที่ 14 พ.ค. นี้ อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) […]

error: