พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 17 พ.ค.นี้เริ่มต้นฤดูฝน เตรียมรับมือพายุถล่ม

Advertisement กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13-22 พ.ค. 2567 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) โดยวิเคราะห์ตามผลของแบบจำลองฯ Advertisement พบว่าทั่วทุกภาคของไทย สภาพอากาศยังแปรปรวน เริ่มมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง กระจายเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สม่ำเสมอ ส่วนมากมาช่วงบ่ายถึงค่ำ ลมยังไม่แน่ทิศ อากาศยังร้อนทางด้านภาคเหนือ การเริ่มต้นฤดูฝน เริ่มมีสัญญาณหลังวันที่ 17 พ.ค.2567 Advertisement โดยลมจะเริ่มเปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ (พัดจากทะเลอันดามัน) การกระจายของฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน บางพื้นที่ก็เริ่มมีฝนตกแล้ว แต่บางพื้นที่ก็ยังรอฝน ฝนระยะนี้ยังตกไม่สม่ำเสมอ พี่น้องเกษตรกรต้องเตรียมการ ในระยะนี้ยังต้องระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า ส่วนภาคใต้ ยังมีฝนต่อเนื่องทั้ง 2 ฝั่ง หลังวันที่ 17 พ.ค.2567 ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ต้องระวังฝนตกหนัก จากอิทธิพลของลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมและ ช่วง 20 -22 พ.ค.2567 ต้องติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวในทะเลอันดามัน ซึ่งจะทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนัก คลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น […]

จับตา “ดับเบิ้ลเอลนีโญ” น้ำน้อย-น้ำเค็มหนุน-ฝุ่นเยอะ-ร้อน

5 กรกฎาคม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก อัพเดตปรากฏการณ์เอลนีโญ ร้อนและแล้ง ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศไทยเวลานี้ โดยระบุว่า #อัปเดตเอลนีโญ ผมเพิ่งมีโอกาสคุยกับดร.ชวลิตและดร.วิษณุ สองผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ในรายการของคุณสุทธิชัย หยุ่น จึงอยากสรุปสถานการณ์ให้เพื่อนธรณ์ครับ เอลนีโญเริ่มต้นแล้ว และจะลากยาวไปอย่างน้อยถึงต้นปีหน้า แต่แบบจำลองทำนายให้แม่นยำได้ประมาณนั้น หลังจากนั้นยังบอกไม่ได้ หน้าฝนของเหนือกลางอีสานมี 2 ช่วง เราผ่านช่วงแรกไปแล้ว ฝนน้อยกว่าปรกติประมาณ 20% ฝนจะทิ้งช่วง กลับมาอีกทีกลางสิงหาคม ต้นทุนน้ำก่อนเข้าหน้าฝน มีน้ำในเขื่อน/ระบบชลประทาน 35% เนื่องจากฝนช่วงแรกน้อย การเก็บน้ำจึงไม่ได้มาก ต้นทุนน้ำตอนนี้จึงน่าเป็นห่วง ขึ้นกับฝนช่วงสองว่าเราจะทำได้แค่ไหน ยังขึ้นกับการปรับตัวของภาคเกษตร เราใช้น้ำแบบเดิมไม่ได้ อย่าให้ความเคยชินใน 2-3 ปีก่อนมาลวงตาเรา พื้นที่เกษตรของเราค่อนหนึ่งอยู่นอกพื้นที่ชลประทาน อันนั้นยิ่งมีน้ำน้อยเข้าไปใหญ่ ผลผลิตการเกษตรจะลดลง เช่น ข้าว อ้อย ทุกฝ่ายออกมาเตือนเรื่องการใช้น้ำในภาคการเกษตร ผลกระทบทั่วอาเซียน อินโดอาจโดนหนัก เวียดนามก็ลำบาก เพราะน้ำเค็มหนุนส่งผลเยอะมากในพื้นที่ปลูกข้าวปากน้ำโขง คาดการณ์จากเอลนีโญในอดีตว่า รายได้เกษตรกรไทยอาจลดลง 5% […]

error: