เตือน 11 จังหวัด รับมือ “น้ำท่วม” เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มระบายน้ำ

Advertisement นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร Advertisement ให้เตรียมรับสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ให้เฝ้าระวังระดับน้ำสูงขึ้นและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำในพื้นที่ทางตอนบนที่ไหลลงลุ่มเจ้าพระยา มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าในวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ จะมีประมาณ 2,200 – 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมกับปริมาณน้ำ Sideflow 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลไปรวมกันเหนือเขื่อนเจ้าพระยา […]

จับตา! น้ำทะเลหนุนสูง 28 ก.ค.ถึง 1 ส.ค.นี้

เมื่อวนที่ 26 ก.ค.65 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 22/2565 เรื่องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา โดยระบุว่าด้วยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์ทะเลหนุนสูงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 1 ส.ค.2565 เวลาประมาณ 19.00 – 22.00 น. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับกรมชลประทานได้ประกาศแจ้งการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 1,000 – 1,250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 1 ส.ค.2565 ระดับน้ำอาจมีความสูงประมาณ 1.90 – 2.10 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง อาจส่งผลกระทบต่อบริเวณพื้นที่ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จ.นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ […]

เรือด่วนเจ้าพระยา​ ปรับค่าโดยสารขึ้น1บาท เหตุดีเซลพุ่ง เริ่ม15มิ.ย.นี้

‘เรือด่วนเจ้าพระยา’​ ปรับค่าโดยสารขึ้น 1 บาท เซ่นดีเซลพุ่ง เริ่ม 15 มิ.ย.นี้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นาวาตรีเจริญพร เจริญธรรม กรรมการผู้จัดการบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ผู้ให้บริการเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเส้นทางระหว่างท่าเรือปากเกร็ด-ท่าเรือวัดราชสิงขร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงจำนวนมาก ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาอยู่ที่ 32.99 บาทต่อลิตร ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 (ปัจจุบันปรับขึ้นมาอยู่ที่ 33.94 บาทต่อลิตร)​ บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราค่าโดยสาร เรือธงส้ม ธงเหลือง ธงเขียว ขึ้น 1 บาทจากอัตราเดิม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 110/2559 เรื่อง ประกาศอัตราค่าโดยสารเรือกลประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล […]

น้ำเหนือไหลผ่านเจ้าพระยา 2,960 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าคันกั้น กทม. 1.08 ม.

น้ำเหนือไหลผ่านเจ้าพระยา 2,960 ลบ.ม./วินาที ต่ำกว่าคันกั้น กทม. 1.08 ม. ยังไม่ส่งผลกระทบพื้นที่กรุงเทพฯ วันที่ 10 ต.ค. 64 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำเหนือไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ว่า วันนี้ (เวลา 06.00 น.) ปริมาณน้ำของกรมชลประทานที่อ.บางไทร ตรวจวัดปริมาณน้ำไหลผ่านกรุงเทพมหานคร เฉลี่ย 2,960 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาดของกรุงเทพฯ อยู่ที่ระดับ 1.92 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาของ กทม.อยู่ประมาณ 1.08 เมตร จึงยังไม่ส่งผลกระทบในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยวันนี้ฐานน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดเวลา 09.19 น. ที่ระดับ +1.19 ม.รทก. สำหรับระดับน้ำแนวคันกั้นน้ำด้านตะวันออก ณ ประตูระบายน้ำคลองสอง (สายใต้) อยู่ในระดับปกติ +0.92 (ระดับวิกฤต +1.80) ประตูระบายน้ำแสนแสบ (มีนบุรี) อยู่ในระดับปกติ […]

เตือน “กทม.-ปทุม-นนท์” ริมเจ้าพระยาเฝ้าระวังน้ำสูง 50 ซม. น้ำทะเลหนุน

กอนช.แจ้งเตือน กทม.-นนทบุรี-ปริมาณน้ำจะไหลหลากรวมกันผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด 3,050-3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม บวกกับสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 เซนติเมตร วันที่ 5 ตุลาคม 2564 รายงานข่าวระบุว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 23-25 กันยายน 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างประกอบกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ทำให้มีปริมาณน้ำท่าจากลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน ไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามากขึ้น ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักพบว่าเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775–2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าในวันที่ 5 ตุลาคม ปริมาณน้ำจะไหลหลากรวมกันผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด 3,050-3,150 […]

error: