ขึ้นค่าแรง 400 บาท ปลัดแรงงานชี้ปรับบางกิจการ ต้องดูกำลังจ่ายนายจ้าง

Advertisement 6 กันยายน 2567 มติชน รายงานว่า นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยว่า ตามที่บอร์ดค่าจ้างจะต้องมีการประชุมในทุกเดือนนั้น แต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน ไม่มีการประชุมเนื่องจากอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ยังส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดมาไม่ครบ ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกมา Advertisement ล่าสุด ในเดือนกันยายนนี้ อนุจังหวัดฯ ได้ส่งตัวเลขเข้ามาครบแล้ว จึงมีกำหนดการประชุมประจำเดือนออกมาแล้ว โดยในวันที่ 9 กันยายน จะมีการประชุมของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เพื่อนำตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดมาพิจารณาในรายละเอียด ว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในภาพรวมของประเทศ ควรจะขึ้นเท่าไหร่ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้สำรวจประเภทกิจการที่ให้ค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 400 บาทต่อวัน มาเพื่อพิจารณาประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในกิจการประเภทดังกล่าวก่อน แต่ก็ต้องดูมติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ก่อน ส่วนบอร์ดค่าจ้างชุดใหญ่จะมีการประชุมกันในวันที่ 16 กันยายน Advertisement เมื่อถามว่าในการประชุมของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะมีการกำหนดสูตรการคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำเลยหรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า ยัง แต่จริง ๆ สูตรไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการคิดคำนวณสูตรเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเราต้องพิจารณาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ […]

“เพื่อไทย” มั่นใจค่าแรงขั้นต่ำ400 ไร้ปัญหา ต้องได้ทั่วไทย1ต.ค.นี้

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และต้องได้ทุกกิจการทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศในวันที่ 1 ต.ค.นี้   เพื่อเตรียมการผลักดันไปสู่การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ในปี 2570 ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่เคยชูธงหาเสียงไว้ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แม้การพิจารณาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ จะเป็นเรื่องของคณะกรรมการไตรภาคี แต่เมื่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล คณะกรรมการไตรภาคีก็ได้รับทราบนโยบายของรัฐบาลนี้มาตั้งแต่ต้น จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร   ยืนยันว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล ดำเนินการตามกรอบกอบกฎหมายทุกประการ ไม่มีการแทรกแซงจากฝ่ายใด ระหว่างนี้ทางรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน จะเร่งหามาตรการเพื่อช่วยลดภาระ SME ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ต่อไป   “ผมมั่นใจว่านโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะไม่เกิดปัญหาหรืออุปสรรคใด สิ่งที่ควรทำควบคู่กับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คือการเสริมทักษะพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นายอนุสรณ์ กล่าว ข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์

รัฐบาล เปิดเหตุผลทำไมต้อง “ปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท – ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ”

(2 พ.ค.67) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ รวมทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ และขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำว่า ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจยกระดับวิถีชีวิตประชาชนของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สั่งการกำหนดแนวทางจนเกิดเป็นผลความสำเร็จ โดยได้ประกาศข่าวดีสำหรับผู้ใช้แรงงานไทย เตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 2567 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะนำประเด็นเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำเข้าหารือต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศนั้น กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า จะมีการหารือร่วมกับคณะกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี เพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ว่ากิจการใดมีความพร้อมหรือยังไม่พร้อม และถ้าหากยังไม่พร้อม ต้องทำอย่างไรให้พร้อม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน ในการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการประเภท […]

รมว.แรงงาน ชง ครม.วาระด่วน ลาคลอด 98 วัน รับเงินเดือนเต็ม

11 มกราคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจา กรณีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของนายสหัสวัต คุ้มคง ส.ส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ตอนหนึ่ง กรณีผู้ประกันตนลาคลอดบุตร โดยได้รับเงินรายได้ชดเชย ว่า “ขณะนี้กำลังเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในอนาคตอันใกล้ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน นำเสนอเรื่องการลาคลอดบุตร แบบมีการชดเชยเงินเดือน เท่าเงินเดือน โดยนายจ้างเป็นผู้จ่าย 49 วัน ส่วนอีก 49 วัน ประกันสังคม เป็นผู้รับผิดชอบต่อ ผู้ใช้สิทธิในการลาคลอดบุตร จะได้รับเงินเดือน 98 วัน โดยได้รับเงินค่าจ้างเต็ม จะนำเข้า ครม.ในสัปดาห์นี้ หรือสัปดาห์ถัดไป” นายพิพัฒน์ตอบเรื่องค่าแรงขั้นต่ำด้วยว่า การคิดค่าแรงขั้นต่ำ 20-30 ปีที่ผ่านมา ยังใช้ข้อมูล ฐานเดิมในทุก ๆ ปี ตนเพิ่งเข้ามาในกระทรวงแรงงาน มีการประชุมวันที่ 8 ธ.ค. 2566 และ […]

หมอโพสต์อยากย้ายประเทศหนี ร่ายยาวเงินเดือน 2.2 แสนไม่พอใช้

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ระบายความในใจ ในกลุ่มโยกย้าย โดยเล่าว่า ตนเป็นแพทย์เฉพาะทาง มีรายได้ประมาณ 220,000 บาทต่อเดือน มีลูก 1 คน และภรรยาที่ลาออกมาเลี้ยงดูลูกแบบฟูลไทม์ โดยตนมีความคิดที่อยากจะย้ายประเทศ แต่ติดที่ภรรยาไม่เอาด้วย ส่วนเหตุผลที่ตนอยากย้ายประเทศ เพราะรู้สึกว่าทำงานเท่าไร ก็ไม่พอใช้จ่ายในประเทศนี้ พอลองแจกแจงรายจ่ายในแต่ละเดือน แทบจะไม่เหลืออะไรเลย ค่าบ้าน 40,000 บาทต่อเดือน ค่ารถ 13,000 บาทต่อเดือน เงินเดือนภรรยา 30,000 บาทต่อเดือน (ตั้งใจให้ เพราะงานดูแลลูกและบ้าน คิดว่าเหนื่อยมาก) ค่าประกันลูก ประกันชีวิต ประกันรถ 20,000 บาทต่อเดือน ค่าลดหย่อนภาษี 30,000 บาทต่อเดือน ค่าเทอมลูกในอนาคต 25,000 บาทต่อเดือน (แพลน English Program โรงเรียนเอกชน) ค่าใช้จ่ายกองกลางในบ้าน 20,000 บาทต่อเดือน เงินใช้จ่ายส่วนตัว 15,000 บาทต่อเดือน เงินออมส่วนตัว 15,000 บาทต่อเดือน ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมภาษีที่ต้องจ่ายต่อปีอีกประมาณ […]

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่ม 2-16 บาท ภูเก็ตสูงสุด 370 บาท ชายแดนใต้น้อยสุด 330 บาท

8 ธันวาคม 2566 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 เรียบร้อยแล้ว โดยในที่ประชุมมีมติสรุปร่วมกันในการปรับขึ้น จำนวน 77 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดภูเก็ต อัตราค่าจ้าง 370 บาท 2) กลุ่มจังหวัดภาคกลางและปริมณฑล (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 6 จังหวัด อัตราค่าจ้าง 363 บาท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร 3) จังหวัดชลบุรี และระยอง อัตราค่าจ้าง 361 บาท 4) จังหวัดนครราชสีมา อัตราค่าจ้าง 352 บาท 5) จังหวัดสมุทรสงคราม อัตราค่าจ้าง 351 บาท […]

ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ปรับเพิ่มไม่ถึง 400 บาทต่อวันของขวัญปีใหม่ 2567

ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 จากกรณีที่ คณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคี ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง จะนัดประชุมกันในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อหาข้อสรุปเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานทั้ง 77 จังหวัด รอบใหม่ ก่อนจะมีมติออกมาอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นภายในสัปดาห์หน้า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เตรียมนำค่าแรงขั้นต่ำ 2566 เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อรับทราบความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือ ค่าจ้างขั้นต่ำ ของแรงงานทั่วประเทศ คาดว่าจะสรุปรายละเอียดเข้ามาเสนอให้ที่ประชุมครม. ภายในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 นี้ สำหรับอัตราขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ดูเหมือนว่าการปรับอัตรค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะไม่เท่ากันทั่วประเทศ และไม่ถึงวันละ 400 บาท ย้อนไทม์ไลน์ค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ดังนี้ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

นายจ้างขอทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ขอค้านแบบอัตราเดียว600บาททั่วประเทศ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันะ 600 บาทและเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี25,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย จะเป็นภาระหนักต่อเอกชนโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรงแม้ทยอยขึ้นใน 4 ปี หรือภายในปี 2570 เป็นการปรับขึ้นสูงถึง 40-60% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณตรงถึงภาคเอกชนที่ต้องเตรียมแบกรับภาระ รวมถึงมีโอกาสสูงที่จะทำให้นักธุรกิจต่างชาติชะลอการลงทุนในไทย เพราะข้อเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ถือเป็นการกระชากค่าแรงมากไปจึงต้องกลั่นกรองให้ดี เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระหนักให้ภาคเอกชน ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นวันละ 600 บาท จะเป็นไปได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว 7-10% และเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมองเป้าหมายการทำเศรษฐกิจเติบโตให้ได้ดีก่อน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงในระดับที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ และควรเพิ่ม Productivityแรงงานควบคู่กัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรตัดสินใจรอบด้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางแต่ละจังหวัดพิจารณาปรับค่าแรงให้สอดคล้องเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ “หากขึ้นค่าแรงทันทีจะได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงหลายด้าน หากนายจ้างมีต้นทุนสูงขึ้นบางส่วนอาจรับไม่ไหว ซึ่งอาจชะลอการจ้างงานลดพนักงาน หรือธุรกิจที่ใช้แรงงานมากอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตรวมถึงนักลงทุนใหม่ที่อาจปรับแผนลงทุนประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องหารือหลายส่วนและหวังว่าจะทบทวนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่ทุกภาคส่วนยอมรับ” แนะเลื่อนขึ้นไปปีหน้าห่วงเศรษฐกิจชะลอ นายธนิต โสรัตน์ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายส่วน คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด […]

เจ้าสัวสหพัฒน์ ห่วงขึ้นค่าแรง450 นักลงทุนอาจย้ายไปเวียดนาม ต้องศึกษาให้ดี

31 พ.ค. 2566 – นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันว่า ทั่วโลกยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและส่งออกลดลง ขณะที่ประเทศไทยภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นจากการมีต่างชาติกลับมาเที่ยวเพิ่มขึ้น แสดงว่าไทยยังมีอะไรหลายอย่างเป็นที่สนใจของต่างชาติ เช่น เฮลท์แคร์ เป็นต้น สำหรับแผนธุรกิจของสหกรุ๊ปในปี 2566 แม้ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อย่างเป็นทางการ แต่ยังเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในประวัติการณ์ โดยเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหญ่ที่ไม่เคยทำมาก่อนหลายโครงการ เพื่อให้รายได้เป็นตามเป้าที่ตั้งไว้มากกว่า 3 แสนล้านบาท “เราคิดต่างจากคนอื่น ในช่วงนี้ที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ ควรลงทุนให้เยอะจะดีที่สุด เพราะถ้าเก็บเงินสดไว้จะไม่มีความหมาย ถามว่าการค้าขายทุกปีมันยากขึ้นไหม ไม่ง่ายเลย แต่อยู่ที่เราปรับตัว ถ้าปรับตัวทันเหตุการณ์ อาจเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ถ้าเราปรับตัวช้า อาจจะสุ่มเสี่ยง” นายบุณยสิทธิ์ กล่าวถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาทว่า ธุรกิจของสหกรุ๊ปเป็นพ่อค้า ค่อนข้างปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ อย่างค่าแรงสูงขึ้น ต้องปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และต้องพยายามไม่ให้ของทุกอย่างขึ้นตามค่าแรง ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาเราพร้อมให้ความร่วมมือและปรับตัว นี่คือจุดเด่นของเรา สหกรุ๊ปเองได้ปรับคนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานหมดแล้ว รุ่นเก่าจะไม่มีอยู่ในธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการ ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องลองศึกษาให้ดี เพราะมีทั้งดีและไม่ดี ต้องพิจารณาหลาย ๆ ด้าน เราเองมีพันธมิตรลงทุนจากญี่ปุ่น ถ้าเกิดค่าแรงสูง […]

กระทรวงพาณิชย์ตอบชัด ค่าแรง450เอาอยู่ มีมาตรการติดตามต้นทุนใกล้ชิด

19 พ.ค.2566 ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงมาตรการดูแลราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ กรณีรัฐบาลใหม่ มีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท ว่า ปัจจุบันกรมการค้าภายใน มีมาตรการในการติดตามต้นทุนราคาสินค้าต่อเนื่องอยู่แล้ว ทั้งปัจจัย ค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมันที่มีต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า รวมทั้งราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ร.ต.จักรา กล่าวต่อว่า กรมไม่ได้กังวลกับนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาลใหม่ เพราะกรมก็มีนโยบายและแนวทางการดูแลราคาสินค้า โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านต้นทุนอยู่แล้ว ซึ่งการจะพิจารณาปรับราคาสินค้า จะต้องดูปัจจัยให้ครบทุกตัวที่มีผลต่อต้นทุน ในแต่ละรายการ สินค้าบางรายการต้นทุนค่าแรงอาจขึ้น แต่ต้นทุนค่าไฟฟ้า หรือ น้ำมัน อาจจะปรับลดลง ซึ่งก็ต้องพิจารณาภาพรวมของต้นทุนก่อน โดยขณะนี้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นต้นทุนการขนส่ง ได้ปรับราคาลดลงแล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ค.มาอยู่ที่ 32 บาท/ลิตร ขณะที่ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นทำให้ต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบถูกลง ร.ต.จักรา กล่าวอีกว่า นอกจากมาตรการติดตามต้นทุนแล้ว กรมยังมีมาตรการลดภาระค่าครองชีพอื่น ๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการพาณิชย์ลดราคา และโครงการธงฟ้า รวมทั้งมีการใช้มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ช่วยตรึงราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กรมยังไม่ได้มีการพิจารณาอนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มเติม แม้ว่าจะมีการเสนอขอปรับราคา อาทิ […]

1 2 3
error: