เดอะแบกยุคใหม่เหนื่อยหนักกว่าเดิม เพราะเศรษฐกิจไม่เป็นใจ แม้ไม่มีลูกก็ใช่ว่าจะสบาย

Advertisement ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิถีชีวิตของคนไทยยังให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ครอบครัวเป็นอย่างมากไม่เสื่อมคลาย แต่ความเปลี่ยนแปลงได้ทำให้คนกลุ่มหนึ่งในยุคปัจจุบันมีปัญหาที่ต่างจากรุ่นก่อนๆ ด้วยภาระที่ต้อง ‘แบก’ หลายอย่างไว้พร้อมกันในวันที่โลกไม่เหมือนอีกต่อไป ทำให้การดูแลครอบครัวกลายเป็นเรื่องที่หนักหนากว่าที่เคย จนเกิดเป็นคำเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ‘Sandwich Generation’ จากการที่ต้องแบกรับภาระไว้ทั้งสองทาง คล้ายกับลักษณะของแซนด์วิช Advertisement ปัญหาของคนกลุ่มนี้อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้กว่าที่คิด ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ โดยความร่วมมือของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กับ Thairath Money ซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา จึงมีเวทีสนทนาที่เน้นถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อนและรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาแบกได้สบายขึ้น หนึ่งในแขกที่ร่วมพูดคุยบนเวทีคือ ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ KKP Research ได้กล่าวถึงปัญหาของเดอะแบกที่ต้องรับภาระหนักหน่วงว่ามักเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก แต่ทางออกนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนควบคุมได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจถึงปัญหาด้านต่างๆ และวิธีรับมือ พร้อม ‘เริ่มต้น’ ให้เร็วที่สุด เหตุใด ‘เดอะแบก’ ยุคปัจจุบันจึงดูเหนื่อยกว่ายุคก่อน? ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างเช่นปัจจุบัน การแบกภาระของครอบครัวก็ชวนให้รู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษ จนหลายคนอาจเคยสงสัยว่าเหตุใดการที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักแล้วก็ยังไม่สามารถดูแลคนรอบข้างได้ดี แถมยังไม่มีเงินเหลือเก็บ น่าเสียดายที่เรื่องโอกาสในการสร้างฐานะในยุคนี้เป็นเรื่องที่ยากขึ้น จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา […]

ราชกิจจาฯ ประกาศ ’การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม’ เริ่ม 1 ม.ค.67

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) โดยเหตุผลในการออกประกาศหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับจากเดิมอยู่ที่ 76% ต่อ GDP ในปี 2555 มาอยู่ที่ 89% ต่อ GDP ในปี ๒๕๖๒ และถูกซ้ำเติมรุนแรงขึ้นในช่วงโควิด 19 ที่ 95% ต่อ GDP ในปี 2564 แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 91% ณ ไตรมาส 2 ปี 2566 ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและสินเชื่อที่ขยายตัวชะลอลงหลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือ แต่สัดส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง ธปท.ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือนว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องใช้เวลาและทำอย่างครบวงจรให้เหมาะสมกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาในแต่ละช่วงของการเป็นหนี้และทำอย่างถูกหลักการคือแก้ให้ตรงจุดไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ และไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ ธปท. จึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(Responsible Lending)เพื่อยกระดับการปฏิบัติตามหนังสือเวียน เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้เป็นหลักเกณฑ์เพิ่มเติมจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรการเป็นหนี้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่การพัฒนาและการโฆษณาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ […]

error: