กยศ.เปิดลงทะเบียนนัดทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

Advertisement กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) พร้อมเริ่มทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยให้เวลาผ่อนชำระสูงสุด 15 ปี ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% ปลดภาระผู้ค้ำประกันหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่จากเดิม เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย เงินต้น เป็นตัดเงินต้นส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ โดยเปิดให้ผู้กู้ยืมเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับกองทุนได้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป ผู้กู้สามารถลงทะเบียนนัดหมายวันเข้าทำสัญญาล่วงหน้าทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก กองทุนจะเปิดให้เข้ามาทำสัญญาทุกวันไม่เว้นวันหยุด เวลา 09.00 – 20.00 น. และจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ได้ทำสัญญาตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป Advertisement นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า “ขณะนี้กองทุนฯ ได้เตรียมดำเนินการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนให้เป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 […]

บสย. เปิดเงื่อนไข “ลงทะเบียนพักหนี้-ปลดหนี้เอสเอ็มอี”

ตามนโยบายรัฐบาลในการ “แก้ปัญหาหนี้สิน” ทั้งระบบอย่างจริงจังและให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล่าสุดในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยคณะกรรมการ บสย. ได้มีมติอนุมัติดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ตามที่ บสย. เสนอ รวม 2 โครงการ คือ 1. มาตรการพักหนี้ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เดือน เริ่ม 1 ม.ค. 2567 – 30 มิ.ย. 2568) ตามเงื่อนไข ดังนี้ เป็นลูกหนี้ SMEs รหัส 21 (รหัสสถานะบัญชี 21 สำหรับลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วันจากผลกระทบโควิด 2019 หรือ NPL) (ณ 31 ธันวาคม 2566) ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่มีวงเงินสัญญาไม่เกิน 10 […]

แก้หนี้นอกระบบ จว.ไหนครองแชมป์ลงทะเบียนแก้หนี้สูงสุด

หลังจากรัฐบาลเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากหนี้สิน โดยตั้งแต่เปิดให้ลงทะเบียนแก้หนี้ในวันแรก วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ล่าสุด ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566 พบว่ามีประชาชนมาลงทะเบียนหนี้นอกระบบแล้วทั้งสิ้น 68,651 ราย แบ่งเป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ 63,719 ราย และการลงทะเบียน ณ ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ 4,932 ราย รวมจำนวนเจ้าหนี้ 40,903 ราย มีมูลหนี้รวม 3,316.060 ล้านบาท พื้นที่/จังหวัด 5 ลำดับแรกที่มีการลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร มีผู้ลงทะเบียน 4,449 ราย เจ้าหนี้ 3,234 ราย มูลหนี้ 278.662 ล้านบาท จังหวัดสงขลา มีผู้ลงทะเบียน 2,912 ราย เจ้าหนี้ 1,813 ราย มูลหนี้ 162.672 ล้านบาท จังหวัดนครศรีธรรมราช […]

รัฐบาลเดินหน้าแก้หนี้ข้าราชการ ครู ตำรวจ ดอกเบี้ยถูก มีเงินเหลือใช้ เริ่มม.ค.67

30 พ.ย. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ เปิดเผยภายหลังประชุม ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางแก้ไขเรื่องหนี้สินของข้าราชการในระบบสวัสดิการและที่รัฐบาลหักเงินเดือน ซึ่งจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง โดยจะเริ่มเดือน ม.ค. 67 โดยข้าราชการที่อยู่ในระบบสวัสดิการ มียอดรวมทั้งสิ้น 3 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำกระทรวงศึกษาธิการ 8 แสนคน ข้าราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2.3 แสนคน และข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข 2 แสนกว่าคน สำหรับเรื่องหนี้ทั้งหมดจะมีความชัดเจนวันที่ 12 ธ.ค. นี้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินฯ กล่าวว่า หนี้สินข้าราชการเป็นหนี้สินขนาดใหญ่ ทั้งข้าราชการตำรวจ ครู สาธารณสุข ซึ่งจากการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า การหักเงิน หรือการชำระหนี้ ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบบสินเชื่อสวัสดิการ ทำให้เกิดปัญหาว่า ข้าราชการมีเงินเดือนเหลือไม่ถึง 30% ดังนั้นหลักการที่คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาร่วมกัน คือ ช่วยให้หักเงินเดือนเพื่อให้ข้าราชการเหลือเงิน 30% ของเงินเดือนก่อนหักหนี้ สำหรับแนวทางในการพิจารณาแก้ไขเรื่องหนี้สินของข้าราชการในระบบสวัสดิการและที่รัฐบาลดูหักเงินเดือนทุกหน่วยนั้น ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงโดยเป็นการลดความเสี่ยง ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระในการชำระหนี้ของข้าราชการลง […]

สินเชื่อแก้หนี้นอกระบบธนาคารออมสิน-ธ.ก.ส เช็คเงื่อนไข คุณสมบัติที่นี่

หลังจากรัฐบาลเดินหน้าแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐฯพยายามจะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งในวันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป จะเปิดให้”ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ” โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ (คลิกที่นี่) หรือ โทรไปที่ศูนย์ดำรงธรรม หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในอำเภอต่างๆ หรือ ตามสำนักงานเขตทุกแห่งในกทม. หลังจากลูกหนี้ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบแล้ว รัฐฯจะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และจะมีการทำสัญญาที่เป็นธรรมถูกต้องตามกฎหมายและจะมีฐานข้อมูลกลาง แทรคกิ้งไอดีติดตามผลได้ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังก็จะมาดูแลต่อหลังจากไกล่เกลี่ยกันเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามหากลูกหนี้ต้องการแก้หนี้นอกระบบก็สามารถที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลหรือขอสินเชื่อจากธนาคารของรัฐฯทั้ง 2 แห่งอย่าง ธนาคารออมสินและ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส. โดยมีโครงการต่างๆที่น่าสนใจดังนี้ ธนาคารออมสิน ชื่อโครงการ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ วัตถุประสงค์ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือการอุปโภคบริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปชำระ (Re-Finance) หนี้ในระบบ รายละเอียดสินเชื่อวงเงินกู้ ให้กู้ตามมูลหนี้นอกระบบจริง และตามความสามารถในการชำระหนี้ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ร้อยละ 1 ต่อเดือน ค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อสัญญา ระยะเวลาการชำระ ชำระคืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 […]

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. แบบใหม่ ตามกฎหมาย ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กล่าวว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้กู้หลายรายประสบปัญหาทางการเงิน ทำให้มียอดกู้เงิน กยศ. สูงที่สุดในรอบ 20 ปี โดยปล่อยกู้อยู่ที่ 46,000 ล้านบาท จากผู้กู้เงินหรือนักเรียนทุนรัฐบาล 7 แสนคน โดยในปี 2567 คาดว่ายอดกู้เงินจะอยู่ที่ประมาณ 45,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ย้ำว่าทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม กยศ. จึงขอเป็นหลักประกันให้กับทุกครอบครัว เพื่อให้เข้าถึงการศึกษา สำหรับการ พ.ร.บ.กยศ. ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าเดิม และให้คำนวณภาระหนี้ใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 1% ต่อปี (จากเดิม 1% ต่อปี) กรณีผิดนัดชำระ ลดอัตราเบี้ยปรับเหลือไม่เกิน 0.5% ต่อปี (จากแต่เดิม 7.5% ต่อปี) ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันในทุกกรณี เพิ่มให้มีการกู้เรียนในหลักสูตรระยะสั้น และให้ทุนการศึกษา […]

error: