มาเร็วกว่าที่คาด! ‘หมอยง’ เปิดกราฟโอมิครอนยึดพื้นที่เดลต้า ในไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้น

Advertisement ‘หมอยง’ เปิดกราฟโอมิครอนยึดพื้นที่เดลต้า ชี้ระบาดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในไทยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กำลังจะมาแทนที่เดลต้าเกือบทั้งหมด เมื่อวันที่ 11 ม.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” ระบุว่า โควิด-19 โอมิครอน อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะแทนที่เดลต้า Advertisement โอมิครอนระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลต้า จากการศึกษาติดตามของศูนย์เชี่ยวชาญไวรัสที่จุฬา โดยตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่กรุงเทพฯ ในระยะแรกก่อนปีใหม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ Advertisement หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตัวอย่างของผู้ที่ติดเชื้อในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ และวันที่ 10 ม.ค. เป็นตัวอย่างที่ตรวจในผู้ติดเชื้อที่ติดในประเทศไทยล้วนๆ ไม่ตรวจผู้เดินทางมาจากต่างประเทศแล้ว จะเห็นว่าจำนวนการตรวจพบสายพันธุ์โอมิครอนมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าเกือบทั้งหมด เร็วกว่าที่คาดการณ์คิดไว้ แต่เดิมคิดว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะมาแทนที่ทั้งหมดในปลายเดือนมกราคม จากข้อมูลนี้สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มจำนวนอัตราการติดเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้ามาก ในช่วงสายพันธุ์เดลต้าที่จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า ยังใช้เวลานานกว่านี้ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าการแพร่กระจาย โดยเฉพาะการติดต่อในสายพันธุ์โอมิครอนแพร่กระจายได้เร็วมาก จึงสามารถที่จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าตามหลักวิวัฒนาการของไวรัส และในที่สุดสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยก็จะเป็นโอมิครอน   […]

หมอยง ชี้ ‘โอไมครอน’ มาแน่ ยึดพื้นที่แทน ‘เดลต้า’ แนะฉีดวัคซีนให้มากที่สุด

หมอยง ชี้ ‘โอไมครอน’ มาแน่ ยึดพื้นที่แทน ‘เดลต้า’ แนะฉีดวัคซีนให้มากที่สุด นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ข้อความระบุว่า โควิด 19 โอมิครอน สายพันธุ์ที่ติดต่อง่ายแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยง ภู่วรวรรณ 16 ธันวาคม 2564 จากข้อมูลที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า โควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน มีการระบาด และติดต่อกันง่ายกว่าทุกสายพันธุ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายได้ง่าย และพบเป็นสายพันธุ์หลัก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า เห็นได้จาก การกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และคงจะเข้ามาแทนที่ สายพันธุ์เดลต้าในที่สุด จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ที่มีการเผยแพร่บนฐานข้อมูลสาธารณะ GISAID ขณะนี้ มีร่วม 7,000 ตัว และส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ BA1 มีจำนวนที่เพิ่มตัวเร็วมาก สายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายได้น้อยกว่า […]

ผลศึกษาเผยสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ทำให้โควิดในเด็กรุนแรงขึ้นมากนัก

ผลศึกษาเผยสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ทำให้โควิดในเด็กรุนแรงขึ้นมากนัก เมื่อวันที่ 4 กันยายน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างอิงผลการศึกษาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐอเมริกาว่า จำนวนเด็กที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐเพิ่มขึ้นตั้งแต่เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ากลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาด แต่ในการศึกษาใหม่ที่นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า หลังจากเปรียบเทียบข้อมูลของเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงก่อนสายพันธุ์เดลต้าระบาดกับช่วงที่เดลต้าระบาดพบว่าจำนวนเด็กที่มีอาการรุนแรงไม่แตกต่างกันมากนัก รายงานดังกล่าวยังพบว่าระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคมของปีนี้ วัยรุ่นที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมีแนวโน้มที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนถึง 10.1 เท่า หลังจากมีการศึกษาข้อมูลของวัยรุ่นที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิดจำนวน 68 คน ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 59 คน ฉีดวัคซีนยังไม่ครบโดส 5 คน และฉีดครบโดสแล้ว 4 คน ทางซีดีซีได้วิเคราะห์บันทึกของโรงพยาบาล 3,116 ชิ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2020 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการระบาดของเชื้อเดลต้า และบันทึกอีก 164 ชิ้น ตั้งแต่ช่วงที่เชื้อเดลต้าเริ่มระบาดถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2021 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมประมาณ 10% ของประชากรสหรัฐ โดยจำนวนการรักษาตัวในโรงพยาบาลของเด็กอายุ 0-17 ปี […]

แอสตร้าเซนเนก้า เผยวัคซีน 1 โดส ลดป่วยรุนแรง สายพันธุ์เบต้า-เดลต้าได้ดี

แอสตร้าเซนเนก้า เผยวัคซีน 1 โดส ช่วยลดป่วยรุนแรง-เข้ารพ. ป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เบต้า/แกมมาได้ 82% และเดลต้าได้ 87% เมื่อวันที่ 5 ส.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ออกแถลงการณ์ ระบุว่า “Vaxzevria” วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หนึ่งโดส มีประสิทธิภาพสูงในการลดความรุนแรง และการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า ข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในแคนาดาแสดงประสิทธิผลของวัคซีนหลังจากฉีดเข็มแรก ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและป้องกันการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า/แกมมาได้ 82% และเดลต้าได้ 87% ผลการศึกษาจากเครือข่ายการวิจัยการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของแคนาดา (Canadian Immunization Research Network – CIRN) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขของแคนาดาและสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ แคนาดา ซึ่งเผยแพร่ในวารสารฉบับก่อนตีพิมพ์ แสดงให้เห็นว่า Vaxzevria หรือวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าหนึ่งโดส มีประสิทธิผลสูงถึง 82% ช่วยลดการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า/แกมม่า นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2 หรือสายพันธุ์อินเดีย) […]

มาเลย์เตือนภัยเชื้อ “แลมบ์ด้า” ชี้แพร่ระบาดเร็วกว่า “เดลต้า” พบแล้วใน 30 ประเทศ

มาเลย์เตือนภัยเชื้อ “แลมบ์ด้า” ชี้แพร่ระบาดเร็วกว่า “เดลต้า” พบแล้วใน 30 ประเทศ สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของหลายประเทศ แสดงความกังวลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ “แลมบ์ด้า” (Lambda variant) หรือเชื้อ ซี.37 (C.37) หลังจากพบว่าจุดที่เกิดการกลายพันธุ์ของ แลมบ์ด้า นั้นเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดความสามารถในการต้านทานวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย เผยแพร่ข้อความผ่านทวิตเตอร์ เตือนว่า แลมบ์ด้า เป็นอันตรายมากกว่าเชื้อเดลต้า ซึ่งสร้างปัญหาด้านสาธารณสุขให้กับหลายประเทศในเอเชียอยู่ในเวลานี้ โดยระบุว่า มีการตรวจพบเชื้อแลมบ์ด้าแล้วในกว่า 30 ประเทศในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา “สายพันธุ์แลมบ์ด้า นั้นตามรายงานระบุว่า เริ่มต้นตรวจพบครั้งแรกในประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิต(คิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนประชากร)สูงที่สุดในโลก” ทวิตเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียตั้งข้อสังเกต พร้อมกับโพสต์ลิงค์ เชื่อโยงไปยังรายงานในออสเตรเลียที่ระบุว่า พบการระบาดของเชื้อแลมบ์ด้าในสหราชอาณาจักรแล้ว 6 ราย พร้อมทั้งระบุด้วยว่า นักวิจัยกำลังเป็นกังวลว่า เชื้อกลายพันธุ์แลมบ์ด้า อาจแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเชื้อเดลต้าด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ระบุว่า […]

error: