“หอการค้าไทย” ชี้ “เงินดิจิทัล” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสูงสุด1.5ล้านล้าน คุ้มกับงบ5แสนล้าน

Advertisement (27 ส.ค. 66) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท รวม 5 แสนล้านบาท ทำได้แน่นอน และช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจ 2-3 รอบ คิดเป็น 1-1.5 ล้านล้านบาท Advertisement โดยรัฐอาจจะออกแบบการใช้ แบ่งเป็นล็อต ล็อตละ 3,000 บาท เพื่อกระจายให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นระยะเวลา และกำหนดเงื่อนไขให้ใช้ในการซื้อสินค้าไทย เพื่อให้เม็ดเงินกระจายในประเทศ และจะทำให้เงินหมุนหลายรอบ หากไม่กำหนดก็เสี่ยงจะรั่วไหลออกไปกับสินค้าต่างประเทศได้ ส่วนความเป็นห่วงเรื่องหนี้สาธารณะนั้น มองว่า ไม่น่าจะกระทบ เพราะสำนักงบประมาณ มีการวางกรอบการขาดดุลไว้ไม่เกิน 4% ซึ่งจากสถานะทางการเงินตอนนี้อาจจะขาดดุลงบ เพิ่มได้อีกเล็กน้อย ไม่สูงเกินไป โดยขณะนี้ เพดานหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 60% แต่สามารถ ขยายได้ 70% ดังนั้นไม่ต้องกู้เพิ่ม อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการพิจารณาเรื่องการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งส่วนนี้ ไม่เพียงจะทำให้ได้เงินเพิ่ม 30,000-35,000 […]

นายจ้างขอทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ขอค้านแบบอัตราเดียว600บาททั่วประเทศ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันะ 600 บาทและเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี25,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย จะเป็นภาระหนักต่อเอกชนโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรงแม้ทยอยขึ้นใน 4 ปี หรือภายในปี 2570 เป็นการปรับขึ้นสูงถึง 40-60% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณตรงถึงภาคเอกชนที่ต้องเตรียมแบกรับภาระ รวมถึงมีโอกาสสูงที่จะทำให้นักธุรกิจต่างชาติชะลอการลงทุนในไทย เพราะข้อเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ถือเป็นการกระชากค่าแรงมากไปจึงต้องกลั่นกรองให้ดี เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระหนักให้ภาคเอกชน ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นวันละ 600 บาท จะเป็นไปได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว 7-10% และเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมองเป้าหมายการทำเศรษฐกิจเติบโตให้ได้ดีก่อน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงในระดับที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ และควรเพิ่ม Productivityแรงงานควบคู่กัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรตัดสินใจรอบด้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางแต่ละจังหวัดพิจารณาปรับค่าแรงให้สอดคล้องเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ “หากขึ้นค่าแรงทันทีจะได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงหลายด้าน หากนายจ้างมีต้นทุนสูงขึ้นบางส่วนอาจรับไม่ไหว ซึ่งอาจชะลอการจ้างงานลดพนักงาน หรือธุรกิจที่ใช้แรงงานมากอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตรวมถึงนักลงทุนใหม่ที่อาจปรับแผนลงทุนประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องหารือหลายส่วนและหวังว่าจะทบทวนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่ทุกภาคส่วนยอมรับ” แนะเลื่อนขึ้นไปปีหน้าห่วงเศรษฐกิจชะลอ นายธนิต โสรัตน์ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายส่วน คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด […]

สิบล้อขึ้นค่าส่ง15%เหตุน้ำมันแพง ซอส-น้ำจิ้มสุกี้ขึ้นอีก5บาท

8 มิถุนายน นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่สูงขึ้น 7.1% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 เดือนแรกปี 2565 อยู่ที่ 5.1% และสูงกว่ากรอบประมาณการของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดไว้ที่ 5.5% สาเหตุหลักคือราคาน้ำมันสูงขึ้น เชื่อว่าราคาน้ำมันจะยังสูงต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2565 อยู่ในระดับ 110-120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เชื่อว่าหลังเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รวมทั้งจีน เริ่มคลายล็อกจากโควิด ทำให้ความต้องการใช้มากขึ้น อาจได้เห็นราคาน้ำมันดีเซลในไทยสูงแตะ 40 บาทต่อลิตรได้ “ช่วงครึ่งหลังปี 2565 ภาวะเงินเฟ้ออาจถูกกดดันจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับต้นทุนต่างๆ ที่สูงขึ้นได้ ทั้งต้นทุนด้านวัตถุดิบ และค่าขนส่ง ทำให้เงินเฟ้อในประเทศยังคงสูงต่อเนื่อง อาจเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไตรมาส 4 เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ”นายสนั่นกล่าว นายสนั่นกล่าวว่า ยังไม่สามารถสรุปว่าเราจะเจอปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกมากหรือน้อยเท่าใด สิ่งที่ไทยเจอวันนี้ คือ เงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น แต่อนาคตอันใกล้อาจเจอเงินเฟ้อจากสินค้าราคาแพงเพิ่มเติมขึ้นอีก […]

หอการค้าไทย จี้ ก.แรงงานต่ออายุ-ลดส่งเงินสมทบประกันสังคม อีก 3 เดือน

หอการค้าไทย ชงกระทรวงแรงงานต่ออายุลดการส่งเงินสมทบประกันสังคมนายจ้าง-ลูกจ้าง อีก 3 เดือนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 วันที่ 6 กันยายน 2564 นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรี ได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีมาตรการเยียวยา ดูแลประชาชนกลุ่มภาคแรงงาน ผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถกลับมาฟื้นฟูและเปิดประเทศได้โดยเร็ว นั้น หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยังได้รับข้อร้องเรียนจากสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ถึงสภาพปัญหาการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจที่ต้องพึ่งพากำลังแรงงาน ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยได้มีหนังสือข้อเสนอเป็นการเร่งด่วนไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (คุณสุชาติ ชมกลิ่น) เพื่อให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ขยายมาตรการช่วยเหลือการหักเงินสมทบประกันสังคมต่อไปอีก 3 เดือน (ระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564) หรือจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและประคองการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยคณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอด้านแรงงานเสนอต่อกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้รับข้อเสนอไว้ และล่าสุด กระทรวงแรงงาน โดยได้ออกเป็นมาตรการที่สำคัญ อาทิ 1)มาตรการเชิงรุกในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าว 2)มาตรการเร่งรัดจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตน 3)มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนและนายจ้างได้รับความช่วยเหลือในพื้นที่ 29 […]

error: