หมอมานพ เผยชัด “โอมิครอน” โอกาสติดซ้ำ เร็วสุด 20 วัน

Advertisement วันที่ 9 ก.ค.65 ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ manopsi ให้ความรู้เรื่องการติดเชื้อโควิดซ้ำ ความว่า ช่วงนี้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก BA.4/5 อย่าแปลกใจเมื่อพบว่าคนรอบตัวเราหลายคนที่ติดหนนี้ไม่ใช่การติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลกนับตั้งแต่ยุค original Omicron ระบาด เพราะเชื้อดื้อภูมิมากอยู่แล้ว สายพันธุ์ใหม่ยิ่งดื้อกว่าอีก Advertisement หมอมานพ ระบุอีกว่า การติดเชื้อซ้ำในเมืองไทยมีสถิติเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ เพราะไม่มีการรวบรวมข้อมูล ยิ่งยุคที่ยอดรายงานต่ำกว่าความจริงมากแบบนี้ยิ่งไม่มีทางรู้ข้อมูลจริง ข้อมูลจาก UK พบว่าราว 1/4 ของคนติดเชื้อใหม่เป็นการติดซ้ำ เหตุสำคัญของการติดเชื้อซ้ำคือ 1. เชื้อสายพันธุ์ใหม่มีการกลายพันธุ์บน spike ที่ต่างจากเดิมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ภูมิหรือ antibody ที่เกิดจากการติดเชื้อก่อนหน้านี้หรือจากวัคซีนมีผลยับยั้งเชื้อได้น้อยลง 2. เวลาผ่านไประดับภูมิที่เรามีลดลงไปเรื่อย ๆ ทำให้มีโอกาสติดซ้ำได้ นอกจากนี้ผู้ที่ติดเชื้อในยุค Omicron เป็นต้นมา โดยเฉพาะที่ติดหลังได้รับวัคซีนแล้วอาการจะน้อยมาก และมักสร้างภูมิหรือ antibody น้อยมากหรือไม่สร้างเลย ข้อมูลเก่าพบว่าคนติดเชื้อจะมีภูมิสูงพอที่ป้องกันการติดซ้ำได้ในระยะ 3 […]

โควิดสายพันธุ์ BA.4,BA.5 พุ่งพรวด200ราย จับตาเข้ม2สัปดาห์

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้เหลือเพียงสายพันธุ์โอมิครอนเท่านั้นที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล ตอนนี้แทบไม่มีสายพันธุ์อื่นๆ หลงเหลืออยู่เลย ทั้งนี้ในส่วนของโอมิครอนนั้นมีสายพันธุ์ย่อยหรือลูกหลานที่น่ากังกวล คือ BA.2.12.1 , BA.2.9.1 BA.2.11 BA.2.13 และ BA.4 BA.5 แต่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ BA..4 BA.5 แต่เพราะมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง L452R ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับสายพันธุ์เดลตา ทำให้เกิดอันตรายกับปอดมากขึ้น จึงมีความกังวลว่าโอมิครอน BA.4 BA.5 จะแพร่เร็ว และมีความรุนแรงเหมือนกับสายพันธุ์เดลตา อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกมีการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายพบว่าสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนตัวอื่นๆ มีการติดเชื้อลดลง มีเพียงสายพันธุ์ BA.5 เท่านั้น ที่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 16 % เป็น 25 % จึงต้องจับตาใกล้ชิดในสายพันธุ์ BA.5 มากกว่า สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย มีการเฝ้าระวังมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบสายพันธุ์ BA.4 BA.5 […]

error: