กฟน.แจง “ไฟแพงไม่เกี่ยวขึ้นค่าไฟ” แนะเปิดแอร์27องศา พร้อมเปิดพัดลม

Advertisement 19 เม.ย.2566 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA ในฐานะโฆษก MEA เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ที่มีผู้ใช้ไฟฟ้าสงสัยว่าค่าไฟสูงขึ้นเพราะการไฟฟ้าขึ้นค่าไฟนั้น ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง โดย MEA ยืนยันว่ายังใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้าจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราตามที่นโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด (ตรวจสอบได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/109/111) Advertisement สาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากช่วงนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานมากขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น โดยเห็นได้จากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maximum Demand) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ล่าสุด มีค่าเท่ากับ 8,904.66 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในวันที่ 18 เม.ย.2566 ซึ่งค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด มักจะพบว่าอยู่ในช่วงฤดูร้อนทั้งสิ้น โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน คือเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ยกตัวอย่างเช่น ในสภาวะอากาศปกติ เช่น อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากเราปรับอุณหภูมิแอร์ในห้องที่ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ […]

กกพ.พร้อมลดค่าไฟทันที7สตางค์ หลังกฟผ.ยืดหนี้

8 เม.ย.66 รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) แจ้งว่า ได้รับการประสานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)แล้ว ในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่แบกรับค่าไฟ เป็น 6 งวด เหลืองวดละ 22,000 ล้านบาท จากเดิมกำหนดชำระ 5 งวด งวดละ 27,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ค่าไฟลดลงทันที 7 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 4.70 บาทต่อหน่วย งวดพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 จากปัจจุบันกกพ.เคาะค่าไฟ 4.77 บาทต่อหน่วย แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หัวหนังสือที่ กฟผ.ส่งมาใช้คำว่า “กรณีศึกษาการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ประจำงวดพฤษภาคม-สิงหาคม2566” ไม่ใช่การแสดงเจตจำนงค์ขอขยายเวลาคืนหนี้เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน ซึ่งเรื่องนี้กกพ.ให้ความสำคัญ เพราะมีผลทางกฎหมาย หากระบุชัดเจนว่าต้องการยืดหนี้เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน กกพ.พร้อมปรับตัวเลขอยู่แล้ว เพื่อประโยชน์ประชาชน “ยกตัวอย่างเดือนมิถุนายน 2565 กฟผ.เคยส่งหนังสือถึงกกพ. หัวหนังสือใช้คำว่า “ข้อเสนอการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ประจำเดือนกันยายน 2565-ธันวาคม 2565” ซึ่งครั้งนั้นกกพ.จะให้ผู้ใช้ไฟคืนหนี้กฟผ.ทั้งหมด แต่กฟผ.ต้องการแบ่งเบาประชาชน จึงขยับค่าไฟไม่มาก และรับหนี้ไว้ เพื่อให้กกพ.ทำโครงสร้างทยอยคืนในปีนี้ ครั้งนั้นกกพ.ทำตาม […]

กกพ.เคาะค่าไฟอัตราเดียว 4.77บาทต่อหน่วย มีผล พ.ค.-ส.ค.

22 มีนาคม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. ครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ได้มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย กรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. […]

ข่าวดี! ค่าไฟไม่ขึ้นราคา งวด ม.ค.-เม.ย. 66 เรท4.72บาทเท่าเดิม

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ค่าไฟงวด ม.ค.-ม.ย.66 ยังตรึงราคาไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ได้แก่ กิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โรงแรม กิจการไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราว(ระหว่าง ก่อสร้าง) คือ อุตสาหกรรม การค้า การเกษตร การบริการ ทั้งหมดจะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 20.5% จากงวดปัจจุบัน ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่กระทบอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือเอฟที (Ft) ในรอบนี้มาจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามาทดแทนการลดลงของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่าตามการประมาณการ ปริมาณและราคาก๊าซธรรมชาติในการคิดค่า Ft ในรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2566 และภาระการทยอยจ่ายคืนหนี้ Ft กฟผ. “ในการประชุมครั้งที่ 58/2565 (ครั้งที่ 825) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม […]

กฟผ.เตือน ค่าไฟแพงถึงปีหน้า วอนช่วยกันประหยัด ต้นทุนจะได้ต่ำลง

3 ต.ค.2565 นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และโฆษก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าปี 2566 จะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักผันแปรตามราคาน้ำมัน ขณะที่ไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ถึง 20% ที่มีราคาสูงมาก หากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อต่อเนื่อง จะยิ่งทำให้ราคาแอลเอ็นจีมีแนวโน้มแพงมาก เช่น หากราคาแอลเอ็นจีอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อเทียบเป็นหน่วยค่าไฟฟ้าของไทย จะสูงถึงกว่า 13.30 บาทต่อหน่วย กระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแผนเชื้อเพลิงให้เหมาะสม ทั้งใช้ดีเซลทดแทนแอลเอ็นจีที่แพงกว่า ยืดอายุโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เพื่อบริหารต้นทุนค่าไฟฟ้า ซึ่ง กฟผ.ได้สั่งจ่ายไฟจากโรงไฟฟ้าต้นทุนที่ต่ำที่สุดก่อน เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ พร้อมปรับระบบไฟฟ้ารองรับพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นให้มั่นคงขึ้น จัดทำโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น นำพลังงานหมุนเวียนมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบต่างๆ “หากผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมกันประหยัด หรือใช้ไฟฟ้าให้น้อยลงมากที่สุด จะทำให้ใช้แอลเอ็นจีน้อยลง ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะต่ำลง” สำหรับการจัดทำโครงข่ายระบบไฟฟ้ามีความทันสมัย ยืดหยุ่น กฟผ.ได้ดำเนินการหลายรูปแบบ ได้แก่ ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (บีอีเอสเอส) ที่เชื่อมต่อกับระบบส่งไฟฟ้า หรือกริด สเกล […]

กกพ.เผย ค่าไฟต่ำกว่า 4 บาทไม่มีอีกแล้ว เตือนอาจพุ่งขึ้นอีก

(12 กันยายน 2565) เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยถึงวิกฤตพลังงานและแผนของประเทศว่า แนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมค่าไฟฐานที่ประชาชนต้องจ่ายในระดับต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย คงจะไม่ได้เห็นอีกแล้ว เนื่องจากเชื้อเพลิงมีการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยที่ราคาต่ำ ในสัดส่วนที่สูงได้ปรับลดลงจากปริมาณก๊าซที่จำกัด ส่งผลให้ไทยมีการนำเข้ามากขึ้นจากต่างประเทศ โดยเฉพาะรูปแบบก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) สัดส่วนที่มากขึ้นในการผลิตไฟ โดยที่ผ่านมา ในครึ่งปีแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน ประเทศไทยใช้ก๊าซ LNG ผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากปี 2563 ที่ใช้ก๊าซ LNG ผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง LNG ที่นำเข้าในปีนี้ เป็นลักษณะสัญญาระยะสั้น SpotLNG ราว 50 เปอร์เซ็นต์ ที่มีราคาแพงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าปรับสูงขึ้นจากอดีต ขณะที่การนำเข้าแบบสัญญาระยะยาว ทางผู้ขายมักจะไม่ทำสัญญาในระยะหลัง เพราะการขายตลาดจรได้ราคาสูงกว่า ซึ่งราคา LNG คิดเป็นต้นทุนการผลิตไฟราว […]

ก.พลังงาน จ่อชงครม.13ก.ย.นี้ ของบกลางช่วยเยียวยาค่าไฟพุ่ง

12 กันยายน กระทรวงพลังงาน เตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 13 กันยายนนี้ พิจารณาอนุมัติงบกลางปี 2565-66 วงเงิน 9,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าช่วยบรรเทาผลกระทบกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ (กิจการไฟฟ้าสวัสดิการฯ) เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน – ธันวาคม 2565 เพื่อให้ทันในการคำนวณบิลค่าไฟช่วงสิ้นเดือนกันยายนนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมมาตรการคาดจะใช้งบกลางฯ วงเงิน 8,000 ล้านบาท แต่ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ได้พิจารณาปรับงบประมาณช่วยส่วนลดค่าไฟของผู้ใช้ไฟไม่เกิน 500 หน่วย เพิ่มเป็น 9,000 ล้านบาท เนื่องจากตัวเลขที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงานกกพ.) คำนวณน้อยกว่าตัวเลขที่ 2 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) คำนวณออกมา […]

ครม.ไฟเขียว กฟผ.กู้8.5หมื่นล้านโปะค่าเอฟที ลุ้น13ก.ย.เคาะมาตรการค่าไฟกลุ่มเปราะบาง

6 ก.ย.65 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบการกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 8.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นวงเงินเสริมสภาพคล่องให้กฟผ. หลังจากมีภาระในการดูแลค่าเอฟที โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกัน ส่วนเรื่องการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยนั้น จะนำเอามติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีการประชุมฯที่กระทรวงพลังงานไปก่อนหน้านี้เข้าครม.ในวันที่ 13 ก.ย.นี้ ซึ่งเรียนกับพล.อ.ประวิตรในการประชุมครม.แล้ว ว่าจะนำเรื่องที่กบง.เห็นชอบเข้าสู่การประชุมครม.ในสัปดาห์หน้า ส่วนค่าเอฟทีรอบใหม่ที่จะดูแลให้กับกลุ่มเปราะบาง 2 กลุ่มนั้น จะดำเนินการให้ทันบิลค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย.ที่จะเรียกเก็บปลายเดือนนี้ ทั้งนี้แนวทางจะเป็นการทำคู่ขนานกันไปในเรื่องของการดูแลช่วยเหลือประชาชน และจะมีในเรื่องของการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ซึ่งหลายคนให้ความสนใจ โดยมีขั้นตอนต่างๆซึ่งเป็นความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ทั้ง 3 การไฟฟ้า และกระทรวงพลังงานเองเพื่อให้กระบวนการต่างๆในการอนุมัติมีความรวดเร็วมากขึ้น เพื่อให้ภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและความต้องการติดตั้งทำได้รวดเร็วมากขึ้น ข่าวจาก : ข่าวสด

เริ่มแล้ว! ค่าไฟ4.72บาท/หน่วย บ้านใช้เกิน500หน่วย ต้องจ่ายเต็ม รัฐไม่ช่วย

1 กันยายน 2565 ค่าไฟงวดใหม่รอบเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 ต้องปรับตามค่าเอฟที (ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ) ตามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่ปรับขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย เป็นอัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่าไฟฐานจะส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับประชาชนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราสูงสุดของไทย จากงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย โดยกกพ.) ได้แจ้งไปยัง 3 การไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2565 แหล่งข่าวกล่าวว่า การขึ้นค่าไฟครั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางและผู้ใช้ไฟน้อย ตั้งแต่ 1-500 หน่วยต่อเดือน โดยใช้งบกลางอุดหนุนแต่ล่าสุดยังไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากสำนักงบประมาณอยู่ระหว่างทำรายละเอียดการใช้งบประมาณกลางของปี 2565และ2566 อย่างไรก็ตามครม.ยังมีเวลาพิจารณาตลอดเดือนกันยายนนี้ เพราะการคิดค่าไฟจะคำนวณออกบิลช่วงปลายเดือนกันยายน แต่หากไม่ทัน กฟน.และกฟภ.ต้องรับภาระก่อนและรัฐบาลจะจัดสรรงบย้อนหลังให้ ส่วนกลุ่มผู้ใช้ไฟตั้งแต่ 501 หน่วยต่อเดือนขึ้นไปจะต้องจ่ายตามอัตราใหม่ […]

ก.พลังงานจี้มหาดไทย ชงใช้งบกลาง 8พันล้าน ช่วยลดค่าไฟ2กลุ่ม

30 ส.ค.2565 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เรื่องแนวทางช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เป็นประธาน มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2565 ที่ผ่านมา เป็นเวลา 4 เดือน เงินงบประมาณ 8,000 ล้านบาท ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 80% ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ หรือคิดเป็น 89% ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย นายกุลิศ กล่าวต่อว่า ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงจะเป็นผู้นำเสนอของบกลางจากสำนักงบประมาณ และสำนักงบประมาณจะเป็นผู้ทำเรื่องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาเห็นชอบต่อไป กระทรวงพลังงานไม่ได้เป็นผู้เสนอของบประมาณโดยตรง รายงานข่าวแจ้งว่า ความจริงการประชุม ครม. วันที่ 30 ส.ค.นี้ จะต้องอนุมัติงบประมาณเรื่องนี้แล้ว ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันค่าไฟงวดใหม่วันที่ […]

1 2 3 4 6
error: