กกต.เลื่อนแถลงผลคะแนนเลือกตั้ง อ้างบางหน่วยเจอภัยพิบัติ​ นัดแถลงใหม่ 10.30 น.

Advertisement 15 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเวลา 01.15 น. สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แจ้งสื่อมวลชนที่เฝ้ารอการแถลงข่าวของ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ที่ได้นัดว่าจะมีการแถลงข่าวภายหลังการนับคะแนนผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป โดยนัดว่าจะแถลงรอบแรกภายหลังการปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา 20.30 น. แต่ก็ได้เลื่อนออกไปเป็นระยะๆ เนื่องจากผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากที่เคยกำหนดเอาไว้ในเวลา 23.00 น. อีกทั้งการนับคะแนนก็ล่าช้าออกไป Advertisement Advertisement โดยในเวลา 01.15 น. ยังนับคะแนนได้เพียงร้อยละ 84.05 ซึ่ง กกต.จะแถลงสรุปก็ต่อเมื่อคะแนนถึงร้อยละ 95 แต่แล้วก็มาแจ้งยกเลิกการแถลงข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์ของ กกต.ได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ไม่แถลงข่าว เนื่องจากบางพื้นที่เกิดภัยพิบัติ ฝนตก และน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถส่งคะแนนได้ครบ หรือตามเวลา จึงยังไม่แถลงผลการเลือกตั้งโดยจะแถลงอีกครั้งในช่วงเช้า เวลา 10.30 น.   ข่าวจาก : มติชน

ชัชชาติเตรียมเสนอ กกต.ใช้ AI ตรวจสอบนับคะแนน

10 เม.ย. 2566 ที่ศาลาว่าการกทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม. เรื่องความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ของกทม. ว่า ได้เน้นย้ำเรื่องความโปร่งใสในการจัดการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งล่วงหน้า ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้ดูแลด้านความปลอดภัย การรักษาบัตรเลือกตั้ง ตั้งแต่รับบัตรมาจาก กกต. และการเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว โดยนำเทคโนโลยีป้องกันไม่ให้มีใครเข้าออกห้องที่เก็บรักษาบัตร หากมีใครไปยุ่งหรือขยับกล่องลงคะแนนก็จะมีสัญญาณเตือนทันที และจะมีการถ่ายทอดสด ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้ว่า จะไม่มีการเปลี่ยนบัตรลงคะแนนได้เด็ดขาด รวมถึงกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนในการเลือกตั้งโปร่งใสครั้งนี้ โดยสามารถแจ้งเหตุผ่านทราฟฟี่ฟองดูว์ เลือกเมนูหลักเรื่องเลือกตั้ง แจ้งเหตุในเมนูย่อยเรื่องความไม่โปร่งใส สามารถแจ้งเหตุ หากพบเห็นเรื่องผิดกฎหมายเลือกตั้งใดๆ เช่น การซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่ง กทม.จะรวบรวมข้อมูลส่งให้กับ กกต.ดำเนินการต่อไป รวมถึงเรื่องของป้ายหาเสียง ที่ไม่ทำตามระเบียบในการติดประกาศป้าย ประชาชนก็สามารถแจ้งได้เช่นเดียวกัน นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับในวันเลือกตั้ง ได้มอบ นายศานนท์ หวังสร้างบุญ […]

กกต.สั่งเพื่อไทย แจงที่มา-วงเงิน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” หลังพบแจ้งข้อมูลไม่ครบ

8 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี นายเศรษฐา​ ทวี​สิน​ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี​พรรคเพื่อไทย​ ปราศรัยชูนโยบายแจกเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลให้​คนไทยอายุ 16 ปีขึ้นไปคนละ 10,000 บาท​นั้น ทั้งนี้ มีรายงานว่าพรรคเพื่อไทย (พท.) มีการแจ้งนโยบายหาเสียงดังกล่าวมายังกกต.ตามมาภายหลังนายเศรษฐา​ ทวี​สิน​ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี​พรรคเพื่อไทย​ ปราศรัยโดยแจ้งนโยบายหาเสียงตามมาตรา 57 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 แล้ว แต่ไม่มีการระบุวงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงิน รวมทั้งยังมีอีกหลายนโยบายที่ไม่ได้ระบุวงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงิน โดยกกต.จะมีการแจ้งให้พรรคดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ มาตรา 57 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 กำหนดว่า การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ใช้ในการประกาศโฆษณานโยบายใดที่ต้องใช้จ่ายเงินการประกาศโฆษณานโยบายนั้นอย่างน้อยต้องมี 1.วงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ ส่งความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย 3.ผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย หากพรรคการเมืองไม่ได้จัดทำรายการดังกล่าวให้กกต.สั่งให้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด   ข่าวจาก : มติชน

กกต.สรุปยอดสมัครส.ส.แบ่งเขต4,781คน 70พรรค ปาร์ตี้ลิสต์เกือบ2พัน

7 เมษายน ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงสรุปภาพรวม การเปิดรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และรับแจ้งรายชื่อบุคคล ที่พรรคการเมืองมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2566 ว่า การรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีพรรคการเมืองส่งผู้สมัคร 70 พรรค จำนวน 4,781 คน โดย กทม.เป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครมากที่สุด 498 คน ส่วนการรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มี 67 พรรคการเมืองส่งผู้สมัคร รวมจำนวน 1,899 คน ส่วนการเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จาก 43 พรรค จำนวน 63 คน ทั้งนี้ กระบวนต่อจากนี้ไปจะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จะตรวจสอบโดย กกต. ส่วนแบบแบ่งเขต จะตรวจสอบโดยผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขต […]

กกต.แจงใช้บัตรเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่สับสนแน่นอน

1 เม.ย. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว ชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข (เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น โดยรูปแบบบัตรเลือกตั้ง นับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ 1.บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม หมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด 2.บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี […]

กกต.เตือน “ห้ามรถแห่” หลังสมัคร ส.ส. ชี้เข้าข่ายจัดมหรสพ

1 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารข่าวเผยแพร่กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดให้วันที่ 3 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และในวันที่ 4 – 7 เมษายน 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นั้น สำนักงานกกต. ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้ง โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้ว ไม่ควรมีการจัดขบวนหรือกองเชียร์ออกจากสถานที่รับสมัครไปตามถนน ตำบล หรือหมู่บ้านในลักษณะนี้อีก เนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่า การจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ ถือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการหาเสียงด้วยการจัดให้มีการรื่นเริงซึ่งขัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง   ข่าวจาก : มติชน

จับตา! กกต.-กระทรวงต่างประเทศ ไม่อำนวยเลือกตั้งนอกประเทศ พิรุธเพียบ!

29 มีนาคม พรรคเสรีรวมไทย ส่งจดหมายถึง ประธาน กกต. และ รมว. การต่างประเทศ เรียกร้องขอให้อำนวยความสะดวกและจริงจังต่อการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร โดยระบุว่า จำนวนของคนไทยในต่างประเทศ จากรายงานของกรมการกงสุล เมื่อมกราคม 2566 คือ 1,385,157 คน โดยคาดว่าจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 1 ล้านคน การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีการจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรใน 67 ประเทศ มีผู้มาใช้สิทธิ 101,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.71 ของผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 119,2302 ราย จากตัวเลขข้างต้น จึงเห็นได้ว่า หากมีระบบการอำนวยความสะดวกประชาชนในการลงทะเบียนและการใช้สิทธิ จำนวนของประชาชนที่มาใช้สิทธิยังสามารถเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2562 อีกหลายเท่า สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ กลับพบปัญหาว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งกับกระทรวงการต่างประเทศกลับไม่ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งโดยสะดวก ดังนี้ ประการแรก ระบบในการอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีหลักฐานทั้งบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ ในกรณีนี้ มีคนไทยจำนวนหนึ่งมีประสบปัญหาเอกสารหมดอายุ […]

กกต.ประกาศ77จังหวัดทั่วไทย มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง52.28ล้านคน

22 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่กกต. กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค.2566 โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พ.ค. แยกรายจังหวัดรวม 77 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ​52,287,045 คน โดยจ.กรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 4,469,280 คน รองลงมา จ.นครราชสีมา มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,124,587 คน, อุบลราชธานี 1,477,644 คน, ขอนแก่น 1,453,689 คน และเชียงใหม่ 1,333,088 คน ตามลำดับ   ข่าวจาก : ข่าวสด

กกต.เปิด4ช่องทาง ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 25มี.ค.-9เม.ย.66

22 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตและนอกเขต ในวันที่ 7 พฤษภาคม โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขตเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนในเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม-9 เมษายน 2566 สำหรับการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 1.ยื่นคำขอด้วยตนเอง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือยื่นคำขอต่อเอกอัคราชทูตหรือผู้ที่เอกอัคราชทูตมอบหมาย 2.ยื่นคำขอทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ 3.ยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ตทางดิจิทัลผ่านแอพพลิเคชันของกรมการปกครอง (ThaID) 4.แอพพลิเคชั่น Smart Vote สามารถลงทะเบียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องนําส่งเอกสารและหลักฐานประกอบการลงทะเบียน โดยวิธีลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ คือ 1.เข้าสู่ระบบ […]

กกต.ประกาศแล้ว! จำนวน ส.ส.พึงมีทั่วประเทศ หากไม่รวมต่างด้าวเป็นผู้เลือกตั้ง

3 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต.ได้ลงนามประกาศ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องยกเลิกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. 2566 ลงวันที่ 31 ม.ค. 66 โดยอ้างถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการกำหนดจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 86(1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ว่า คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ ยังได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยเรื่อง จำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยจำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 มีจำนวน 65,106,581 คน จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 162,766 คนต่อ ส.ส. 1 คน และจำนวน ส.ส. 77 จังหวัด ซึ่งหลังจากนี้ ทางสำนักงานจะประสานไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำประกาศทั้ง 2 ฉบับลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป จำนวน ส.ส.พึงมี […]

1 2 3 4 16
error: