หมดปัญหาเรื่อง “น้ำไม่พอใช้-น้ำท่วมขัง” แก้ด้วยเทคนิค “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ทำง่ายๆได้ผลดีเยี่ยม!!(ชมคลิป)

Advertisement เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวทางการเกษตรที่กำลังมาแรงสำหรับการทำ ธนาคารน้ำใต้ดิน อีกหนึ่งไอเดียสุดเจ๋งสำหรับ บ่อกักเก็บน้ำใต้ดิน โดยล่าสุดทางเพจ "วีดีโอ เกษตร" ได้ออกมาเผยแพร่คลิปวิดีโอขั้นตอนวิธีการทำ พร้อมอธิบายหลักการอย่าละเอียด ว่าแล้วก็ไปชมพร้อมๆ กันเลยค่ะ การทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด ธนาคารน้ำใต้ศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของสถาบันนิเทศศาสนคุณ โดยท่านเจ้าคุณสมาน สิริปัญโญ การนำน้ำมาใช้ หากเราทำธนาคารน้ำใต้ดิน ให้มีขนาดที่น้ำสามารถกักเก็บไว้ใต้พื้นดินได้ ในขนาด และจำนวนที่เพียงพอให้น้ำสามารถเชื่อมถึงกันได้ เราสามารถขุดบ่อบาดาลใกล้ๆธนาคารน้ำใต้ดินของเราขึ้นมาใช้ได้พอสมควร วัสดุที่ต้องเตรียม  วัสดุที่ต้องเตรียม ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ยางรถยนต์ ท่อพีวีซี ก้อนหิน ขั้นตอนการทำ ใส่ขวดพลาสติกลงไป ต่อด้วยขวดแก้ว ใส่ขวดพลาสติกอีกรอบ ใส่หินลงไป ปิดด้วยหิน เก็บขอบให้เรียบร้อย พอถึงเวลาทดสอบ แปปเดียวน้ำแห้ง สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่มีปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านน้ำขัง หรือว่าไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง ก็สามารถน้ำวิธีการ ธนาคารน้ำใต้ดิน ไปใช้ได้นะคะรับรองได้ผลดีเยี่ยม ว่าแล้วเราไปชมคลิปวิธีทำกันเลย Advertisement Advertisement ชมคลิป ขอขอบคุณที่มาจาก : วีดีโอ เกษตร  

ชาวบ้านเร่งสร้าง “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ช่วย13หมูป่าออกถ้ำ! พอรู้ว่ามันทำหน้าที่อะไร บอกเลยว่ามีประโยชน์มาก!!(รายละเอียด)

จากกรณีภารกิจช่วยชีวิต 13 ชีวิต ทีมหมูป่า ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา กระทั่ง เจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) หรือ หน่วยซีล ได้ค้นหาจนพบตัวทั้งหมดอยู่บริเวณเนินนมสาว ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีต ผวจ.เชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วม ค้นหาผู้สูญหาย ได้แถลงเริ่มต้นภารกิจสำคัญ คือการนำตัวทั้ง 13 ชีวิต ออกจากถ้ำ หลังจากหลายหน่วยงานระดมสรรพกำลังช่วยกันสูบน้ำ เบี่ยงทางน้ำ และหาแนวทางเพื่อให้ระดับน้ำในถ้ำหลวงลดลง จนช่วง3 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถวางแผนนำตัวน้องๆทีมหมูป่า พร้อมโค้ช ออกมาจากถ้ำได้สำเร็จ และยังคงทยอยนำตัวน้องๆออกมาอย่างต่อเนื่องนั้นเบื้องหลังส่วนหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำในถ้ำลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากวิธีการสร้างช่องลมขนาดใหญ่ 9 หลุม โดยใช้หลักการแทนที่ลมในชั้นใต้ดินด้วยน้ำ ทำให้น้ำภายในถ้ำ และบริเวณโดยรอบลดลง โดยไม่ต้องระบายออกทางปากถ้ำ ซึ่งเทคนิคที่ว่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการน้ำธนาคารน้ำใต้ดิน พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ในฐานะหัวหน้าทีมอาสาสร้างช่องลมธนาคารน้ำ เปิดเผยว่า การสร้างช่องลมขนาดใหญ่ […]

error: