ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ ทำลาย ‘ความเชื่อมั่น’ อุตสาหกรรม-ผู้บริโภค

Advertisement ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย.2567 ลดลงทุกองค์ประกอบปัจจัยหลักมาจากผู้บริโภคกังวลเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง และนโยบายการเมือง Advertisement อีกทั้งจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค.2567 จะทำให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้จ่ายแต่ก็ยังคงระมัดระวัง ส่วนผู้ผลิตจะต้องแบกต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20% สุดท้ายแล้วก็จะกระทบต่อราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2567 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวลดลงจาก 92.4 ในเดือนมี.ค. 2567 ปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งยอดขายโดยรวม คำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ อาทิ สินค้ายานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีมีความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตระดับ 5-20% ขณะที่การสิ้นสุดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานและค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 30-40% จากการสำรวจผู้ประกอบการ […]

‘เอกชน’ทั่วประเทศลั่นจุดยืน ค้านรัฐบาลขึ้นค่าแรง400บาท

การประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถือเป็นอีกนโยบายหลักของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อเรียกคะแนนเสียง โดยขึ้นค่าแรงมาแล้วถึง 2 ครั้งภายหลังเข้ามานั่งเป็นรัฐบาล ดังนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นฟู ภาคเอกชนยังคงต้องเผชิญกับต้นทุนด้านต่างๆ จึงออกแสดงออกถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค.2567 หอการค้าจังหวัด 76 แห่ง และสมาคมการค้า 53 แห่ง ร่วมกันแถลงเมื่อวันที่ 7 พ.ค.2567 เพื่อคัดค้านนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงของรัฐบาล พร้อมกับยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 จึงขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศดังกล่าว การขึ้นครั้งนี้ถือว่าเกินกว่าพื้นฐานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตนจะรวบรวมความเห็นจากสมาคมการค้าส่งให้รมว.แรงงาน วันที่ 13 พ.ค.นี้ ก่อนจะประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง วันที่ 14 พ.ค. นี้ อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) […]

จับตารัฐบาลบีบ ‘ปตท.’ ลดราคาก๊าซ อุ้มค่าไฟประชาชนทั่วไป 4.1 บาท

รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ถึงกรณีที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปล (เอฟที) ขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ฝ่ายรัฐบาลอยู่ระหว่างหาแนวทางเพื่อปรับลดค่าไฟฟ้าเพื่อคงให้อยู่ในระดับ 3.99 บาทต่อหน่วย เทียบเท่างวดที่เรียกเก็บปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2566) หรือไม่ควรเกิน 4.20 บาทต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 4.20 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ นายกฯ ต้องการที่จะให้ลดค่าไฟฟ้าให้เหลือในระดับ […]

ประกาศขยับราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 4 บาท/กก.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน. ออกประกาศเรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงนามโดยนายฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ กอน. และรักษาราชการแทนเลขาธิการกอน. กำหนดราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานใหม่ดังนี้ 1. จากเดิมน้ำตาลทรายขาวอยู่ที่กิโลกรัมละ 19 บาท เป็น 23 บาท 2. น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกิโลกรัมละ 20 เป็น 24 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้รายได้ดังกล่าวจะนำไปคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่าย ปี 2566/67 ซึ่งประเมินว่าปริมาณอ้อยบริโภคภายในประเทศจะอยู่ที่ราว 25 ล้านกระสอบ โดยจะนำรายได้ดังกล่าวส่งผ่านกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสนับสนุนตัดอ้อยสด ฯลฯ เพราะหากไม่ประกาศจะทำให้ชาวไร่อ้อยเสียประโยชน์จากราคาหน้าโรงงานเดิมซึ่งอยู่ในระดับต่ำในการนำไปคำนวณราคาอ้อยฯ ในขณะที่ราคาขายปลีกปรับขึ้นแล้วทั้งจากฟากโรงงาน ยี่ปั๊ว และซาปั๊ว เพราะขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายไม่ใช่สินค้าควบคุม และหากไม่รีบปรับราคา จะทำให้น้ำตาลที่มีไว้บริโภคในประเทศไหลไปสู่ตลาดส่งออกโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาสูงได้ ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำตาลส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 27 บาท   […]

ครม.เคาะ “พักหนี้เกษตรกร” 3ปี เริ่ม1ต.ค.นี้ จับตามีความแตกต่างจาก13ครั้งที่ผ่านมา

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การพักหนี้เกษตรกรครั้งนี้ จะแตกต่างจาก 13 ครั้งที่ผ่าน ที่เป็นเพียงการประวิงเวลา แต่การช่วยเหลือครั้งนี้ ตั้งเป้าว่าในระยะ 3 ปี เกษตรกรจะได้พักในเรื่องของภาระ และกลับมาอย่างแข็งแกร่ง เพราะได้พักทั้งเงินต้นเเละดอกเบี้ย โดยมีกรอบงบประมาณที่จะช่วยเหลือคือจ่ายดอกเบี้ยแทนเกษตรกร ปีละ 11,000 ล้านบาทเศษ รวม 3 ปี 30,000 กว่าล้าน นอกจากนี้ จะมีโครงการที่ทำให้พี่น้องเกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อต่อยอดอาชีพของตนเองได้ ให้กู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะมองว่าเมื่อไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ก็ไม่สามารถหาเงิน เพื่อมาชำระคืนหรือชดใช้ได้ ทั้งนี้ มาตรการพักหนี้ฯ ครั้งนี้ จะให้สิทธิ์กับลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้ ธกส. ที่มีมูลหนี้ไม่เกิน 3 แสนบาท ซึ่งมีเกษตรกรเข้าเกณฑ์ 2.698 ล้านราย ได้รับสิทธิ์ในการพักชำระหนี้ระยะแรก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน […]

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศมหาดไทย เปิดทางต่างชาติทำงาน-ลงทุนใน 18อุตสาหกรรมได้

ก.พ. 2566 3 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการ อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวก ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการด้าน Startup เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษได้ (ฉบับที่ 3) ลงนามโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สำหรับสาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ซึ่งประสงค์จะทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ลงวันที่ 30 ม.ค. 2561 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้า มาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 ก.พ. 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ(Smart […]

นายกฯ ปลื้ม ธนาคารโลก ชี้เศรษฐกิจไทยโตพุ่ง สะท้อนผลสำเร็จนโยบายรัฐบาล

18 ธ.ค. 2565 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาสที่ 3/2565 โดยธนาคารโลก (World Bank) ว่า รายงานระดับจีดีพี ขยายตัวถึงร้อยละ 4.5 สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และเกินจากที่มีการคาดการณ์ไว้ มีปัจจัยสำคัญจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นภายหลังการกลับมาเปิดประเทศ และมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีต่อรายงานดังกล่าว ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจไทย มีตัวเลขการฟื้นตัวต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพ แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากภายนอก และกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งบูรณาการการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพและภูมิคุ้มกัน สามารถรองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกได้ นายอนุชา กล่าวว่า รายงานดังกล่าวคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 2.9 และคาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการท่องเที่ยว การลงทุน การบริโภคของภาคเอกชนที่ฟื้นตัว และการจ้างงานคาดว่าจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ระบบการเงินโดยรวมของไทยยังคงมีเสถียรภาพ การขาดดุลการคลังที่ลดลงและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีค่อยๆ ลดลงอยู่ในระดับที่มีความยั่งยืน […]

‘จุรินทร์’ แจงมาตรการดูแลราคาสินค้า ของถูกลง พูดแล้วไม่เป็นข่าว

24 มิ.ย.65 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการดูแลราคาสินค้าว่าจะใช้ ”วิน-วิน โมเดล” และนโยบายทั้งเชิงรุกและเชิงลึก ดูลึกในสินค้าแต่ละตัวอะไรที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจริงและสูงขึ้นเท่าไหร่ จนกระทั่งการผลิตขาดทุนหรือเดินหน้าต่อไม่ได้ กระทรวงพาณิชย์ต้องพิจารณาว่าการปรับราคาควรเป็นเท่าไหร่ให้น้อยที่สุดให้ผู้บริโภคเดือดร้อนน้อยที่สุด ซึ่งเป็นอำนาจของกรมการค้าภายในไปช่วยดู กระทรวงพาณิชย์พยายามกำกับราคาจำหน่ายไม่ให้ขึ้นสูงจนทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนจนเกินสมควร แต่ถ้าอะไรจำเป็นต้องปรับต้องมีราคากำกับดูแลว่า ถ้าต้นทุนผลปาล์มเท่านี้ ราคาน้ำมันปาล์มขวดควรไม่เกินเท่าไหร่ ถ้าขายเกินถือว่าค้ากำไรเกินควร ปัจจุบันที่ติดตามตลอด ยังไม่เกินราคาที่กำกับ แต่แน่นอนว่าจะปรับสูงขึ้นบ้างเพราะผลปาล์มราคาสูงขึ้นมาก สำหรับราคาสินค้าที่ลดลงมีหลายรายการ แต่พูดแล้วไม่เป็นข่าว เช่น ATK ราคาปรับลดลง 30-40% แล้ว ฟ้าทะลายโจร ช่วงหนึ่งที่เป็นห่วงว่าจะแพง จนคนจะไม่มีเงินซื้อทานได้ตอนนี้ราคาก็ปรับลง แม้แต่ข้าวสารถุงราคาก็ปรับลดลงมา ส่วนประเด็นการขอปรับราคา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซอสปรุงรส นั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละยี่ห้อ แต่ละล็อตการผลิต เราต้องดูลึกขนาดนั้น เพื่อดูแลผู้บริโภคให้ดีที่สุด ล็อตไหนต้นทุนไม่ขึ้นมากก็ขึ้นราคามากไม่ได้ ล็อตไหนที่ต้นทุนอยู่เท่าเดิมก็จะตรึงราคาไว้ ล็อตไหนที่ต้นทุนสูงขึ้นจริงก็จะพิจารณาตามข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าต้นทุนสูงขึ้นจริงก็จะต้องปรับเพื่อให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจต่อไปได้ ไม่เช่นนั้นของจะขาดแทนที่จะมีปัญหาเรื่องราคาข้อเดียว ซึ่งจะดูให้พออยู่ได้และขึ้นราคาไปน้อยที่สุด เพื่อให้กระทบประชาชนผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศน้อยที่สุด “กรมการค้าภายในจะเป็นผู้พิจารณา สำหรับมาม่า ขอขึ้นราคามาหลายครั้งแล้ว กรมการค้าภายในพิจารณาอยู่ อะไรที่จะมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ก็จะต้องดูด้วยความรอบคอบและดูให้ลึกในรายละเอียดจริงๆ แต่ไม่ได้แปลว่าจะดูเฉพาะผู้บริโภค ผู้ประกอบการไม่สนใจต้องให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายเพราะถ้าผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ของก็จะขาด ต้องดูให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน”   […]

กกร.ค้านขึ้นค่าแรง492บาท หวั่นสินค้าแพงขึ้น ด้านเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยง

กกร.ค้านขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ หวั่นสินค้าแพงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นในปี 65 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผย กรณีคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเป็น 492 บาท ว่า ในทุกจังหวัดมีคณะอนุกรรมการค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดอยู่ มีทั้งลูกจ้าง นายจ้าง อยากให้คณะทำงานเรื่องค่าแรงแต่ละจังหวัดหารือกัน เพราะต้นทุนแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน จึงไม่ควรอย่างมากในการปรับรายได้ขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศ อยากให้ภาครัฐพิจารณาให้ดีเพราะจะกระทบกับราคาสินค้าที่อาจต้องปรับขึ้นอีก หากค่าแรงปรับขึ้นมา แล้วเศรษฐกิจยังแย่อยู่มันก็เหนื่อยนะครับ และไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทั่วประเทศอยู่แล้วครับ แต่ควรเป็นเรื่องที่ภาคจังหวัดต้องพิจารณา เพราะวันนี้ระหว่างภูเก็ต หรือ กรุงเทพฯ กับ จังหวัดเล็กๆ เช่นชัยภูมิ ก็แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายรายได้ทุกอย่างมันแตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้ก็ควรจะเป็นการพิจารณาของคนในพื้นที่ ในส่วนของราคาพลังงาน สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น ส่งให้เงินเฟ้อปรับขึ้นตาม ซึ่งจะส่งผลต่อราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทพลังงาน ทั้งก๊าซหุงต้ม ราคาน้ำมัน จึงขอให้ภาครัฐตรึงราคาไว้ก่อน เพราะถึงแม้ว่าภาคเอกชนเองก็พยายามจะตรึง แต่ต้นทุนราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นตลอดเช่นกัน ส่วนราคาปลีกน้ำมันที่ปรับขึ้น นายสุพันธุ์ มองว่า ต้องควบคุมราคาจำหน่ายให้กับประชาชนให้ได้ เพราะการที่ราคาปรับขึ้นเร็วย่อมเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เบื้องต้นจึงขอให้ตรึงราคาไว้ก่อน จากนั้นจะปรับสูตรน้ำมัน ปรับโครงสร้างภาษี ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่ามองอะไรเหมาะสม สอกคล้องกับ นายสนั่น […]

ครม. ไฟเขียวเป้าเงินเฟ้อปี’65 อยู่ที่ 1-3% ตามที่คลังเสนอ หวังพยุงเศรษฐกิจฝ่าโควิด-19

ครม. ไฟเขียวเป้าเงินเฟ้อปี’65 อยู่ที่ 1-3% ตามที่คลังเสนอ หวังพยุงเศรษฐกิจฝ่าโควิด-19 ชี้อนาคตยังผันผวนจากราคาพลังงาน-อาหารสด ครม. ไฟเขียวเป้าเงินเฟ้อ – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ประจำปี 2565 กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วง 1-3% ถือเป็นอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2564 ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรมว.คลัง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถกลับเข้าสู่เป้าหมายของนโยบายการเงินควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพในระบบการเงินของประเทศ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นต่อเงื่อนไขของการดำเนินนโยบายการเงินและความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศด้วย โดยในที่ประชุมครม. กระทรวงการคลัง รายงานว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกและไทยได้รับผลกระทบอย่างมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มีความยืดเยื้อ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไทยในช่วงที่ผ่านมาและในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับขอบล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน มีปัจจัยสำคัญคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงเป็นวงกว้างตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง อาจทำให้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่รายได้และกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับต่ำจากตลาดแรงงานที่มีความเปราะบางตามการเพิ่มขึ้นของผู้ว่างงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันราคาสินค้าที่ปรับลดลงจากพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งจากการแข่งขันด้านราคาผ่านธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ และต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงจากการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานในกระบวนการผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อไทยในอนาคตอาจจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ทั้งความผันผวนของราคาพลังงาน และราคาอาหารสดด้วย การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมายที่ยังมีความเหมาะสมภายใต้เศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าและในระยะปานกลางจะเคลื่อนไหวอยู่ใกล้เคียงกับเป้าหมายและไม่ได้ปรับลง สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ อีกทั้งการกำหนดเป้าหมายแบบช่วงที่มีความกว้าง 2% มีความยืดหยุ่นเพียงพอรองรับความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต […]

1 2
error: