ไขข้อสงสัย เหตุใดทหารอากาศต้องใส่ชุดหมี แล้วเหล่าอื่นใส่หรือไม่?

Advertisement   Advertisement นอกจากเครื่องแบบสีน้ำเงินครามที่เด่นเป็นสง่า หลายคนมักจะจำภาพชุดเท่ๆ ของ "ทหารอากาศ" ในชุดหมี หรือชุดสูทที่เย็บติดกันทั้งกางเกงทั้งเสื้อ รู้หรือไม่ว่าเหตุใดจึงต้องเป็นชุดนี้? แล้วเหล่าอื่นมีหรือไม่?   ภาพจาก กองทัพอากาศ   สมาชิกหมายเลข 909778 ได้ให้คำตอบไว้ในกระทู้ "ทำไมทหารอากาศถึงใส่ชุดหมีคะ เหล่าอื่นไม่เห็นใส่บ้าง" เว็บไซต์ https://pantip.com/topic/33104897 ดังนี้ ถ้าจำไม่ผิด ชุดนักบินเครื่องบินขับไล่จะมีอุปกรณ์ในชุดนักบิน เพื่อป้องกันแรง G ด้วย คัดลอกบทความที่เขียนโดย สรศักดิ์ สุบงกช ในบทความ"นั่งL39ไปดูการฝึกใช้อาวุธ"ที่เพิ่งผ่านตาท่านไปทั้งสี่ตอน ผมได้กล่าวถึงแรง"G”และชุด"G-Suit”ไว้หลายแห่งแต่ก็ไม่ได้ขยายความให้เข้าใจว่าที่เรียกว่า"แรงจี"และ"จีสูท"นั้นสำคัญอย่างไรต่อการบินด้วยเครื่องบินความเร็วสูง บทความชิ้นนี้จะเป็นการขยายความเพื่อให้แฟนคอลัมน์เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับการบินได้ดีขึ้น ผู้สนใจเกี่ยวกับการบินคงต้องเคยได้ยินมาบ้างกับเรื่องราวของแรงชนิดหนึ่ง คือ"แรงจี" G-force)ที่กระทำกับนักบินผู้บังคับเครื่องบินเล็กความเร็วสูง ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดไปว่า"G”คือตัวย่อของแรงดึงดูดของโลก"Gravitational force”ในภาษาอังกฤษซึ่งก็ไม่ผิดเสียทีเดียวเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่มาทำให้แรง"จี"สมบูรณ์ขึ้นเท่านั้น ถ้าตัวอักษร"G”ไม่ได้ย่อมาจากคำเต็มว่า"Gravitational”แล้วมันมาจากไหน? ถ้าจะไม่ให้อธิบายจนเป็นวิชาฟิสิกส์ก็พูดได้ง่ายๆว่าแรงจีคือ"อัตราเร่ง" acceleration) หมายความว่าเป็นความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยการยกตัวอย่างคือความเร็วของวัตถุเพิ่มจาก10มาเป็น20ก.ม./ช.ม.ในเวลา5วินาที ตรงนั้นแหละคืออัตราเร่งที่เพิ่มความเร็วขึ้นอีก10ก.ม./ช.ม.ในเวลา5วินาที แรงจีจะเกิดได้ต่อเมื่อมีอัตราเร่งเท่านั้น ถ้าอัตราเร่งไม่เกิดเพราะความเร็วคงที่ไม่ว่ามันจะสูงแค่ไหนก็ตามย่อมไม่เกิดแรงจี จะเกิดแรงจีได้ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานสองอย่างคืออัตราเร่งและน้ำหนักของวัตถุ คำว่าแรงจีจึงไม่ใช่ตัวย่อแต่เป็นคำเรียกเฉพาะสำหรับ"อัตราเร่ง"ในภาษาอังกฤษ มันถูกเข้าใจผิดว่าเป็น"แรง" force)เมื่อถูกเรียกว่า g-forceทั้งที่ในความเป็นจริงเป็นเพียงอัตราเร่ง มีหน่วยสากลเป็นระยะทางต่อวินาทียกกำลังสอง(m/s2 ) อัตราเร่งจึงเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของเวลาเท่านั้นเช่นตอนรถยนต์เริ่มออกตัว เมื่อความเร็วของรถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่วัตถุในรถคือตัวเรายังอยู่กับที่ จะรู้สึกถึงอัตราเร่งได้ชัดเจนเมื่อหลังถูกกดติดเบาะ […]

error: