เร็วไปไหม? ถ้าอายุ24 ไม่มีเงินเก็บ ตัดสินใจทำเกษตรที่บ้าน

Advertisement อาชีพเกษตรกรถือว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่ใกล้บ้านที่สุด แต่ก็เหนื่อยที่สุด ยังไม่นับรวมว่าต้นทุนเดี๋ยวนี้ราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ปุ๋ย, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, เมล็ดพันธุ์, วัสดุในการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้กลายเป็นอาชีพที่หลายคนเลือกที่จะทำเป็นอาชีพเสริมเมื่ออาชีพหลักมีเงินมากพอแล้ว หรือไม่ก็เป็นงานไว้แก้เหงายามเกษียณ ปลูกกินแค่แปลงเล็ก ๆ ไม่ถึงกับต้องค้าขายมาก Advertisement สมาชิกพันทิป สมาชิกหมายเลข 4031671 ก็เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในอาชีพนี้ แต่ความกังวลของเธอก็คือ เธอเพิ่งจะเรียนจบ อายุ 24 ปี ไม่มีเงินเก็บ จะเป็นการเริ่มต้นที่เร็วไปหรือไม่ โดยอธิบายไว้ว่า เราอายุ24ค่ะ เรียนจบมาสักพัก อยู่ทั้งเชียงใหม่เเละกรุงเทพ ค่าครองชีพสูงค่ะสำหรับเงินเดือนเด็กจบใหม่ อยู่ได้แต่ ไม่มีเงินเก็บ เป็นลูกคนเดียวภาระครอบครัวที่บ้านก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรพ่อแม่เป็นข้าราชการเกษียณแล้ว  เเต่เราอยากกลับบ้านไปอยู่กับพ่อเเม่ค่ะ ท่านเเก่แล้ว อยากกลับไปใช้ชีวิตดูแลพ่อแม่ที่บ้าน ไม่มีความสุขกับชีวิตในเมืองเลย ไม่อินกับการเดินห้าง เดินตลาดเข้าร้าน รถติด เบื่อมากกับชีวิตในเมืองค่ะ ที่บ้านเกิดอยู่ จ.แม่ฮ่องสอน ค่อนข้างไกลจากตัวเมือง อากาศดี ธรรมชาติสมบูรณ์ ที่บ้านมีที่ดินหลายแปลง ว่างอยู่มีน้ำลำธารไว้ทำเกษตร มีญาติเข้าไปทำสวนนิดหน่อยไม่ให้รกร้าง เราเคยกลับไปใช้ชีวิต เรียนออนไลน์ ช่วงโควิด […]

ธ.ก.ส.เลื่อนชำระหนี้ 1 ปี ช่วยเกษตรกรประสบภัยน้ำท่วม พร้อมสินเชื่อฉุกเฉิน

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะเหตุการณ์ล่าสุดจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ ได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ที่อยู่อาศัยรวมถึงทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง ซึ่ง ธ.ก.ส. มีความห่วงใยผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้พนักงาน ธ.ก.ส. ในพื้นที่ออกเยี่ยมลูกค้า พร้อมจัดหาถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ดังกล่าว โดยในส่วนของเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนและผลผลิตได้รับความเสียหายจนส่งผลกระทบต่อรายได้ แต่ยังคงมีภาระหนี้สินอยู่กับ ธ.ก.ส. นั้น โดย ธ.ก.ส. พร้อมเลื่อนเวลาการชำระหนี้ออกไปสูงสุดไม่เกิน 1 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยปรับ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่สาขาในสังกัดในพื้นที่ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 ธ.ค. 2567 นอกจากนี้ สำหรับพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตประสบภัยโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ยังมีมาตรการฟื้นฟูและเสริมสภาพคล่องเกษตรกร ประกอบด้วย 1.)โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2567/68 เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.975) วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท […]

ปลาหมอคางดำ ไม่ใช่สัตว์ประหลาด อย่ามองข้ามลักลอบนำเข้า

ปลาหมอคางดำ สร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่น เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จากนั้นจึงมีความพยายามสืบหาแหล่งต้นตอ หาผู้รับผิดชอบ โดยตั้งข้อสังเกตไปที่บริษัทเอกชนที่มีรายงานการขออนุญาตนำเข้าอย่างถูกต้อง เพียงรายเดียว (ซึ่งทางบริษัทระบุว่าได้ทำลายซากลูกปลา และมีการส่งตัวอย่างลูกปลาดองในฟอร์มาลีนให้กรมประมงตามขั้นตอนไปแล้ว) จนอาจมองข้ามความเป็นไปได้อื่น ๆ ไป นอกจากนี้ ยังมีการปั่นกระแสปลาหมอคางดำ ผ่านการนำเสนอด้วยคำว่า “เอเลี่ยนสปีชีส์” จนกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนราวกับว่าเป็นสัตว์ประหลาดที่เข้ามาทำลายแหล่งน้ำ ทั้งๆ ที่ ปลาหมอคางดำ คือ ปลาชนิดหนึ่งที่รับประทานได้ไม่แตกต่างจากปลาอื่น ๆ เมื่อเพิ่มจำนวนก็จัดการได้ด้วยการจับขึ้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เหมือนกับที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญกับสัตว์ต่างถิ่นรุกรานทั้ง ตั๊กแตนปาทังก้า และหอยเชอรี่ ที่ทุกวันนี้กลายเป็นอาหารที่มีความต้องการสูงจนถึงกับต้องเพาะพันธุ์กันแล้ว “ปลาหมอคางดำ” กลายเป็นประเด็นที่สังคมต้องการหาต้นตอที่ทำให้ปลาหลุดสู่แหล่งน้ำ โดยมี NGO ที่พุ่งเป้าไปที่การนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อวิจัยของบริษัทเอกชนเพียงรายเดียว ผ่านการนำเสนอข้อมูลและภาพต่าง ๆ ผ่านเวทีสาธารณะและโซเซียลมีเดีย โดยอ้างอิงว่าได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจากอดีตพนักงานที่ทำงานในฟาร์มวิจัยแหล่งนั้น กระทั่งบริษัทต้องออกมาแถลงข่าว ชี้ให้เห็นถึงการบิดเบือนข้อเท็จจริง และได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป ขณะที่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ และคณะทำงานสำนักงานคดีปกครอง เตรียมยื่นฟ้องแพ่งต่อบริษัท และฟ้องคดีปกครองต่อกรมประมง จากกรณีปลาหมอคางดำ โดยใช้หลักฐาน ข้อมูลงานวิจัยสองฉบับของกรมประมง ซึ่งมีรายงานผลการศึกษา จุดที่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ […]

เขื่อนป่าสักเหลือน้ำแค่ 15% ของความจุ ขอเกษตรกรชะลอเพาะปลูกไว้ก่อน รอเข้าฤดูฝน

สถานการณ์ภัยแล้ง เขื่อนป่าสักฯ ล่าสุดขณะนี้เหลือน้ำอยู่เพียงร้อยละ 15 ของความจุ ขณะที่ ผอ.เขื่อนฯ ยืนยัน การบริหารจัดการน้ำยังคงเป็นไปตามแผน ไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคแน่นอน ส่วนน้ำภาคการเกษตร ขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกไว้ก่อน รอจนกว่ากรมอุตุวิทยา จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 พฤศภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งฝนตกน้อย ฝนทิ้งช่วง ทำให้หลายพื้นที่ต้องประสบภัยแล้ง ไม่มีน้ำในการประกอบอาชีพทางการเกษตร บางพื้นที่ต้องมีมาตรการประหยัดน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำ ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ซึ่งหากมองด้วยตาเปล่า และภาพถ่ายจากมุมสูง เหนือประตูระบายน้ำ ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บกักน้ำ 1 ใน 4 เขื่อนหลัก ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเห็นว่า ปริมาณน้ำที่เห็นนั้น น่าเป็นห่วง อย่างที่หลายฝ่ายวิตกกังวล เนื่องจากระดับน้ำที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับปี 2566 ที่ผ่านมา โดยในช่วงฤดูฝนปี 2566 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์สามารถเก็บกักน้ำ ได้ประมาณ 1,019 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) […]

“ธรรมนัส”สั่งสแกน 77 จังหวัด เก็บค่าเช่า รร.-รีสอร์ท บนที่ ส.ป.ก.

ความคืบหน้านโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะมีการเก็บค่าเช่าที่ดินจากผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท และธุรกิจอื่นๆ ที่ได้ใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในการทำธุรกิจมาก่อนหน้านี้ แทนการรื้อถอน เพื่อเปลี่ยนเป็นรายได้เข้ากองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย และในฐานะกรรมการ ในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมการ (คปก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากที่ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ประธานที่ประชุม คปก. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ชูจังหวัดภูเก็ตเป็นต้นแบบเพื่อดำเนินการในลักษณะดังกล่าวจากการตรวจสอบแปลงที่ดิน พบว่ามีโรงแรม 71 แห่ง คอนโดมิเนียม 5 แห่ง อพาร์ทเม้นท์ 7 แห่ง ทาวน์โฮม 1 แห่ง บ้านพัก/บ้านเช่า/บังกะโลตากอากาศ 13 แห่งซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ ส.ป.ก.จังหวัด ได้ทำการสแกนพื้นที่ทั้งหมดว่าบนพื้นที่ ส.ป.ก.มีที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้าง เพื่อนำมาพิจารณาว่าควรจะทำอย่างไร โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเก็บค่าเช่า เพราะในกฎหมายไม่มีบัญญัติไว้ หวั่นจะทำผิดกฎหมายเสียเอง ทั้งนี้ต้องนำมาพิจารณาก่อนว่า สิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นก่อนหรือหลังประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินปี 2537 หากเกิดก่อนและโอนที่ดินมาให้ […]

ธ.ก.ส. จ่ายไร่ละ 1,000 รอบที่ 2 ถึงมือเกษตรกรแล้ว

18 ธันวาคม 2566 นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เตรียมโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ตามนโยบายรัฐบาล ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีการผลิต 2566/67 ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้มีรายได้และสภาพคล่องในการใช้จ่าย รวมถึงการพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าวให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ในรอบที่ 2 เพิ่มอีกจำนวน 6,105 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์อีกจำนวน 688,013 ครัวเรือน เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 นี้ สำหรับการโอนเงินในรอบที่ 1 ซึ่งได้โอนไปแล้ว 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2566 ธ.ก.ส. […]

ทำเนียบส่งหนังสือด่วน 5 หน่วยงาน จ่อเลิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเกษตรกร

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว(ล)25288 แจ้งถึงกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หนังสือราชการดังกล่าวมีสาระสำคัญ โดยระบุมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอให้การช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม และอ้อย รวมถึงพัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและเกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างมีศักยภาพ มีรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินจำเป็น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้พิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ (Productivity) ของภาคการเกษตรการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ของตนเองได้อย่างเพียงพอได้ในระยะยาวและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ท้ายหนังสือด่วนฉบับนี้ยัง ระบุว่า ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ […]

ธ.ก.ส. อัปเดตสถานะโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000

“เงินช่วยเหลือชาวนา” ปีการผลิต 2566/67 ไร่ละ 1,000 บาท หรือ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวนา โดยมีเป้าหมายจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาปี 2566/67 จ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน หรือช่วยเหลือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ แบบง่ายๆผ่านเว็บไซต์ 1.ตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร จากการขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 ที่นี่ คลิก https://farmer.doae.go.th/ เมื่อตรวจสอบสิทธิ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ให้คลิกตรวจสอบสถานะโอนเงิน ผ่านเว็บไซต์ คลิก chongkho.inbaac.com โดยไม่ต้องไปธนาคารตามขั้นตอน ดังนี้ เข้าไปที่ https://chongkho.inbaac.com/หรือคลิกที่นี่ กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน […]

1 2
error: