คลัง เตรียมพร้อม ‘คนละครึ่ง’ เฟส 4 ต้นปี 65 ยันไม่ปิดประตู ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก

Advertisement คลัง เตรียมพร้อม ‘คนละครึ่ง’ เฟส 4 ต้นปี 65 ขอดูสถานการณ์ปลายปีหลังเปิดประเทศ โชว์มาตรการช่วยกระตุ้นใช้จ่ายคึกคัก ไม่ปิดประตู ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มอีก วันที่ 29 ต.ค64 นายอาคม พิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า หลังจากเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.2564 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่จะนำมาใช้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ต้องมาจากหลายส่วน ไม่ใช้เฉพาะมาตรการด้านการคลัง เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะมาตรการด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องออกมารับกับการเปิดประเทศ ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพียง แต่ต้องเปิดโอกาสให้คนไทยได้เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัดด้วย ก็จะมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 4/2564 Advertisement ทั้งนี้ ในที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้รายงานให้ทราบว่า ในช่วงเดือน พ.ย.มีตัวเลขจองห้องพัก (บุ๊กกิ้ง) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว จะต้องทำคู่ขนานไปกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด จะต้องมีการตรวจเชื้อโควิดอย่างเข้มข้นด้วย Advertisement นายอาคม กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง กำลังดูความเหมาะสมที่จะมีมาตรการคนละครึ่งเฟส 4 […]

แบงก์ชาติทั่วโลกตุนทอง แห่ซื้อมากสุดในรอบเกือบ50ปี หวังลดสัดส่วนดอลลาร์ในทุนสำรอง

  สมาพันธ์ทองคำโลก เปิดเผยว่า บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกกว้านซื้อทองคำมากที่สุดในรอบเกือบ 50 ปี เมื่อปี 2018 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.44 แสนล้านบาท) นำโดยรัสเซีย ตุรกี และคาซัคสถาน เพื่อหวังลดสัดส่วนเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ขณะที่เมื่อเทียบเป็นปริมาณแล้ว ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำเพิ่มขึ้น 74% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 651.5 ตัน ทั้งนี้ รัสเซียซื้อทองคำมากที่สุด อยู่ที่ 274.3 ตัน เมื่อปี 2018 โดยทองคำสำรองของรัสเซียอยู่ที่ทั้งหมด 2,066 ตัน คิดเป็นมูลค่า 8.7 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 2.71 ล้านล้านบาท) และคิดเป็นสัดส่วน 18% ของทุนสำรองทั้งหมด รายงานระบุว่า การซื้อทองคำเพิ่มของธนาคารกลางหลายแห่งยังช่วยหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 หลังร่วงหนัก 10% ในครึ่งปีแรก สมาพันธ์ทองคำโลก ระบุว่า การซื้อทองคำเพิ่มขึ้นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกลางจำนวนมากในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ พยายามกระจายทุนสำรองระหว่างประเทศออกจากสกุลเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่ กำลังปรับตัวขึ้น […]

รมว.คลังแนะนำ ปั๊มซีดีสอนเด็กทั่วประเทศ เด็กไทยจะได้เก่งเท่าเทียมกัน

  เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาช่วงปลายปี เมื่อเครดิตสวิส (Credit Suisse) เผยแพร่รายงานความมั่งคั่งโลก ประจำปี 2561 ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมลํ้าสูงที่สุดในโลก โดยพบว่า คนไทย 1% มีทรัพย์สินรวมกัน 66.9% ของทรัพย์สินทั้งประเทศ เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่สัดส่วนอยู่ที่ 58.0% นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ที่พูดกันมาก คือ ความร่ำรวย ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะรํ่ารวยเท่ากันหมด ถ้าจะได้ต้องกลับไปที่ยุคคอมมิวนิสต์ แต่ก็พิสูจน์ได้แล้วว่า ไม่สำเร็จ แต่สิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาล คือ ต้องสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาส แล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรค่อยมาว่ากัน เพราะคนเราเก่งไม่เท่ากัน มันก็จะมีคนเก่งที่ได้ 4 ไม่เก่งก็ได้ 2 รัฐบาลต้องไปช่วยคนที่สอบตก ว่า ทำอย่างไรไม่ให้ตก เหมือนที่โรงเรียนมีคนติวให้กับคนที่สอบตก สิ่งที่รัฐบาลคิด คือว่า ทำไมไม่ใช้ระบบแบบประเทศไทยที่เคยมี คือ สังคมไทยที่พร้อมจะช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า เอาคนที่ได้ 4 คนที่เก่ง มาช่วยคนเหล่านี้ […]

คลังมั่นใจเศรษฐกิจปีนี้โตดีเกินคาดหลังประกาศเลือกตั้ง เชื่อโตเกิน 4%

   คลัง มั่นใจเศรษฐกิจปีนี้ โตดีเกินคาด หลังประกาศเลือกตั้งแน่ เชื่อโตเกิน 4% พร้อมประกาศอย่างเป็นทางการ 28 ม.ค.นี้   นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยถึงกรณีที่ประกาศให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ผ่าน พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนดีขึ้น ซึ่งจะมีผลในทิศทางบวกต่อเศรษฐกิจแน่นอน ทั้งนี้หากการเลือกตั้งผ่านไปได้ด้วยดีมีความเรียบร้อยก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยานตัวได้ดีกว่าที่ประมาณการไว้จากเดิมที่ 4% อย่างไรก็ตาม สศค. จะมีการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจในปีนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้งก่อนจะประกาศในวันที่ 28 มกราคมนี้   ส่วนเศรษฐกิจปี 2561 ยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ต่ำกว่าการประมาณการไว้ โดยการส่งออกจะขยายตัวได้เพียง 6.7 -6.8% ต่ำกว่าที่คาดการไว้เดิมที่ 8% ทำให้เศรษฐกิจไทยปี ที่ผ่านมา ขยายตัวได้ กว่า 4% ต่ำกว่าประมาณการณ์เดิมที่คาดว่าจะโตได้ 4.5% ข่าวจาก : เรื่องเล่าเช้านี้

ผลวิจัยชี้ คนเจนวายมีทรัพย์สิน-ความมั่นคงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับพ่อแม่สมัยหนุ่มสาว เหตุเพราะค่ารักษาพยาบาล-ค่าเล่าเรียนสูงขึ้น

  ที่ผ่านมาคนเจนวาย หรือคนอายุตั้งแต่ 20-35 ปีตกเป็นแพะรับบาปกรณีธุรกิจต่างๆล้มหายตายจาก เนื่องจากคนวัยนี้ไม่ฮิตซื้อบ้านหรือบริโภคสินค้าบริภาคอย่างวัยอื่น ๆ ล่าสุดมีผลวิจัยออกมาแล้วว่าพฤติกรรมกินน้อยใช้น้อยของคนยุคนี้ เป็นเพราะพวกเขาจนกว่าคนยุคก่อน ๆ ต่างหาก การวิจัยของสถาบัน the Federal Reserve นำเอาตัวเลขการเงินของคนหนุ่มสาวยุคนี้ถูกนำมาเทียบกับคนเจนเอ็กซ์ คนรุ่นเบบี้บลูมเมอร์ และคนรุ่นสงครามโลก โดยดูทั้งการใช้จ่าย รายได้ หนี้สิน และจำนวนประชากรในแต่ละรุ่น โดยพบว่า พวกเขาไม่ได้มีความสนใจในการบริโภคต่างไปจากคนยุคก่อน ๆ แต่อย่างใด เพราะตัวเลขการซื้อยานพาหนะก็นับเป็น 20% ของการซื้อขายทั้งหมดเหมือนกับรุ่นก่อน ๆ แต่พวกเขามีรายได้น้อยกว่าตอนพ่อแม่เริ่มทำงาน มีสินทรัพย์น้อยว่า และมีความมั่งคั่งน้อยกว่าด้วย คนที่เกิดช่วงปี 1981-1997 เติบโตมาเป็นวัยทำงานในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำปี 2007-2009 พอดี จึงต้องเจอกับทั้งปัญหาตกงานและหาเงินกู้ยืมได้ลำบาก พอโตมาในสถานการณ์เช่นนี้ทำให้คนรุ่นนี้ชอบประหยัดอดออม ซึ่งคนรุ่นนี้แทบทุกคนต้องอยู่แบบกระเบียดกระเสียด เทียบกับพ่อแม่ที่เจอกับสภาวะแบบนี้ไม่กี่คน งานวิจัยยังได้ดูตัวเลขหนี้สินของแต่ละรุ่น พบว่าเด็กเจนวายมีหนี้พอ ๆ กับคนเจนเอ็กซ์ แต่ถ้าเทียบกับคนยุคเบบี้บลูมเมอร์แล้ว ตัวเลขหนี้สินของคนหนุ่มสาวรุ่นนี้ถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าอีกอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้คนหนุ่มสาวยุคนี้จนเหลือเกิน มาจากค่ารักษาพยาบาลและค่าศึกษาเล่าเรียนพุ่งสูงขึ้นด้วย อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่ : […]

1 2
error: