อินโดฯ แบน “Temu” แพล็ตฟอร์มจากจีน ปกป้องSMEsในประเทศ

Advertisement 7 ต.ค.67 มติชนออนไลน์ รายงานโดยอ้างอิงจากข่าวต่างประเทศว่า อินโดนีเซียยืนยันคำสั่งแบนแพลตฟอร์ม Temu อีคอมเมิร์ซน้องใหม่มาแรงของจีน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็ก และละเมิดระเบียบข้อบังคับด้านการค้า Advertisement นายบูดี อารี เซเทียดี รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารอินโดนีเซีย ย้ำว่า การขายตรงจากโรงงานถึงลูกค้าของ Temu เป็นการละเมิดข้อบังคับด้านการค้าของอินโดนีเซียที่จะต้องมีตัวกลางในการค้าขาย พร้อมกับย้ำด้วยว่า การอนุญาตให้ Temu ทำการค้าในอินโดนีเซีย จะส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ Advertisement ข่าวระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้จับตาดู Temu อย่างใกล้ชิด ในความพยายามที่จะเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Temu ซึ่งเป็นของ PDD Holdings เจอกับความล้มเหลวในการจดทะเบียนในหลายประเทศ เนื่องจากข้อขัดแย้งด้านเครื่องหมายการค้า และการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2023 อินโดนีเซีย ได้แบน ติ๊กต็อกช้อป อีกหนึ่งแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ โดยอ้างว่าต้องการปกป้องผู้ประกอบการค้าขนาดเล็กและข้อมูลของผู้ใช้

Temu แอปช้อปปิ้งราคาถูก จากจีน ที่หลายประเทศต้องรับมือ

การเข้ามาบุกตลาดในไทยของ Temu ที่มาพร้อมด้วยสโลแกน “Shop Like a Billionaire” (ช็อปปิ้งอย่างกับเป็นเศรษฐี) เนื่องด้วยสินค้าที่ขายในแอปฯ นั้นมีราคาถูกมากๆ จนก่อเกิดเสียงวิจารณ์อย่างมากว่า การเข้ามาของ Temu จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจค้าปลีกของไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่อาจสู้ราคา Temu ได้ จนอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคนไทยเอง นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย โดยปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดของการช็อปปิ้งออนไลน์ในประเทศไทยอยู่ที่ Shopee 49% Lazada 30%) และ TikTok Shop 21% การมาพร้อมสินค้าในราคาที่ถูกแสนถูก อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นล่อใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้าฟรี ส่วนลดที่มากถึง 90% จัดส่งอย่างรวดเร็วภายใน 4-9 วัน คืนสินค้าได้ภายใน 90 วัน รับเงินคืนได้เต็มจำนวนอีกด้วย ซึ่งทำให้ Temu ยิ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเปิดบริการแล้วใน 49 ประเทศทั่วโลก มีผู้ใช้งานทั่วโลก 167 ล้านยูเซอร์ และมียอดดาวน์โหลดแอปฯ ทำสถิติสูงที่สุดในปีนี้ ตลาดใหญ่ของ Temu […]

พาณิชย์เตรียมเชิญอินฟลูฯ ต่างชาติ ช่วยไลฟ์ขายสินค้าไทย ลดขาดดุลจีน

13 ส.ค.67 ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุผ่าน Facebook ว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดมหกรรม Live Commerce ในช่วงเดือนกันยายน โดยให้ Influencer จากต่างประเทศเข้ามาคัดเลือกสินค้าไทย นำไป Live เพื่อขายสินค้าจากประเทศไทยไปยังผู้บริโภคในประเทศจีน ซึ่งขณะนี้มีการสำรวจสินค้าไทยซึ่งเป็นที่ต้องการของคนจีนจำนวนกว่า 500 รายการสินค้า เพื่อทำการซื้อขายดึงเม็ดเงินจากการส่งออกสินค้าเข้าสู่ประเทศ โดยมีเป้าหมายครั้งนี้อยู่ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ไทยขาดดุลการค้าจีน 19,967.5 ล้านดอลลาร์แล้ว นับเป็นการขาดดุลมานานหลายปีติดต่อกัน เนื่องจากจีนเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของการนำเข้ารวม (24.6%) และเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 2 ของไทย ซึ่งในปี 2566 มูลค่าส่งออกไปจีนคิดเป็นสัดส่วน 12% ภูมิธรรมกล่าวอีกว่า การเข้ามาของ Temu ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระดับโลก […]

“สรรพากร” ยอมรับ Temu ไม่ได้จดทะเบียนในไทย ไม่เข้าข่ายเสียภาษี

9 ส.ค.67 ข่าวช่อง 3 รายงานว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงปัญหาการทุ่มตลาดของสินค้าจีน ได้มีแนวปกป้องสินค้าไทยบนพื้นฐานของกฎหมายที่มีอยู่ ไม่เน้นเรื่องการตอบโต้ เพราะยอมรับว่าอาจจะกระทบกับความสัมพันธ์การค้าระหว่างประเทศซึ่งไทยก็ส่งออกสินค้าเกษตรให้จีนได้ อย่างไรก็ตามในส่วนตัวได้หารือกับทูตจีนประจำประเทศไทย ซึ่งทางทูตจีนได้แสดงความกังวลเช่นกันพร้อมที่จะหาแนวทางร่วมกันต่อไป พร้อมระบุการที่จีนจะบุกไทยหรือไทยจะบุกจีนถือเป็นแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศในโลกยุคใหม่ จีนมีสิทธิ์จะเข้ามา ไทยก็มีหน้าที่ที่จะปกป้องตัวเอง หากลุกขึ้นมาตอบโต้ ห้ามจีนทำการค้า ทางจีนเองก็อาจจะห้ามไทยได้ด้วยเหมือนกัน การค้าระหว่างประเทศก็จะไม่เกิดขึ้น ด้าน นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้ส่งอีเมล์ไปยังแพลตฟอร์ม Temu เพื่อแจ้งให้ทราบว่าหากแพลตฟอร์ม Temu เข้าข่ายเกณฑ์ที่กำหนดที่จะต้องจ่ายภาษีของไทย ก็ต้องเข้ามาจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ไม่เปิดเผยว่าทางแพลตฟอร์ม Temu ตอบกลับหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีได้จะต้องเป็นแพลตฟอร์มที่มาจดทะเบียนผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในระบบกว่า 180 ราย สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้กว่า 6000 ล้านบาท และต้องมีผู้ค้าของไทยมาทำการค้ากับแพลตฟอร์มนั้น และมีการเก็บค่าดำเนินการต่างๆเช่นค่าคอมมิชชั่น กรมสรรพากรก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับผู้ค้าไทย แต่ในส่วนแพลตฟอร์ม Temu ยังไม่เข้าข่ายดังกล่าว คือไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานสำนักงานในไทย และไม่ได้ทำการค้ากับพ่อค้าแม่ขายในไทย […]

error: