เลขาฯศาลยุติธรรม ยอมรับ แจ้งความกลับกลุ่มแกนนำคัดค้านบ้านป่าแหว่งจริง! เผยจำเป็นต้องดูแลความปลอดภัยผู้พิพากษา-ยืนยันบ้านพักสร้างมาถูกต้อง

Advertisement   Advertisement เลขาธิการศาลยุติธรรม  เผย มีแจ้งความกลับกลุ่มแกนนำคัดค้านบ้านป่าแหว่งจริง ปกป้องสิทธิผู้พิพากษาถูกละเมิดนำภาพ-ชื่อสกุลติดประกาศเผยแพร่ ย้ำรอ ก.เกษตร เซ็นใช้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวน-งบรัฐย้ายที่ใหม่ไปเชียงราย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ได้เป็นประธานปิดการอบรมหลักสูตร ”พัฒนาสื่อมวลชนเพื่อการประชาสัมพันธ์ศาลยุติธรรมความรู้ทางกฎหมาย" นายสราวุธ ได้ตอบคำถามสื่อถึงความคืบหน้ากรณีการสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 แห่งใหม่ พร้อมอาคารที่พักอาศัยของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 กับข้าราชการประจำศาล ทดแทนอาคารเดิมที่จะย้ายจากพื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ป่าเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่ก่อนหน้านี้มีปัญหาพื้นที่การก่อสร้างกระทั่งมีการเรียกว่าบ้านป่าแหว่ง ว่า หลังจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ได้มีมติเห็นชอบให้ย้ายอาคารที่ทำการ และอาคารที่พักอาศัยของผู้พิพากษา-ข้าราชการศาล โดยขอใช้ที่ดินของศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้ทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ขณะนี้รอเพียงการแจ้งอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของกระทรวงเกษตรฯ และการจัดสรรงบประมาณมาเพื่อให้สร้างอาคารที่ทำการและที่พักอาศัยใหม่ในพื้นที่ จ.เชียงราย เมื่อถามข้อเท็จจริงกรณีที่มีการแจ้งความกลับกับแกนนำผู้คัดค้านที่ต้องการให้รื้อถอนอาคารที่พักอาศัยของผู้พิพากษาใน จ.เชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ หรือที่เรียกกันว่าบ้าน”ป่าแหว่ง” ได้นำภาพและรายชื่อของผู้พิพากษาในพื้นที่ดังกล่าวติดป้ายประกาศเผยแพร่เป็นจริงอย่างไรนั้น นายสราวุธ กล่าวว่า […]

อัยการฯ ชี้ข้อกฎหมาย เปิดช่องเลิกสัญญาสร้างบ้านพักตุลาการ รื้อถอนก็ทำได้!

  จากกรณีข้อพิพาทระหว่างประชาชนในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เรื่องการก่อสร้างบ้านพักตุลาการ ในพื้นที่เชิงดอยสุเทพนั้น และกลายเป็นกระแสสังคมส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยการในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว และขอให้มีการรื้อถอน ระงับโครงการนั้น เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้โพสต์เฟซบุ๊กอธิบายข้อกฎหมาย เกี่ยวกับสัญญาก่อสร้างโครงการที่ทำการเเละบ้านพักตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่จังหวัดเชียงใหม่มีข้อความ ว่า กรณีบ้านพักตุลาการของศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณเชิงดอยสุเทพ มีประเด็นข้อกฎหมายที่น่านำมาพิจารณา ผมจึงขอให้ความเห็นทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวในประเด็นข้อกฎหมายที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. ประเด็นแรก ภายหลังจากที่ผู้มีอำนาจหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า จะไม่มีการเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านพักตุลาการบนพื้นที่พิพาทอีกต่อไป การก่อสร้างบ้านพักตุลาการที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ยังมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างก่อสร้าง และมีข้อกฎหมายและข้อสัญญาที่เป็นทางออกของเรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร ในกรณีนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 137 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 กำหนดให้ส่วนราชการสามารถตกลงกับคู่สัญญาเพื่อเลิกสัญญาได้ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของทางราชการในการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป ตามระเบียบนี้ไม่ใช่ทางราชการไปบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการให้สิทธิคู่สัญญาที่เป็นหน่วยราชการที่จะไปตกลงกับคู่สัญญาที่เป็นเอกชนเพื่อเลิกสัญญา หากเห็นว่าการปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ หรือจะทำให้ราชการเสียเปรียบหรือเสียหายได้ ซึ่งเป็นการตกลงเลิกสัญญากันโดยสมัครใจของทั้งฝ่ายราชการและเอกชน […]

ไม่ต้องการป่าแหว่ง!! ประชาชนทวงคืนป่าดอยสุเทพรวมตัวกันแล้วที่ประตูท่าแพ(มีคลิป)

  เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่ประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีประชาชนทยอยออกมาตั้งแต่ช่วงเช้ากันอย่างคึกคักเพื่อเข้าร่วมการต่อต้านประกาศเจตนารมณ์ทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพกันอย่างมากมาย โดยประชาชนที่มาในครั้งนี้มีการสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์ในการขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ อีกทั้งยังมีริบบิ้นสีเขียวเพื่อรณรงค์เรียกร้องให้แสดงพลังบริสุทธิ์เพื่อแสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีขบวนจักรยานแสดงพลังประชาชนคนหัวใจสีเขียว เรียกร้องนายกรัฐมนตรี ให้รื้อบ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ ทั้งนี้ นายบัณรส บัวคลี่ ตัวแทนเครือข่าย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Bunnaroth Buaklee พร้อมระบุว่า ความท้าทาย 5 ประการของเรา 1. ผู้คนจะต้องออกมาเต็มข่วงประตูท่าแพ แน่นขนัดถึงขั้นล้นออก สร้างตำนานอีกบทหนึ่งของพื้นที่ประวัติศาสตร์คู่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้ 2. เราออกแบบนวัตกรรมการชุมนุมออนไลน์คู่ขนาน ผู้อยากร่วมแต่มาไม่ได้ ให้คลิกแชร์โพสต์ “ข้าพเจ้ากำลังร่วมชุมนุมออนไลน์คู่ขนาน” ในเพจเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าฯ ความท้าทายของเราก็คือ ยอดผู้เข้าร่วมชุมนุมออนไลน์ต้องหลักหมื่น 3. ทันทีที่ผู้ชุมนุมคนสุดท้ายเคลื่อนออกจากข่วงประตูท่าแพ จะต้องไม่มีขยะตกค้างแม้แต่ชิ้นเดียว นี่คือความท้าทายข้อที่สามของเรา เราจะสร้างบรรทัดฐานใหม่ของการชุมนุมแบบอารยะ ประกอบขึ้นจากผู้ชุมนุมที่มีคุณภาพและจิตสำนึกพลเมือง 4. เราจะมีรูปขบวนการเคลื่อนที่เป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม และมีความหมาย เป็นขบวนเคลื่อนไหวของประชาชนที่ไม่จำเป็นต้องเอ็ดตะโร ก้าวร้าว แต่ทว่า เปี่ยมไปด้วยน้ำหนักต่อรอง ไม่มีใครสามารถมองข้าม หรือปฏิเสธพลังการเคลื่อนไหวนี้ได้   5. ในวันนั้นเวียงเชียงใหม่เขตเมืองเก่า […]

error: