กรมบังคับคดี ชี้ช่องทางลูกหนี้บัตรเครดิต ลดภาระหนี้ช่วงโควิด
Advertisement Advertisement
Advertisement Advertisement
สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครปฐม รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี 1 อัตรา เงินเดือน 15,000 บาท วุฒิ ป.ตรี ในสาขาวิชาการบัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ขอและยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานประกกอบการสมัครด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครปฐม ถ.ราชมรรคา ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม บัดนี้-1 มี.ค.62 ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-3425-6437, 0-3424-1895 ((คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ดาวน์โหลดเอกสาร))
กรมบังคับคดี รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 1. เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน 12 ตำแหน่ง : ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป 2. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน 27 ตำแหน่ง : ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป 3. นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ 4 ตำแหน่ง : ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และเป็นผู้ที่สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป 4. นิติกรปฏิบัติการ 50 ตำแหน่ง : ได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรี […]
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงกรณี การบังคับคดีล้มละลายในคดี ของ สมรักษ์ คำสิงห์ ว่า ขณะนี้ สมรักษ์ ยังไม่ถือว่าเป็นบุคคลล้มละลาย และยังอยู่ในระหว่างการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยเจ้าหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์ได้นัดหมายสมรักษ์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน กิจการ หรือรายได้ที่มีทั้งหมด และหนี้สิน และสอบถามความต้องการ เปิดโอกาสให้ประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ในวันที่ 25 ก.ย.นี้ หากเข้าร่วมการประนอมหนี้ ทางศาลก็จะเรียก ประชุมเจ้าหนี้ เพื่อเจรจากำหนด ระยะเวลาการชำระหนี้สิน ซึ่งตามกฎหมาย การล้มละลายในส่วนของบุคคล เจ้าหนี้จะมีการฟ้องร้องบุคคลที่มีหนี้สินล้มพ้นตัวได้ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัวตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป น.ส.รื่นวดี กล่าวยังกล่าวว่า สำหรับกรณีที่สมรักษ์ รับราชการ นั้นว่า ไม่มีส่วนได้รับผลกระทบ แม้ตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน จะกำหนดลักษณะต้องห้ามการรับราชการ ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะขณะนี้ยังอยู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ หากตกลงกันได้ ก็ไม่อาจเป็นบุคคลล้มละลาย และการพิจารณาการเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ นอกจากดูเรื่องทรัพย์สิน […]
น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ระบุถึงขั้นตอนการบังคับคดีล้มละลาย สมรักษ์ คำสิงห์ อดีตฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก คนแรกของประเทศไทย และภรรยาว่า ขณะนี้ สมรักษ์ คำสิงห์ และภรรยา ยังไม่ถือว่าเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะคำสั่งศาลที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นเพียงขั้นตอนแรกของการบังคับคดีล้มละลายเท่านั้น โดยขั้นตอนต่อไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะออกหมายเรียกสมรักษ์ และภรรยามาสอบสวนเรื่องทรัพย์สิน และพูดคุยเรื่องการประนอมหนี้ เพราะตามกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์สามารถขอประนอมหนี้กับฝ่ายเจ้าหนี้ได้ เบื้องต้นทั้งคู่ต้องมาพบกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในวันที่ 25 ก.ย.นี้ โดยจะมีกระบวนการไถ่ถามที่มารายละเอียดของเงินทองต่างๆ โดยถามเบื้องต้นก่อนเลยว่ามีความประสงค์จะประนอมหนี้ก่อนล้มละลายหรือไม่ จึงเท่ากับว่าตอนนี้สมรักษ์ ยังไม่ได้ล้มละลาย ยังเหลืออีกหนึ่งขั้นตอน ทั้งนี้หากลูกหนี้ตกลงที่จะขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมด และแบ่งทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ จะเรียกลูกหนี้ และเจ้าหนี้มาพูดคุยเพื่อนประนอมหนี้ตกลงการชำระเงิน ตั้งเวลาการผ่อนชำระ และจำนวนที่จะชำระในแต่ละเดือน เมื่อตกลงกันได้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เพื่อให้ไต่สวน หากศาลเห็นชอบตามข้อตกลง ก็จะได้รับการปลดจากการล้มละลาย แต่หากลูกหนี้ตกลงกับเจ้าหนี้ไม่ได้ ก็ต้องจำเป็นต้องยึดทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งหมด เพื่อนำมาชำระให้กับเจ้าหนี้ และถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนรายได้ที่สมรักษ์ ระบุว่า ได้จากวงการบันเทิงได้ละ 100,000 บาทนั้น โดยเงินในส่วนนี้ต้องส่งให้กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทั้งหมด เงินส่วนนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปใช้หนี้ อีกส่วนหนึ่ง ให้สมรักษ์และภรรยา กรณีที่ทั้งคู่เรียกร้องค่าเลี้ยงชีพกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ […]
เรื่องโดย : มาม่ากับปลากระป๋อง เว็บไซต์ : https://pantip.com/topic/32137706 หลังจากที่ผมเขียนและเผยแพร่แชร์ประสบการณ์ที่ผมได้ไปประมูลซากมาจากกรมบังคับคดี ที่ชื่อว่า “ทำกำไรได้ 250,000 จากซากปรักหักพัง!!! http://goo.gl/6aTawr” จากบทดังกล่าวผมได้รับคำถามเกี่ยวกับการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีมามากมายหลายคำถาม ผมอาจจะตอบคำถามได้ไม่ครบทุกท่านก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ แต่ในบทนี้ละครับผมจะมากะเทาะเปลือกให้ฟังกันแบบหมดพุงเลยทีเดียว [แชร์หมดเปลือก] การลงทุนในอสังหาฯ ประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี ซึ่งในบทนี้ผมจะอธิบายเน้นหนักไปทาง รายละเอียด วิธีการ และ เทคนิค ข้อควรระวังต่างๆ ที่ผมใช้นะครับ ดังนั้นในการบทนี้ผมขอเขียนอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเป็นกรณีการลงทุนล่าสุดของผม ซึ่งผมไปประมูลบ้านทาวน์เฮ้าส์จากกรมบังคับคดีได้มาครอบครองเพิ่มอีก 1 หลัง (และตอนนี้มีคนเสนอซื้อเข้ามาหลายราย ถ้าขายน่าจะทำกำไรได้หลายหมื่นบาทอาจถึงแสนถ้าขายให้คนนอก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดูเหมือนว่าน้าสาวผมเองบอกสนใจอยากได้บ้านหลังนี้ น้าสาวท่านนี้ก็ดูแลและช่วยเหลือผมมาตลอด ดูท่าแล้วถ้าขายให้น้าสาวผมอาจจะไม่เอากำไรเลยก็เป็นได้ 5555+) ในบทนี้ผมขอแยกออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 การค้นหาและการพิจารณาการเข้าสู้ราคา ส่วนที่ 2 การวางเงินประกันและการประมูล ส่วนที่ 3 ขั้นตอนและวิธีการเมื่อประมูลทรัพย์ได้ ส่วนที่ 1 การค้นหาและการพิจารณาการเข้าสู้ราคา เริ่มจากคำถามที่ว่า … เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีบ้านหลังไหนกำลังจะออกประมูล? วิธีการแรก คือ เข้าไปติดต่อที่กรมบังคับคดีของจังหวัดหรือสาขานั้นโดยตรง แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าขอดูทรัพย์ที่กำลังจะประมูลแล้วเจ้าหน้าที่จะนำแฟ้มใหญ่ๆหนามาให้เราพิจารณา วิธีการที่สอง คือ เข้าเว็ปไซต์ของกรมบังคับคดีโดยตรง หน้าเพจหลักของกรมฯ http://www.led.go.th/ […]