เปิดใจ’อดีตซีล’พ่อพิธีกรดัง ออกมาลุยถ้ำหลวงในวัยเกษียณ ปิดลับ แม้แต่ญาติก็ไม่บอก!(คลิป)

Advertisement   Advertisement จากกรณีนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า อะคาเดมี่ จำนวน 12 คน และโค้ชอีก 1 คน สูญหายภายในถ้ำหลวง เขตวนอุทยานถ้ำหลวง–ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่เย็นวันที่ 23 มิ.ย. 61 โดยนักดำน้ำได้มีการพบตัวผู้สูญหายในคืนวันที่ 2 ก.ค. 61 โดยทุกคนปลอดภัยรอความช่วยเหลืออยู่บริเวณเนินนมสาว เลยจุดพัทยาบีชไปประมาณ 400 เมตรนั้น (4 ก.ค. 61) นาวาโท ไชยนันท์ พีระณรงค์ อายุ 60 ปี อดีตมนุษย์กบหน่วยซีล ซึ่งเป็นบิดาของนุ่น-ณัชชานันท์ พีระณรงค์ พิธีกรและดีเจชื่อดัง ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานครั้งนี้ เพิ่งเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ เมื่อคืนนี้ (3 ก.ค. 61) โดย นาวาโท ไชยนันท์ เผยว่า ปัจจุบันตนเกษียณอายุราชการแล้ว ซึ่งตนเกษียณก่อนกำหนดมาได้ประมาณ 2 ปี ปัจจุบันทำสวนอยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ น.ท.ไชยนันท์ กล่าวต่อว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นตนก็ได้ติดตามข่าวอยู่ตลอดเวลา โดยจะมีการแจ้งข่าวสารในกลุ่มไลน์ของหน่วยซีล […]

หน่วยซีลถวายหัวหมูแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังพิชิตภารกิจสำเร็จ

  เมื่อเวลา 09.20 น. วันที่ 4 กรกฎาคม ที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร.กร./NAVY SEAL) ได้มีการนำหัวหมู 1 หัว ดอกไม้จัดใส่พาน 1 ชุด พร้อมด้วยอาหารอีก 1 ถาด เพื่อนำมาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังจากสามารถค้นหาน้องๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ได้สำเร็จ ทั้ง 13 คนปลอดภัย เหลือเพียงภารกิจการพาน้องๆ ออกมาจากถ้ำโดยปลอดภัยเช่นกัน ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

ส่องการฝึกสุดอึดของ’มนุษย์กบ'(seal) 1ในกลุ่มฮีโร่ที่เข้าช่วยเหลือเด็กและโค้ช13คนที่ถ้ำหลวง(ภาพชุด+คลิป)

  ยังค้นหากันต่อไปด้วยใจจดจ่อสำหรับการหายตัวไปในถ้ำหลวงของโค้ชและนักฟุตบอลเยาวชน 13 คน ซึ่ง 1 ในกลุ่มฮีโร่ที่เข้าไปช่วยเหลือก็คือหน่วยซีล (seal) หรือมนุษย์กบ ที่หลายคนรู้จักกันดีว่าอึดเหนือมนุษย์ มาทำความรู้จักกันอีกครั้งว่าพวกเขาคือใคร ฝึกหนักแค่ไหน ประวัติความเป็นมา ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังทางเรือของทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ต่างก็ได้ส่งหน่วยรบพิเศษซึ่งเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่ได้รับการฝึก ให้มีขีดความสามารถเหนือทหารทั่วไปเข้าปฏิบัติการทำลายกองเรือและสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้าม ทำการก่อวินาศกรรมและปฏิบัติการลับอื่นๆ ซึ่งผลการปฏิบัติของแต่ละฝ่ายต่างก็สร้างความเสียหายให้กับฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงแล้วแต่ภารกิจของหน่วยรบพิเศษก็ไม่ได้จบสิ้นไปด้วย ตรงกันข้ามกลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านองค์บุคคล องค์วัตถุและองค์ยุทธวิธี สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหม ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งหน่วยทำลายใต้น้ำขึ้น และได้เชิญผู้แทนเหล่าทัพกับกรมตำรวจไปประชุม เรื่อง การจัดตั้งหน่วยฝึกว่ายน้ำ ร่วมกับ จนท.ทร.สหรัฐฯ ประจำหน่วย MAAG (MILITARY ASSISTANCE ADVISORY GROUP) การประชุมคราวนั้นที่ประชุมมีมติให้ กองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งหน่วยฝึก และจากการหารือระหว่าง กองทัพเรือ กับ MAAG ซึ่งได้แนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยฝึก ถ้าสรุปสั้นๆ ก็คือ เขาฝึกกองกำลังให้อึดเป็นพิเศษ เป็นสายลับที่ดีเยี่ยม เป็นกำลังที่ปกป้องประเทศได้สุดยอด อดทนต่อสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ได้ […]

error: