อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้! หนุ่มเตือนภัยพัดลมของขวัญปีใหม่ ตั้งไว้เฉยๆ ไฟลุกพึ่บ

Advertisement กลายเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนโลกออนไลน์ เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้แชร์เรื่องราวบนกลุ่ม พวกเราคือผู้บริโภค เตือนภัยเรื่องการเสียบปลั๊กพัดลมทิ้งเอาไว้ แม้จะไม่ได้ใช้งาน แต่ก็ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ โดยระบุว่า Advertisement “โกรธเพื่อนไม่ลง จับสลากปีใหม่ของจากไลฟ์ตต เพื่อนซื้อพัดลมมาจับ สรุป เสียบปลั๊กทิ้งไว้ตรงโรงรถ อยู่ดีๆ ไฟก็ไหม้ ทั้งที่ไม่ได้เปิด โชคดีแค่ไหน คนในบ้านเห็น วิ่งไปดับทัน ที่เขาสอนแต่เด็กอย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้มันยังใช้ได้ในยุคนี้นะครับ ปล.จับสลาก รอบหน้า งดเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก” Advertisement หลังโพสต์ดังกล่าวได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก บางคนบอกว่า ถึงแม้จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงหรือถูก ได้มาตรฐานหรือไม่ได้มาตรฐาน ก็ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้อยู่ดี เพราะนอกจากจะเปลืองไฟแล้ว ยังอันตรายอีกด้วย บางคนก็แนะนำว่า อย่าล้อเล่นกับเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูก ยอมจ่ายเงินเพิ่มซื้อที่มียี่ห้อคุณภาพดีกว่า, เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทต้องใช้ยี่ห้อที่มีมาตรฐานเท่านั้น เป็นต้น   ข่าวจาก : amarintv

ครม.เห็นชอบร่าง กม.ซื้อของไม่ตรงปก ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบภายใน2ปี

27 พฤศจิกายน 2565 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ”ผู้บริโภค” ประสบปัญหาการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการร้านค้า หรือ ผ่านออนไลน์ แต่กลับได้สินค้าไม่ตรงตามที่แจ้ง หรือตามประสาโซเชี่ยล ได้ของ”ไม่ตรงปก” ได้สินค้าที่ชำรุดบกพร่องบ้าง ได้สินค้าหมดอายุบ้าง แล้วจะมีข้อกฎหมายใดมาคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันดังกล่าว จึงมีมติ “อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ” ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นการกำหนด “ความรับผิดของผู้ประกอบการธุรกิจ” ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงสินค้าอื่นที่อาจกำหนดตามพระราชกฤษฎีกา โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสม ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม กรณีสินค้าชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้น ชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า กรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น “ผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้า” หรือกรณี “ผู้บริโภคประกอบสินค้า-ติดตั้งตามคู่มือ” ที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้ แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้า “ไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน” ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้ […]

error: