เจ้าสัวสหพัฒน์ ห่วงขึ้นค่าแรง450 นักลงทุนอาจย้ายไปเวียดนาม ต้องศึกษาให้ดี

Advertisement 31 พ.ค. 2566 – นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันว่า ทั่วโลกยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและส่งออกลดลง ขณะที่ประเทศไทยภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นจากการมีต่างชาติกลับมาเที่ยวเพิ่มขึ้น แสดงว่าไทยยังมีอะไรหลายอย่างเป็นที่สนใจของต่างชาติ เช่น เฮลท์แคร์ เป็นต้น Advertisement สำหรับแผนธุรกิจของสหกรุ๊ปในปี 2566 แม้ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อย่างเป็นทางการ แต่ยังเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในประวัติการณ์ โดยเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหญ่ที่ไม่เคยทำมาก่อนหลายโครงการ เพื่อให้รายได้เป็นตามเป้าที่ตั้งไว้มากกว่า 3 แสนล้านบาท “เราคิดต่างจากคนอื่น ในช่วงนี้ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ ควรลงทุนให้เยอะจะดีที่สุด เพราะถ้าเก็บเงินสดไว้จะไม่มีความหมาย ถามว่าการค้าขายทุกปีมันยากขึ้นไหม ไม่ง่ายเลย แต่อยู่ที่เราปรับตัว ถ้าปรับตัวทันเหตุการณ์ อาจเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ถ้าเราปรับตัวช้า อาจจะสุ่มเสี่ยง” Advertisement นายบุณยสิทธิ์ กล่าวถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาทว่า ธุรกิจของสหกรุ๊ปเป็นพ่อค้า ค่อนข้างปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ อย่างค่าแรงสูงขึ้น ต้องปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และต้องพยายามไม่ให้ของทุกอย่างขึ้นตามค่าแรง ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาเราพร้อมให้ความร่วมมือและปรับตัว นี่คือจุดเด่นของเรา สหกรุ๊ปเองได้ปรับคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานหมดแล้ว รุ่นเก่าจะไม่มีอยู่ในธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องลองศึกษาให้ดี เพราะมีทั้งดีและไม่ดี ต้องพิจารณาหลาย ๆ […]

ผู้ผลิตรองเท้าแกมโบล-มาม่า โอดต้นทุนสูงหลายทาง วอนรัฐขึ้นค่าแรงเป็นขั้นบันได

9 สิงหาคม นายนิติ กิจกำจาย กรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ “แกมโบล” (GAMBOL) เปิดเผยว่า บริษัทเห็นด้วยที่รัฐบาลจะพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้นในขณะนี้ แต่อยากขอให้ไม่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ขอให้ปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได เพื่อประคับประคองต้นทุน โดยระยะแรกบริษัทเห็นด้วยว่าควรปรับขึ้นไม่เกิน 5% คิดเป็นเงินกว่า 10 บาท รวมถึงต้องกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะบังคับใช้กี่ปี และมีการประกาศล่วงหน้าให้ผู้ประกอบการมีเวลาตั้งหลักในการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น “ตอนนี้บริษัทเองมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% หากขึ้นค่าแรงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก ปัจจุบันที่โรงงานซึ่งตั้งอยู่ที่พระราม 2 มีคนงานร่วม 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว และไม่ว่าแรงงานไทยและต่างด้าว เราจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้ 331 บาทต่อคนต่อวัน ยังไม่รวมค่าโอที ค่าอื่นๆ อีก คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อเดือนหลาย 10 ล้านบาท “หากสุดท้ายรัฐเคาะขึ้นค่าแรง และเราไม่ไหวจริงๆ อาจพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งบริษัทไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภคเพิ่ม เพราะเพิ่งปรับราคาขึ้น 10% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขนาดมาม่ายังอั้นไม่ไหว ขอขึ้นราคา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเดือดร้อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นจริงๆ ก็เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ แต่ต้องมองผลกระทบในระยะยาวด้วย” […]

error: