WHO ปรับเกณฑ์ฉีดวัคซีนโควิด-19แบบใหม่ เด็ก-วัยรุ่นไม่ต้องฉีดกระตุ้น

Advertisement รอยเตอร์ รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ปรับคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในการแพร่ระบาดของยุคสายพันธุ์โอไมครอน โดยแนะนำว่า เด็กและวัยรุ่นที่มีสุขภาพดีไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับวัคซีนกระตุ้นทุก 6-12 เดือนหลังจากฉีดกระตุ้นครั้งล่าสุด โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างเช่น อายุ หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย Advertisement WHO ชี้ว่า เป้าหมายของการปรับข้อแนะนำนี้ เพื่อมุ่งเน้นไปที่ความพยายามในการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่เผชิญความเสี่ยงจากโรคร้ายแรงหรือเสียชีวิตจากโควิด โดยพิจารณาจากภูมิคุ้มกันของประชากรทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน พร้อมย้ำว่า วัคซีนโควิด-19 และเข็มบูสเตอร์ มีความปลอดภัยต่อคนทุกช่วงอายุ แต่การปรับคำแนะนำเช่นนี้เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น การลดค่าใช้จ่ายก่อนที่จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนในกลุ่มนี้ Advertisement ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก ระบุว่า เด็กและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นกลุ่มที่มี “ลำดับความสำคัญต่ำ” สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมทั้งเรียกร้องให้นานาประเทศพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ภาระโรค (ความสูญเสียทางสุขภาพ การเจ็บป่วย พิการและเสียชีวิต) ก่อนจะฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ให้แก่ประชากรกลุ่มนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ย. 65 องค์การอนามัยโลก ประกาศการสิ้นสุดของการระบาดใหญ่นั้นอยู่ในระยะที่มองเห็น โดยการออกมาปรับข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุดสะท้อนภาพสถานการณ์ระบาดในปัจจุบันและระดับภูมิคุ้มกันทั่วโลก แต่ก็ไม่ควรมองว่าเป็นคำแนะนำระยะยาวว่าจะเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นประจำทุกปีหรือไม่    

องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว

วันที่ 23 ก.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน นายเท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงหลังหารือกับคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) แล้ว นายกีบรีเยซุส ระบุว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถมีฉันทามติว่าจะประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมด เราพบการแพร่ระบาดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการแพร่ระบาดแบบใหม่ที่เรายังเข้าใจน้อยมากซึ่งเข้าเงื่อนไขการกำกับดูแลสาธารณสุขระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลทั้งหมด ตนจึงตัดสินใจให้การแพร่ระบาดของฝีดาษลิงนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเข้าสู่ประเทศว่าให้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและป้องกันกลุ่มเสี่ยง มีส่วนร่วมและปกป้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มการเฝ้าระวังและมาตรการด้านสาธารณสุข เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการในทางคลินิก ป้องกันการและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพิ่มการวิจัยเพื่อการใช้วัคซีนการรักษาและเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น นายกีบรีเยซุส ยังระบุด้วยว่า การแพร่ระบาดนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกประเทศต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในการให้บริการและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และออกมาตรการที่ปกป้องทั้งสุขภาพ สิทธิมนุษยชนและเกียรติของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ จะทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการรักษา แบ่งปันวัคซีน เช่นเดียวกับการออกมาตรการด้านการค้าและการเดินทางโดยเฉพาะการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่สนามบินได้ นอกจากฝีดาษลิงแล้ว องค์การอนามัยโลกเคยประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงโรคโปลิโอ ที่ยังคงมีผลจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเคยประกาศภาวะฉุกเฉินระดับเดียวกันนี้กับไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อปี 2552, การระบาดของอีโลบาในแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559, ไวรัสซิกาในปี […]

รองโฆษกนายกฯ ระบุ ‘อนุทิน’ เผยในที่ประชุมโลก ไทยสนใจบริจาควัคซีนให้แอฟริกา

“รองโฆษก นายกฯ” เผยหลัง “รองนายกฯ อนุทิน” เข้าร่วมประชุมบนเวทีโลก ระบุ ไทยสนใจบริจาควัคซีนให้ “แอฟริกา” ผ่านโครงการ AVAT น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 64 เวลา 18.00น . ตามเวลาท้องถิ่น นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส หลังการเข้าร่วมประชุม สมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ณ สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นวันที่ 2 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุขได้พบหารือทวิภาคีกับ นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ WHO ในประเด็นที่ให้ประเทศไทยเข้าร่วมใน BioHub System ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบสากลในการแบ่งปันเชื้อไวรัส สำหรับการพัฒนามาตรการป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ ที่รวดเร็ว มีการตอบสนองทางการแพทย์อย่างทันท่วงที รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการหารือนายอนุทิน […]

WHO ย้ำ ‘โควิด’ ยังห่างไกลคำว่าจบ จี้วิจัยวัคซีนรุ่นต่อไป เพื่อคุมระบาดระยะยาว

WHO ย้ำ ‘โควิด’ ยังห่างไกลคำว่าจบ จี้วิจัยวัคซีนรุ่นต่อไป เพื่อคุมระบาดระยะยาว คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาระบุเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังห่างไกลจากคำว่าจบ พร้อมกับเรียกร้องให้มีการวิจัยเพื่อการพัฒนาวัคซีนรุ่นต่อไป เพื่อใช้สำหรับควบคุมการแพร่ระบาดในระยะยาว ทั้งนี้สมาชิก 19 คนของคณะกรรมการดังกล่าวจะประชุมร่วมกันทุก 3 เดือนเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้คำแนะนำต่างๆ ที่เห็นว่าจำเป็น โดยองค์การอนามัยโลกได้ออกแถลงการณ์ถึงการประชุมที่มีขึ้นเมื่อวันศุกร์(22 ต.ค.)ที่ผ่านมาระบุว่า “ขณะที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นผ่านการใช้ประโยชน์จากวัคซีนโควิด-19 และการบำบัดรักษา, การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันละแบบจำลองการคาดการณ์บ่งชี้ว่า การแพร่ระบาดยังห่างไกลจากคำว่าจบ” คณะกรรมการดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการวิจัยเพิ่มเติมถึงการนำหน้ากากอนามัยป้องกันกลับมาใช้ใหม่ การระบายอากาศ และการพัฒนาวัคซีนรุ่นต่อไป ตลอดจนการวินิจฉัยและวิธีบำบัดรักษาสำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดในระยะยาว โดยชี้ว่าการใช้หน้ากากป้องกัน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมือ และการปรับปรุงการระบายอากาศภายในพื้นที่ปิด ยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ นอกจากนี้คณะกรรมการยังระบุว่าการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อจะทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางมนุษยธรรม การอพยพย้ายถิ่น และวิกฤตอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน ดังนั้นแต่ละชาติควรทบทวนแผนการเตรียมพร้อมและการตอบสนองรับมือของตนเองที่มีอยู่   ข่าวจาก : มติชน

แอร์เอเชีย ไม่ให้ขึ้นเครื่อง ถ้าสวมหน้ากากแบบมีวาล์ว ระบายอากาศ

แอร์เอเชีย ไม่ให้ขึ้นเครื่อง ถ้าสวมหน้ากาก แบบมีวาล์วระบายอากาศ กลัวโควิดแพร่ระบาด เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน เป็นต้นไป พร้อมทยอยเปิดบิน 11 เส้นทาง วันที่ 3 ก.ย.2564 รายงานข่าวจากสายการบินไทยแอร์เอเชีย แจ้งว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สายการบินจะกลับมาทยอยเปิดทำการบิน 11 เส้นทางภายในประเทศ หลังจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยประกาศอนุญาตให้ทำการบินได้ภายใต้มาตรการที่กำหนด ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด เบื้องต้นทางสายการบินได้ออกประกาศข้อปฏิบัติระหว่างการเดินทางบนเที่ยวบิน ผู้โดยสารทุกท่านต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง และเพื่อให้เป็นไปตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และ องค์การอนามัยโลก (WHO) สายการบินจะไม่อนุญาตให้สวมใส่หน้ากากชนิดที่มีวาล์วระบายอากาศ ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย.นี้เป็นต้นไป โดยสายการบินขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเดินทาง สำหรับผู้โดยสารที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยตามที่กำหนด โดยปัจจุบันอนุญาตให้มีการสวมหน้ากากทางการแพทย์ และหน้ากากผ้าได้ แหล่งข่าวจากสายการบิน กล่าวว่า ปัจจุบันหลายประเทศได้มีการประกาศข้อปฏิบัติระหว่างเดินทางบนเที่ยวบินใหม่ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยอนุญาตให้สวมใส่ได้เฉพาะหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เท่านั้น หน้ากากผ้าก็ไม่อนุญาต เนื่องจากมองว่าหน้ากากชนิดอื่นที่นอกเหนือจากหน้ากากแพทย์กันเชื้อโรคโควิด-19ไม่ได้ ซึ่งในอนาคตประเทศไทยก็อาจจะมีการปรับข้อปฏิบัติระหว่างเดินทางบนเที่ยวบินเช่นกัน   ข่าวจาก : ข่าวสด

WHO จับตา โควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ “มิว” เสี่ยงดื้อวัคซีน – หวั่นติดเชื้อทั่วโลกพุ่งใหม่

WHO จับตา โควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ มิว (Mu) หรือ B.1.621 มีความเสี่ยงดื้อวัคซีน เผยอัตราการติดเชื้อทั่วโลกกำลังกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง วันที่ 1 กันยายน 2564 เว็บไซต์แชนเนลนิวส์เอเชีย และเอเอฟพี รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยการพบโควิด 19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ “มิว” (Mu) ที่อยู่ระหว่างการเฝ้าสังเกต โดยไวรัสสายพันธุ์นี้ถูกพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบีย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก ระบุว่า สายพันธุ์มิว หรือ B.1.621 เป็นสายพันธุ์ที่ควรเฝ้าจับตา โดยพบว่ามีความเสี่ยงต่อการดื้อวัคซีน พร้อมทั้งเน้นว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น “สายพันธุ์มิวมีกลุ่มของการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ถึงคุณสมบัติที่เป็นไปได้ในการหลบภูมิคุ้มกัน” จดหมายข่าว ระบุ โดยนับตั้งแต่มีรายงานการพบสายพันธุ์มิว ในเดือนมกราคม 2564 ก็มีรายงานการพบเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศอื่น ๆ ของทวีปอเมริกาใต้และยุโรป ทั้งนี้ แม้ว่าสัดส่วนการระบาดทั่วโลกจะต่ำอยู่ที่ 0.1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในประเทศโคลอมเบีย คิดเป็นอัตราสูงถึง 39 เปอร์เซ็นต์ […]

ด่วน! ครม.เปลี่ยนข้อสั่งการ ‘บิ๊กตู่’ ไฟเขียวสั่งซื้อชุดตรวจโควิด ATK ไม่ต้องผ่าน WHO

ด่วน! ครม.เปลี่ยนข้อสั่งการ ‘บิ๊กตู่’ ไฟเขียวสั่งซื้อชุดตรวจโควิด ATK ไม่ต้องผ่าน WHO เนื่องจากเป็นการนำมาใช้ในกรณี Home use วันที่ 24 ส.ค.64 รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน พิจารณาการดำเนินการจัดหาเครื่องตรวจเชื้อโควิด แบบ Antigent test kit (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชิ้นนั้น มีการแก้ไขข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่เคยระบุก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะประเด็นที่ต้องได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) นั้น มีการแก้เป็นไม่ต้องใช้ยี่ห้อที่ WHO รับรอง เนื่องจากเป็นการนำมาใช้ในกรณี Home use ที่ปัจจุบันยังไม่มียี่ห้อใดได้รับการรับรอง พร้อมกับกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดซื้อ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา คำสั่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การเร่งดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบแอนติเจน (Antigen Test Kit : ATK) ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีจำหน่ายในไทย […]

‘หมอนิธิพัฒน์’ เผยWHO รับโควิด ติดต่อจากการสูดละอองลอยที่ปนเปื้อนเข้าไป

‘หมอนิธิพัฒน์’ เผยองค์การอนามัยโลก รับโควิด ติดต่อทางระบบหายจาก จากการสูดเอาละอองลอยที่ปนเปื้อนเข้าไป ชี้เครื่องฟอกอากาศใช้ลดปริมาณได้ วันที่ 22 ส.ค.64 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความความรู้เรื่องโควิด-19 ความว่า ไหนๆ ก็อยู่ในสภาวะจำทนที่ฝ่ายบริหารสถานการณ์โควิดจัดมาให้ คนไทยคงต้องทนอยู่กันยาวกับโรคระบาดนี้ไปอีกพักใหญ่ ปัญหาที่จะพบเจอกันต่อไปคือ เราจะทำลายเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศภายในอาคารโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะ และในบ้านเรือนที่ใช้ระบบปรับอากาศ กันได้อย่างไร หลังจากปากแข็งมากว่าปี ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ยอมรับว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ทางระบบการหายใจ (airborne) โดยการสูดเอาละอองลอย (aerosols) ที่มีไวรัสปนเปื้อนเข้าไป (WHO, 2021b. https://www.who.int/…/novel…/advice-for-public) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องลดการแพร่กระจายเชื้อภายในอาคารที่มีการระบายอากาศแบบระบบปิด หลายคนสงสัยว่า เครื่องฟอกอากาศชนิดเคลื่อนย้ายได้ (portable air cleaner, PAC) ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับกรอง PM2.5 จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ได้หรือไม่ จากการศึกษาในประเทสสเปน โดยการใช้ PAC ชนิดหนึ่งที่ใช้ HEPA filter ขนาดกรองอนุภาค 0.1 […]

หมอชนบท ตอบชัดๆ คนอ้างหาไม่เจอ ชี้ ATK มาตรฐาน WHO มี 4 รายการ

หมอชนบท ตอบคำถามคนอ้างหาไม่เจอ ชี้ชัดๆ ATK มาตรฐาน WHO มี 4 รายการ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม เพจเฟซบุ๊กชมรมแพทย์ชนบท เขียนข้อความทางเฟซบุ๊กเรื่อง ความเข้าใจพื้นฐานเรื่อ​ง​ ATK ตอนที่1 ATK​ ที่องค์การอนามัยโลกรับรองมี 4 รายการ​ ระบุว่า ภาษาสากลสำหรับ​ ATK​ ทั่วโลกใช้คำว่า​ RDT​ Rapid Diagnostic Test. ไม่ได้ใช้​ ATK ซึ่งน่าจะสถาปนาศัพท์โดยประเทศไทยกระมัง​ หากไปค้นจะพบว่า​ WHO​ รับรองไว้​ 4 รายการ คำว่าองค์การอนามัยโลกรับรองนั้น ภาษาทางการใช้คำว่า Emergency Use Listing หรือ​ EUL ซึ่งหมายถึงรายการที่องค์การอนามัยโลกอนุญาตให้ใช้ กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน ซึ่งถือเป็นรายการที่องค์การอนามัยโลกรับรองมาตรฐานให้องค์การระหว่างประเทศซื้อจากหน่วยจากบริษัทเหล่านี้ เนื่องจากได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานจากห้องปฏิบัติการของ WHO​และภาคสนามแล้ว ดังนั้น ที่หลายคนบอกว่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลก หรือ WHO Standard ไม่มี […]

สธ.ขออย่าด้อยค่าวัคซีน เตรียมสั่งซิโนแวค 12 ล้านโดสมาฉีดไขว้-ยันกระตุ้นภูมิดี

สธ.ขออย่าด้อยค่าวัคซีน ทุกตัวที่ WHO รับรองป้องกันป่วยหนักตายได้ เตรียมสั่งซิโนแวค 12 ล้านโดสฉีดไขว้-ยันกระตุ้นภูมิดี ใช้เวลารวดเร็ว เมื่อวันที่ 17 ส.ค.64 นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า วัคซีนโควิด-19 ทุกตัวที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองใช้งาน จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักเรื่องป้องกันการเสียชีวิตและลดป่วยรุนแรง ไม่ควรไปด้อยค่าตรงนั้น และตัวเลขใช้งานจริงๆ จะเก็บรวบรวมศึกษา และมีความจำเป็นนำวัคซีนมาใช้ในสูตรที่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในเวลารวดเร็ว เช่น ซิโนแวค คณะกรรมการวิชาการติดตามโดยตลอด ในฐานะที่เป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรอง WHO ยังได้ประโยชน์ดีอยู่ การนำมาฉีดเป็นเข็มแรกและไขว้ด้วยแอสตร้าฯ พบว่า ภูมิขึ้นสูงดีมาก ไม่ต้องรอ 3 เดือนแบบแอสตร้าฯ 2 เข็ม แต่ใช้เพียง 3-4 สัปดาห์ ก็ฉีดเข็มสอง ปรากฏว่าภูมิคุ้มกันขึ้นสูงดีมากๆ ทำให้กระตุ้นภูมิรวดเร็ว เรื่องการจัดหาวัคซีนจะเป็นประโยชน์ที่จะนำซิโนแวคมาใช้ ตอนนี้มีแผนจัดหามาเพิ่มเติมอีก 12 ล้านโดส ทำให้ข้อจำกัดแอสตร้าฯ ที่มีปริมาณการส่งมอบไม่สูงนัก มาไขว้กันกับซิโนแวค กระตุ้นภูมิอย่างเร็วและกว้างขวางต่อไป เมื่อถามถึงกรณีแนวทางการใช้วัคซีนซิโนแวคที่จะซื้อเพิ่ม […]

1 2
error: