อย. ปลดล็อก เครื่องเป่าวัดแอลกอฮอล์ ซื้อไว้เป่าเองได้

Advertisement 9 เม.ย. 67 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความลงแอปพลิเคชั่น “X” ระบุว่า “อย.ปลดล็อก เครื่องเป่าแอลกอฮอล์แล้ว! ไม่ถือว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ นักดื่มซื้อไว้เป่าเองได้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย.67 เป็นต้นไป” Advertisement “ส่วนเครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์จากของเหลวในร่างกาย ยังเป็นเครื่องมือแพทย์” Advertisement ทั้งนี้ เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.ได้ปรับเปลี่ยนการกำกับดูแล เครื่องตรวจวัดระดับ หรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายให้เหมาะสม โดยได้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2540) เรื่อง เครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย พ.ศ. 2567 เพื่อให้เครื่องตรวจวัดระดับหรือปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้รับการควบคุม และกำกับดูแลเป็นไปตามความเสี่ยงและสอดคล้องกับสากล ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 67 เป็นต้นไป ส่งผลให้เครื่องตรวจวัดระดับ หรือปริมาณแอลกอฮอล์จากของเหลวของร่างกาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในทางการแพทย์ จะจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ส่วนเครื่องเป่าแอลกอฮอล์จากลมหายใจที่โดยทั่วไปไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการแพทย์   ข่าวจาก : […]

ครม.เพิ่มโทษ ใครดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกเวลา-สถานที่

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 3มี.ค.67 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพิ่มเติมโทษนักดื่ม กรณีฝ่าฝืน บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสถานที่ หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เดิมบังคับใช้มาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทบทวน พ.ร.บ. ดังกล่าวและได้ยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เช่น แก้ไขคำนิยาม “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” และ “การสื่อสารการตลาด” และเพิ่มเติม คำนิยาม “ผู้มีปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เพิ่มโทษ ผู้ฝ่าฝืนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกเวลา-สถานที่ โดยเพิ่มเรื่องการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสถานที่ หรือบริเวณสถานที่จัดบริการ เพื่อให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าในเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และเพิ่มเติมโทษในกรณีที่ฝ่าฝืนบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องชำระค่าปรับเป็นพินัยไม่เกิน 10,000 บาท เป็นต้น ในเนื้อหา หลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทบทวนตรวจอย่างละเอียดคำนึงถึงในทุกมิติทั้งมิติด้านสุขภาพและมิติทางด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างสมดุล […]

error: