สพฐ.ร่วมกับสหกรณ์ครูทั่วประเทศ ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยแก้หนี้ครู

Advertisement 23 พ.ค.ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจุบัน สพฐ. ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ผ่านสถานีแก้หนี้ 245 แห่งทั่วประเทศ โดยร่วมมือกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูซึ่งมีครูและบุคลากรทางการศึกษากว่าร้อยละ 90 มีหนี้สินอยู่ และยังมีภาคเอกชนเข้ามาช่วย เช่น ทีม The Money Coach หรือ โค้ชหนุ่ม ได้ให้ความช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรหลักในการบริหารจัดการและสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้กับบุคลากรแกนนำ สพฐ. รวม 168 คนทั่วประเทศ ใน 2 หลักสูตร ได้แก่ “เสริมสภาพคล่องการเงินครู” และ “ครูไทยการเงินดีมีความสุข เกษียณสบาย” และที่สำคัญกำลังเร่งเปิดเวทีเจรจาลดดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูให้ไม่เกินร้อยละ 4.75 พร้อมทั้งกำชับ สพท. ทุกแห่งให้หักเงินเดือนแล้วต้องเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด Advertisement “สพฐ. ขอขอบคุณทุกภาคส่วนตั้งแต่นายกรัฐมนตรีที่เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของภาคประชาชน รวมถึงประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินประชาชนรายย่อย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ผู้อำนวยการสถานีแก้หนี้ […]

รมช.ศธ. ปิ๊งไอเดียใช้ ‘เครดิตบูโร’ แก้หนี้ครู เร่งเจรจาลดดอกเบี้ย เปิดช่องกู้ข้ามจังหวัด

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งหนังสือเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงิน สำนักงานอัยการสูงสุด ฯลฯ เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว อยู่ระหว่างรออนุมัติอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานต้นสังกัด อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ได้ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครู ในช่วงที่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ได้ดำเนินการไว้ ซึ่งมีการลงพื้นที่ มีข้อมูลที่สามารถนำมาต่อยอดได้เลยไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ทั้งนี้ การแก้การแก้ปัญหาหนี้สินครูจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ สีเขียวคือครูที่มีสภาพคล่อง สีเหลืองคือครูที่มีหนี้บ้างเล็กน้อย และสีแดงคือเป็นหนี้เสีย อาจถูกฟ้องล้มละลาย ซึ่งเมื่อมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯเรียบร้อยแล้ว จะมีการหารือเพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาในแต่ละกลุ่มต่อไป คาดว่าจะได้ชื่อคณะอนุกรรมการฯครบ และเริ่มนัดประชุมอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ นายสุรศักดิ์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นต้องมีการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน เพื่อปรับพฤติกรรมทางการเงินของครูและบุคลากรทางการศึกษา การเจรจาลดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ หากลดได้ก็จะทำให้ครูมีเงินเหลือมากขึ้น ขณะเดียวกันอาจจะต้องมาทบทวน มาตรการหักเงินเดือน ตามระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551 ข้อ 7 (5) ที่บัญญัติให้ การจะให้ส่วนราชการหักเงิน ณ จ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้น จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 […]

ศธ. ผุด “โครงการสินเชื่อ กบข.” ช่วยลดหนี้ครู ลงทะเบียนผ่านเว็บ

วันที่ 16 สิงหาคม 65 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดทำ “โครงการสินเชื่อ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สิน ผู้ถูกฟ้องร้อง ผู้มีหนี้สินวิกฤติ หรือมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 และเป็นสมาชิก กบข. สามารถกู้เงิน กบข. ในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน มาลดยอดหนี้ได้ นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เป็นสมาชิก กบข. และเป็นผู้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ผ่าน เว็บไซต์ td.moe.go.th และลงทะเบียนเพิ่มเติมผ่านสถานีแก้หนี้ครู ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องร้อง ทั้งในฐานะผู้กู้และผู้ค้ำประกัน หรือผู้มีปัญหาหนี้สินวิกฤต คือ มียอดเงินเดือนคงเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ผู้เข้าข่ายที่ลงทะเบียนรอบที่ 1 มีจำนวน 14,142 ราย […]

รัฐบาลเตรียมแผนแก้หนี้ครูทั้งระบบ หลังพบครู 9 แสนคนทั่วประเทศมีหนี้รวม 1.4 ล้านล้าน

วันนี้ (3 ตุลาคม) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ห่วงใยต่อสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งปัจจุบันพบว่า ครูทั่วประเทศประมาณ 9 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 80 มีหนี้รวมกัน 1.4 ล้านล้านบาท โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมาคือ ธนาคารออมสิน วงเงิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งนายกรัฐมนตรีกำชับกระทรวงศึกษาธิการให้เร่งหาแนวทางในการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรอย่างยั่งยืน รวมถึงให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เตรียมพร้อมวงเงินปล่อยกู้ให้นักเรียนและนักศึกษาเข้าถึงแหล่งเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปีการศึกษา 2564 ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบแล้ว ระยะแรกจะดำเนินการ 3 แผนงาน ได้แก่ แผนงานที่ 1 โครงการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบเป็นฐาน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบจำนวน 12 แห่ง 4 […]

error: